กระผม นายปรัตถกร ขาวสระ ผู้ปฏิบัติงาน ประเภทประชาชน รับผิดชอบในการปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่กับคณะทำงาน ประจำเดือน กรกฎาคม 2565  ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 กระผมได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet โดยการประชุมครั้งนี้  ได้มีการมอบหมายงานทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T เพื่อชี้แจ้งแนวทางการปฏิบัติงานของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T BCG) เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานในพื้นที่ และชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ในพื้นที่เพื่อเสนอในการดำเนินงานโครงการ

   

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 กระผมได้เข้าร่วมประชุมกับอาจารย์ ที่คณะมนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการจัดทำแผนเสนอธุรกิจ ในมติที่ประชุมสรุปได้ว่าเป็นการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมฐานรากทางภูมิปัญญาดั้งเดิมจากการแปรรูปกล้วย และ ขนมทองม้วนมันม่วง “ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนโบราณเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของชาวชุมชนตำบลบ้านสิงห์อยู่ และกล้วยที่มีปลูกทุกครัวเรือนในชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ แป้งกล้วยสำเร็จรูป ตรา สิงห์คู่” ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนการผลิต และ เพิ่มความน่าสนใจของขนมให้มากขึ้นอีกด้วย

     

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 กระผมได้เข้าร่วมประชุมผ่าน Google Meet เพื่อหารือและเสนอแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของชุมชนในตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้สรุปผลการประชุม คือ ผลิตภัณฑ์ที่จะจัดทำ คือ แป้งกล้วยทอดกรอบ และทองม้วนมันม่วง โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์  ตรา “สิงห์คู่”  ผู้รับผิดชอบระบบลงข้อมูลโครงการ C01 ในระบบ ก่อนเที่ยงวันที่ 10 กรกฎาคม คือ คุณอภิชญา และผู้ปฏิบัติงานทุกคนเตรียมลงพื้นที่เพื่อทดลองทำผลิตภัณฑ์ โดยมีคุณปริวัติ เป็นหัวหน้าคณะทำงานและรับผิดชอบจัดหาสถานที่ปฏิบัติงาน โดยได้แนวคิดที่ได้ตัดสินใจนำผลิตภัณฑ์มาแปรรูป ดังนี้

ผลิตภัณฑ์กล้วยที่มีการแปรรูปอยู่ในปัจจุบันเกิดการได้กำไรลดลง เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบในการ นำมาเป็นส่วนประกอบ และส่วนผสมมีราคาสูงขึ้น และราคาผลผลิตทางการเกษตรที่ตกต่ำทำให้ราคากล้วยมีราคาลดลง เหลือทิ้งในชุมชนเป็นจำนวนมาก ทำให้ทีมผู้ปฏิบัติงานได้มีแนวคิดที่จะนำกล้วยในชุมชุนมาแปรรูปเป็นแป้งกล้วยทอดกรอบสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการทำขนมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กล้วยทอด กล้วยแขก มันทอด เป็นต้น โดยทางทีมผู้ปฏิบัติงาน ลงความเห็นว่าจะใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า แป้งกล้วยสำเร็จรูป “ตราสิงห์คู่” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลบ้านสิงห์ และจะใช้เป็นผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผลิตภัณฑ์ทองม้วนมันม่วง ต่อยอดมาจากผลิตภัณฑ์ขนมทองม้วนโบราณเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อของชุมชนตำบลบ้านสิงห์อยู่แล้ว ทางคณะผู้ปฏิบัติงาน เลยเกิดแนวคิดที่จะทำท้องม้วนมันม่วง เนื่องจากในชุมชนมีเกษตรกรได้ทำการปลูกไร่มันม่วง คณะผู้ปฏิบัติงานจึงได้นำมันม่วงมาเป็นส่วนประกอบของขนมทองม้วนเพื่อพัฒนา และต่อยอดให้เกิดขนมทองม้วนชนิดใหม่หรือรสชาติใหม่ ให้เกิดความแปลกใหม่ต่อตลาด และเกิดความน่าสนใจ อีกทั้งยังได้นำมันม่วงมาร่วมทำขนมทองม้วนให้เป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ชิ้นใหม่ของชุมชนตำบลบ้านสิงห์ อีกด้วย

    

วันที่ 17 กรกฎาคม 2565 กระผมได้ร่วมกับคณะทำงานได้พื้นที่ปฏิบัติงาน โดยมีอาจารย์ และ ผู้ปฏิบัติงาน ได้ลงพื้นที่ชุมชนบ้านหนองโคลน ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบ้านสิงห์ เพื่อทดลอง และพัฒนาการแปรรูปกล้วยให้เกิดแป้งทอดกล้วยสำเร็จรูป เพื่อนำมาพัฒนา และต่อยอดกระจายสู่พื้นที่ชุมชนตำบลบ้านสิงห์ โดยมีวิธีและขั้นตอน ดังต่อไปนี้

– ปลอกเปลือกกล้วยแล้วแช่ด้วยน้ำเกลือ

 

– นำไปหั่นชิ้นบาง ๆ ด้วยมีดสองคม

– นำไปตากแดดให้แห้งสนิท

   

– นำกล้วยที่ตากแดดแห้งสนิทแล้ว มาบดละเอียดและร่อนให้ละเอียดจนได้แป้งกล้วย

 

ทดลองนำแป้งกล้วยสำเร็จรูปมาชุบทอดมันมันม่วง  โดยมีอัตตาส่วนการผสม  ดังนี้ แป้งกล้วย 100 กรัม น้ำตาล 50 กรัม  กะทิ 80 กรัม  น้ำเปล่า 80 กรัม เกลือ 1 ช้อนชา และ ผงฟู 1/2 ช้อนชา

   

สรุปผลการทดลองการการทำแป้งกล้วยเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในการทอดมันม่วงนั้นได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ และยังมีรสชาติหอมหวานกรอบอร่อยเข้ากับขนมมันม่วงที่ทอดได้ดี มีกลิ่นหอม และรสชาติที่เป็น เอกลักษณ์เฉพาะของแป้งกล้วยอีกด้วย

กระผมได้เรียนรู้กระบวนการทำงานเป็นทีม เข้าร่วมอบรมในการเพิ่มความรู้และประสบการณ์ รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การตลาดต่อไป และการทดลองทำแป้งจากกล้วย และการทำทองม้วนมันม่วง เป็นการผลักดันให้เป็นผลิตภัณฑ์ขนม OTOP ของชุมชนตำบลบ้านสิงห์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจเข้าไปในผลิตภัณฑ์ของชุมชน และที่สำคัญคือการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนตำบลบ้านสิงห์