ข้าพเจ้านางสาวศันสนีย์ กองศักดิ์
ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลบ้านสิงห์
หลักสูตร: การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลประจำเดือนกันยายน พ.ศ.2565
ในพื้นที่ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 14:00 น. ร่วมประชุมออนไลน์เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในเดือนกันยายน
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการได้นัดหมายผู้ปฏิบัติงานร่วมประชุมออนไลน์เพื่อวางแผนการปฎิบัติงานในเดือนกันยายนมีรายละเอียดการประชุมดังนี้
1. จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วยทอดกรอบแก่ชาวบ้านที่สนใจในวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน ช่วงเช้าเวลา 10:00 – 12:00 น. ให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนช่วยกันเตรียมความพร้อมสำหรับการอบรมดังนี้
-เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำท้องม้วนและกล้วยทอด
-ตากกล้วยคนละ 5 หวี เพื่อเตรียมสาธิตการทำแป้งกล้วยทอดกรอบ
-เชิญชาวบ้านผู้สนใจมาร่วมอบรม 15-20 คน
-จัดสถานที่วันที่ 4 ช่วงเช้าเวลา 8.30 น. ที่ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ 7 บ้านหนองบัวราย
2.ออกบูธขายสินค้างานวันรับปริญญาที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ในวันที่ 14-18 กันยายน พ.ศ 2565
สินค้าที่จะนำไปขายได้แก่
-แป้งกล้วยทอดกรอบ
-มัน,กล้วยชุปแป้งทอด
-ทองม้วนมันม่วง
3.จัดตกแต่งซุ้มสำหรับวางขายสินค้าให้สวยงามน่าสนใจ ในวันที่ 14 กันยายน กันยายน 2565
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 8.30 น. ร่วมทำบุญงานผ้าป่าเสวนาชุมชน ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองบ้านโคกว่าน
เนื่องด้วยมหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ร่วมกับร่วมกับกลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ร่วมกันจัดขึ้นที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ต.หนองโสน อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เพื่อต้องการให้ อ.นางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชา และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงาน และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับกสิกรรมธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคมด้วย โดยมี รศ.ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อศึกษาและสานต่อแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้มีประโยชน์สูงสุดแก่ชาวบ้าน ดังนั้นจึงได้จัดงานทำบุญผ้าป่าเสวนาชุมชนขึ้นเพื่อสมทบทุนสร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้แล้วเสร็จโดยมีกิจกรรมดังนี้
เวลา 08:30 น. เริ่มแห่ขบวนผ้าป่าจากหน้าทางเข้าศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีคณบดีคณะมนุษศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงาน u2t ร่วมขบวนแห่กับชาวบ้าน
เวลา 09:00 น. พิธีเปิดงานบุญผ้าป่าโดยนายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์กล่าวโดยนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาส นายอำเภอนางรอง
เวลา 10:00 น. เริ่มบรรยายพิเศษเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงศาสตร์พระราชาฝ่าเศรษฐกิจยุค world Disruption โดยคุณโจน จันได ผู้ก่อตั้งพันพรรณศูนย์เรียนรู้เพื่อตนเองและศูนย์เมล็ดพันธุ์ หลังจากนั้นพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทอดผ้าป่าสามัคคี และในภาคบ่ายได้มีการเสวนาชุมชนเรื่องเกษตรอินทรีย์บนวิถีพอเพียงทำอย่างไรใช้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืนโดยมีผู้ร่วมเสวนาอาทิช่างดำอินดี้ เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึงเจริญศิริผู้ริเริ่มศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสุขวัฒนาและกล่าวปิดงานโดยพระครูวิสุทธิ์ธิพัฒนาภิรมย์ ซึ้งก่อนกลับยังมีการแจกวัตถุมงคลต้นไม้เพื่อนำไปปลูกป่าสร้างคุณค่าสู่แผ่นดิน
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ 2565 เวลา 10:00 น. ลงพื้นที่อบรมการทำทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วยทอดกรอบแก่ชาวบ้านที่สนใจ
เนื่องด้วยโครงการได้ดำเนินการการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์แป้งกล้วยทอดกรอบและทองม้วนมันม่วงจนได้มาตรฐานสามารถวางจำหน่ายได จึงได้มีการจัดอบรมวิธีการทำทองม้วนมันม่วงและแป้งกล้วยทอดกอบแก่ชาวบ้านผู้สนใจเพื่อให้ชาวบ้านได้เกิดทางเลือกนำไปต่อยอดในการสร้างรายให้แก่ตนเองและชุมชนโดยมีอาจารที่ปรึกษาโครงการและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้แก่ชาวบ้านในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโดยเริ่มจากบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าให้มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์น่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และสาธิตพร้อมทั้งบอกสูตรวิธีการทำแป้งกล้วยทอดกรอบและทองม้วนมันม่วงที่เดิมทีทองม้วนเป็นขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของตำบลบ้านสิงห์อยู่แล้วจึงได้นำมันม่วงมาเป็นส่วนผสมเพื่อเพิ่มรสชาติให้แก่ทองม้วนให้มีความแปลกใหม่และน่าสนใจมากขึ้น โดยมีผู้ปฏิบัติงานคอยให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านระหว่างการทำกิจกรรม โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีชาวบ้านให้ความสนใจเป็นจำนวนมากและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
วันที่ 5-9 กันยายน พ.ศ 2565 ลงพื้นที่ทำกิจกรรมพิชิตภารกิจ ECT WEEK ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (ศส.ปชต.)
โดยคณะผู้ปฏิบัติงานเข้าพบกรรมการ ศส.ปชต. ณ ที่ทำการ ศศ.ปชต. เพื่อพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของ ศศ.ปชต. รวมถึงการขับเคลื่อนภารกิจและการสร้างเครือข่ายทำงานในพื้นที่ชุมชนเพื่อได้มีประเด็นซักถามแลกเปลี่ยนความรู้และให้กรรมการ ศส.ปชต. พาลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนถึงการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านสอดคล้องกับวิถีประชาธิปไตยอย่างไร การเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับสอบถามถึงผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร และการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่เพื่อได้มีประเด็นซักถามและแลกเปลี่ยน จากการสำรวจข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 5 คนและนำมามาสรุปประมวลผลลงในแบบรายงานของแต่ละวัน
โดยการพิชิตภารกิจของ ECT WEEK จะมี 2 ภารกิจย่อย คือ
1. ใบ Certificate จากการศึกษาอบรมหลักสูตรพลเมืองคุณภาพจาก application CIVIC EDUCATION แล้วทำแบบทดสอบเพื่อให้ได้รับใบ Certificate
2. รายงานสรุปผลการลงพื้นที่เป็นผลจากการลงพื้นที่ปฏิบัติงานในสัปดาห์ ECT WEEK ดำเนินการแล้วเสร็จส่งแบบรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ให้กับกรรมการและเลขานุการ ศส.ปชต. (ครูกศน.ตำบล)
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2565 เวลา 13.00-15.00 น. อบรมการเปิดร้านค้าออนไลน์ Shopee ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace)
เข้าร่วมอบรมการเปิดร้านค้าออนไลน์ Shopee ภายใต้แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ (U2T Online Marketplace) ผ่านระบบ zoom โดยมี คุณธันย์ธนัช วัชราชุวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญจาก shopee ประเทศไทย มาเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการเปิดร้านค้าออนไลน์บนแอป shopee ดังนี้
1. เทรนของE-Commerce 2022
2. ข้อมูลเกี่ยวกับ shopee และตัวอย่างความสำเร็จจากแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายที่สามารถเชื่อมั่นในระบบการเงิน
3. วิธีการเปิดร้านค้าบน shopee ให้มีความน่าสนใจลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย
4. เทคนิคการลงสินค้าให้น่าสนใจ การจัดโปรโมชั่นสินค้าในวันสำคัญต่างๆ
เมื่อได้รับความรู้จากผู้อบรมแล้วคณะผู้ปฏิบัติงานได้เปิดร้านค้าบน shopee เพื่อนำผลิตภัณฑ์ในตำบลของตนที่ได้ร่วมกันพัฒนานำมาขายเพื่อเป็นช่องทางออนไลน์อีกทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน
วันที่ 15-18 กันยายน พ.ศ. 2565 เปิดบูทขายสินค้าในงานมหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ได้จัดงานงาน U2T for BCG BRU FAIR มหกรรมจำหน่ายสินค้าคัดสรรคุณภาพจากจังหวัดบุรีรัมย์ทั้ง 152 ตำบล ภายใต้โครงการ U2T for BCG การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ในช่วงงานวันซ้อมรับปริญญาของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์โดยให้ผู้ปฏิบัติงานโครงการ u2t นำผลิตภัณฑ์ที่ได้ดำเนินการพัฒนาในโครงการมาวางจำหน่ายเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนและเป็นการโปรโมทผลิตภัณฑ์ในตำบลให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยตำบลบ้านสิงห์ได้นำทองม้วนมันม่วง แป้งกล้วยทอดกรอบและกล้วยชุบแป้งทอดซึ่งทำจากแป้งกล้วยทอดกรอบมาว่างจำหน่าย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมีลูกค้าให้ความสนใจและอุดหนุน รวมถึงมีลูกค้าที่สนใจสอบถามเพื่อรับทองม้วนมันม่วงไปวางขายที่หน้ากาแฟอีกด้วย
วีดีโอการปฎิบัติการปฎิบัติงานเดือนกันยายน