ดิฉัน นางสาวภัทราพร คำดี นักศึกษาจบใหม่ ผู้ปฏิบัติการในพื้นที่ ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (HS18-2 ตำบลบุโพธิ์) สังกัด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (จากมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) กระทรวงอุดมศึกษาธิการ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม″ การปฏิบัติงานในโครงการ
กิจกรรมที่ 1 เนื่องด้วยในวันที่ 22 สิงหาคม 2565 จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาพวงกุญแจผ้าไหมอเนกประสงค์ และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลักโควิดเศรษฐกิจ BCG ณ ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาส จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีการเชิญวิทยากรจากวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยหวายพัฒนา ต.โคกสะอาด อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการผสมดินปลูกที่มีคุณภาพสูงและมีการสอนทำการผสมดินปลูก โดยมีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน จุลินทรีย์จาวปลวก แกลบดิบ รำอ่อน น้ำตาล กากน้ำตาล น้ำผลไม้ มูลวัว ซานอ้อย และฮอร์โมนไข่ ซึ่งเป็นสูตรดินหรือดินปลูกที่มีธาตุอาหารหลักครบถ้วน และนอกจากนี้อาจารย์ได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลักโควิดเศรษฐกิจ BCG โดยคำว่า BCG คือ BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) คือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ (Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสำคัญกับการจัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค ด้วยการนำวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Upcycle) ซึ่งต่างจากระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม ที่เน้นการใช้ทรัพยากร การผลิต และการสร้างของเสีย (Linear Economy) ต่อมาในส่วนของผ้าไหมได้เชิญวิทยากรจากวิสาหกิจชุมชนบ้านนาศรีนวล ต.บุโพธิ์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ให้ความรู้เกี่ยวกับผ้าไหมและกลุ่มเราได้สนใจในเรื่องของผ้าไหมได้มีการนำเศษผ้ามาต่อยอดหรือมาแปรรูปซึ่งได้ผลิตภัณฑ์ว่าพวงกุญแจกระเป๋าผ้าไหมอเนกประสงค์โดยมีการนำเศษผ้ามาทำในการแปรรูปเป็นกระเป๋ารูปทรงต่างๆในราคาที่จับต้องได้สะดวกต่อการใช้งานและเหมาะกับทุกเพศทุกวัย
กิจกรรมที่ 2 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ดิฉันและคณะได้ไปเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมีการเชิญคุณโจน จันได มาให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน คือ การเดินทางสายกลาง พออยู่ พอกิน รู้จักการพึ่งพาตัวเองก่อนเสมอ โดยมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย พยายามไม่เบียดเบียนผู้อื่น และมีการนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับพื้นที่ที่ตนมี คือ การแบ่งที่ดินตามอัตราส่วน 30:30:30:10 เพื่อใช้ในการขุดสระเก็บกักน้ำ, ปลูกข้าว, ปลูกพืชผักผลไม้ และใช้เป็นที่อยู่อาศัย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงเรื่องการอนุรักษ์ผืนป่าในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ชาติ เพื่อแสวงหาการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงความจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นคือ ขีดจำกัดของทรัพยากรสมดุลของระบบนิเวศความเป็นมาของด้านวัฒนธรรมรวมถึงความ ต้องการของมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า อนุรักษ์ คือ เพื่อธำรงไว้ซึ่งปัจจัยสำคัญของระบบสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสัตว์ และระบบสนับสนุนการดำรงชีวิต เป็นการปรับปรุงป้องกันพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก การหมุนเวียนแร่ธาตุอาหารพืช ตลอดจนการทำน้ำให้สะอาด เพื่อสงวนรักษาการกระจายของชาติพันธุ์ ซึ่งขึ้นกับโครงการขยายพันธุ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปรับปรุงการป้องกันธัญญพืช สัตว์เลี้ยง และจุลินทรีย์ต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้พันธุ์พืชสัตว์และระบบนิเวศเพื่อประโยชน์ในการยังชีพตามความเหมาะสม และเพื่อสงวนรักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปกรรม ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าไว้ไปยังอนุชนรุ่นหลังรวมทั้งระบบสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น
กิจกรรมที่ 3 ในวันที่ 3 กันยายน 2565 ดิฉันได้ลงพื้นที่หมู่บ้านนาศรีนวลหมู่7 เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์กระเป๋าอเนกประสงค์ซึ่งได้ช่วยเหลือในการทำกระเป๋าอเนกประสงค์เพื่อนำมาจำหน่ายในวันที่15-18 กันยายน 2565 ทำให้ความรู้ในการทำกระเป๋า รู้จักในการเย็บประเป๋า รู้จักการใช้เครื่องจักรเย็บผ้า และกระเป๋าที่เย็บเสร็จสมบูรณ์มีขนาดที่สามารถบรรจุธนบัตร โทรศัพท์ และสิ่งของอื่นๆได้ แล้วเย็บเข้ากับพวงกุญแจสะดวกต่อการใช้งานและสามารถพกพาได้ง่าย ซึ่งในการทำกระเป๋าอเนกประสงค์ได้มีการคัดเลือกเศษผ้ามาใช้ในการทำกระเป๋า ต่อมาได้นำข้อมูล Thailand Community Data (TCD) หรือฐานข้อมูลรายตำบลขนาดใหญ่ให้สมบูรณ์ครบทุกพื้นที่ เพราะ TCD จะเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผน การบริหารจัดการ ทั้งยังเป็นการวางแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจบีซีจีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ โดยอาศัยกลไกของพื้นที่และสถาบันอุดมศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม มาลงในระบบจำนวน 50 ข้อมูล เพื่อให้ตำบลอื่นๆ ได้รู้จักตำบลของตนเอง เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล มุมมอง และสร้างเครือข่าย เพื่อนำไปพัฒนาตำบลของตนเอง
กิจกรรมที่ 4 ในวันที่ 18 กันยายน 2565 ดิฉันได้ลงพื้นที่พบปะคณะ ศส.ปชต. สถานที่ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย ต.บุโพธิ์ อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เวลา 9.00 – 11.00 น. โดยบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศส.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชมคือ กรรมการ ศส.ปชต. เป็นวิทยากรในการจัดอบรมให้ความรู้ประชาชนในเขตพื้นที่ เกี่ยวกับหลักการดำเนินวิถีชีวิตตามระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ การเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปฏิบัติตามกฎหมายจราจร การเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง มีการขับเคลื่อนแผนงานร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ในการคัดเลือกหมู่บ้านนำร่องที่ดำเนินวิถีชีวิตตามระบบประชาธิปไตย ไม่มีการซื้อสิทธิ ขายเสียง ภายใต้โครงการ “พลเมืองดี วิถีประชาธิปไตย” ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 2 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านบุผู้หญิง หมู่ที่ 3 และบ้านหนองแวงงาม หมู่ที่ 8 ส่วนเนื้อหาที่นำมาใช้ในการให้ความรู้ คือ กฎหมายในการเลือกตั้งและปรัชญาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปพึ่งพาตนเองได้ระดับนึง อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสันติสุข อยู่ร่วมกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ต่อมาได้สำรวจพูดคุยกับชาวบ้านในเรื่องของการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร ระบุตัวอย่างจากการพูดคุย จากกการสำรวจพบว่าชาวบ้านมีการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตย คือ ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลที่นับถือศาสนาต่างกัน เคารพกติกาการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น การไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น เคารพสิทธิ เสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
กิจกรรมที่ 5 ในวันที่ 15 กันยายน 2565 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (HS18-2 ตำบลบุโพธิ์) สังกัด คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้จัดบูธเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในวันที่ 15-18 กันยายน 2565 เป็นการจัดบูธเพื่อที่จะได้เห็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบของแต่ละตำบลและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อทำยอดขายให้ได้ 10 % ตามเป้าหมายของโครงการ โดยบูธของเรามีผลิตภัณฑ์ดังนี้ มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด กระเป๋าผ้าไหมอเนกประสงค์ พวงกุญแจนกฮูก และกระเป๋าผ้าไหมหลายหลากรูปแบบ