โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG(U2T FOR BCG)   

หลักสูตร HS18-2 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

 ข้าพเจ้า นาย สมชาย ปูดวงรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน

                                       ประจำหลักสูตร HS18-2 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

บทความประจำเดือนกันยายน

แผนการปฏิบัติงานที่1 วันที่ 20 เดือนสิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏบัติการพัฒนาพวงกุญแจกระเป๋าผ้าไหมอเนกประสงค์ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าไหม(แม่ทองดี) บ้านนาศรีนวลหมู่ที่ 7 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเพิ่มทักษะการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจและการออกแบบให้ชวนหลงไหลและน่าซื้อหา ไม่ว่าจะเป็น สินค้า หรือ บริการ การออกแบบรูปลักษณะ วิธีการบริการ ถือเป็นกลุยุทธ์ที่สำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจ ของลูกค้าแยกให้ได้นะครับ ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่เพียงแค่ตรายี่ห้อ หรือ บรรจุภัณฑ์ กล่องที่ใส่ เหล่านี้เป็นแค่ “กรอบภายนอก” ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการเท่านั้น ทั้งสองเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการที่เรากำลังจะผลิตขึ้นมา

6เคล็ดลับการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจและดึงดูดลูกค้า

1.รูปทรง

ต้องเหมาะสมกับงาน และสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิต (Life Style) ของลูกค้า จะทำให้ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  ยิ่งเหมาะสมกับลูกค้าเราเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ ดีกว่าไม่มีรูปลักษณ์ รูปทรงอะไรเลย

รูปทรง รูปลักษณ์ ควรสอดคล้องกับแนวคิดผลิตภัณฑ์ ของเราด้วย ไม่ใช่ว่า แนวคิดธุรกิจสินค้าเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม แต่รูปทรงออกไปแนวไฮเทค อาจจะไม่เข้ากันเสียเท่าไหร่

2.สี

สีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องของอารมณ์ โทนสีร้อน เย็น ต้องดูด้วยว่าลูกค้าเราเป็นกลุ่มไหน ลูกค้าเราเป็นใคร และสีที่นำมาใช้ต้องการสื่อสารอะไรกับลูกค้าที่พบเห็น

3. ขนาด

ขนาดต้องเหมาะสมในการหยิบ จับ ใช้ ของกลุ่มลูกค้า เราต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าขนาดไหนที่เหมาะสม เล็กไป ใหญ่ไป ก็ไม่ดีนะครับ เอาที่ลูกค้าใช้แล้วโอเค

ตัวอย่าง ยาสีฟัน  มีการกำหนดขนาด ต่าง ๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ขนาดครอบครัว ใช้ที่บ้านก็ขนาดใหญ่หน่อย และขนาดเล็กเพื่อความสะดวกในการเดินทาง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์

ระบบการควบคุมคุณภาพสินค้า เราต้องโฟกัสตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนได้เป็นสิน้า เท่านั้นยังไม่พอต้องไปถึงมือของลูกค้าใช้แล้วปลอดภัย คุณภาพต้องนำราคา

5.การรับประกันคุณภาพ

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค การรับประกัน ต้องสอดคล้องกับการออกแบบคุณภาพสินค้า ว่ามีขอบเขตแค่ไหนบ้าง เช่น เราซื้อ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หรือ smartphone ก็จะมีระยะเวลาในการรับประกัน ในการเปลี่ยน ซ่อม ดูแลต่าง ๆ แต่ทั้งหมดก็จะมีเงื่อนไขเรื่องเวลาจำกัด

6.การบริการ

เราต้องแปลงคำว่า “บริการ” ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เช่น การจัดส่ง การติดตั้ง บริการหลังการขายต่าง ๆ เหล่านี้เราต้องออกแบบควบคู่ไปกับสินค้าของเราตั้งแต่ต้นว่าจะทำอย่างไร

การออกแบบภาพรวบของผลิตภัณฑ์สินค้าเราตั้งแต่แต่ย่อมส่งผลดีกว่าการที่ทำไปแก้ไป ไม่มีทิศทาง อาจจะเสียเวลาในการออกแบบทั้งหมด แต่หากเราเข้าใจกฎ 80/20 ที่ว่าทำงานเรื่องการวางแผน ออกแบบ 80%  ตอนนำไปผลิตจะทำให้เราใช้เวลาแค่ 20%  ทุกอย่างจะสำเร็จ แต่หากเราวางแผนออกแบบ 20% แล้วออกไปลุย ลงมือทำเราอาจจะต้องเสียเวลากว่า 80% ในการแก้ปัญหาที่ไม่รู้จบก็เป็นได้

แผนการปฏิบัติงานที่ 2 วันที่ 21 เดือนสิงหาคม 2565ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณ์มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด ให้กับชาวบ้านบ้านหนองเจ้าหัว หมู่ที่ 4 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองเจ้าหัว การอบรมที่จัดขึ้นเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นมากกว่าเดิม มีมาตรฐานมากกว่าและเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มวิสาหกิจเรื่องการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มว่าสามารถขับเคลื่อนได้และมีคนสนใจใช้จริง และสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกมาเพื่อจำหน่ายและสร้างอาชีพเสริมรวมถึงอาชีพหลักให้กับชาวบ้านได้ โดยผู้ปฏิบัติงานได้สร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้นโดยการนำตัวอย่างมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดไปทดสอบวิเคราะห์หาธาตุอาหารในผลิตภัณฑ์แบบ TEST KIT ที่ห้องปฏิบัติการดิน สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดยผลที่ออกมาปรากฎว่ามูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและบำรุงพืชให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

แผนการปฏิบัติที่ 3 วันที่ 1 เดือนกันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่กลุ่มวิสากิจชุมชนแปรรูปกระเป๋าผ้าไหม(แม่ทองดี) ณ บ้านนาศรีนวลหมู่ที่ 7 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อต่อยอดและติดตามการอบรมชิงปฏิบัติการพัฒนาพวงกุญแจกระเป๋าผ้าไหมอเนกประสงค์ การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อพัฒนาและลงมือศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำและข้อลงมติว่าจะทำกระเป๋าอเนกประสงค์แบบคล้องมือและมีพวงกุญแจนกฮูกจากเศษผ้าไหมเหลือใช้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีราคาไม่สูง ชาวบ้านทั่วไปจับต้องได้ในราคาที่ย่อมเยาและยังนำเศษผ้าไหมที่จะทิ้งมาใช้ใหเกิดประโยชน์ในสโลแกน”เศษผ้าพารวย”

แผนการปฏิบัติงานที่ 4 วันที่ 3 เดือนกันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปกระเป๋าผ้าไหม(แม่ทองดี) ณ บ้านนาศรีนวล ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อลงมือทำกระเป๋าอเนกประสงค์จากเศษผ้าตามสโลแกนที่ว่า”เศษผ้าพารวย” และเล่าถึงความเป็นมาของสโลแกน  ประโยชน์และวิธีใช้ และรวมไปถีงความหมายของพวงกุญแจนกฮูก โดยมีรายละเอียดคร่าวๆคือ เศษผ้าพารวยเกิดมาจากกระเล็งเห็นความสำคัญของเศษผ้าที่เป็นวัสดุเหลือใช้ไม่มีราคาจึงนำมาทำกระเป๋าเพื่อต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับเศษผ้านั้นๆได้ โดยการนำมาต่อยอดแปรรูปเเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าอเนกประสงค์ที่ไว้สำหรับใส่มือถือ บัตรประจำตัวประชาชน ธนบัตร เหรียญ  หรืออาจจะใส่เรื่องสำอาง เป็นต้น ไม่แค่นั้นกระเป๋ายังมีพวงกุญแจนกฮูกสัญลักษณ์แห่งความสุขความโชคดีอีกด้วย

แผนการปฏิบัติงานที่ 5 วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่กศน.ตำบลบุโพธิ์ เพื่อเข้าศส.ปชต.และจัดทำการประชุมร่วมกันเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการดำเนินงานของศส.ปชต.ในกิจกรรม ECT WEEK และได้แบ่งกันลงพื้นที่ตามหมู่บ้าต่างๆเพื่อทำแบบสอบถามตามหัวข้อในใบรายงาน ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ลงพื้นที่บ้านใหม่ไทยเจริญ หมู่ที่ 7 และบ้านนาศรีนวล หมู่ที่ 6 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำการสอบถามชาวบ้านตามหัวข้อต่างๆดังต่อไปนี้

1.การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับวิถีประชาธิไตยหรือไม่ อย่างไร

2.การเข้ามาส่วนร่วมทางการเมืองโดยการออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทุกระดับ และลักษณะของผู้แทนทางการเมืองที่ประชาชนต้องการควรมีลักษณะอย่างไร

3.การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวบ้านมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร

แผนการปฏิบัติงานที่ 6 วันที่ 12 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการจัดอบรมออนไลน์ shopee market place ในหัวข้อ”สร้างร้าน shopee ให้ขายดี ติดตลาด ฉับไว” โดยคุณธันย์ธนัช วัชรานุวิทย์(ธี) ผู้เชี่ยวชาญจาก shopee thailand ได้ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างร้าน shopee การเปิดร้านในช้อปปี้ สิ่งที่จำเป็นต้องที่ต้องเตรียมก่อนการเปิดร้าน 1.บัญชีผู้ใช้งาน 2.สินค้าสำหรับการลงขาย 3.บัตรประจำตัวประชาชน 4.บัญชีธนาคาร 5.ความตั้งใจในการขาย

วิธีสมัครเป็นผู้ขายบนshopee

  1. ระบบ Andriod ดาวน์โหลดแอปผ่าน Play store โดยการค้นหาคำว่า Shopee
  2. ระบบ IOS ดาวน์โหลดแอปผ่าน App Store โดยค้นหาคำว่า Shopee
  3. ลงทะเบียนผ่านเบอร์โทรศัพท์และE-mail เพื่อสมัครเป็นสมาชิกShopee
  4. ยืนยันตัวตนผ่าน OTP
  5. เลื่อนหาคำว่า เริ่มการขายลง ทะเบียนฟรี เมื่อลงทะเบียนผู้ขายเสร็จ เราจะมีร้านในShopee

การตั้งค่าร้าน

1.รายละเอียดร้านค้า

-โลโก้แสดงความเป็นร้านค้า

-รูปหน้าปก Cover Photo 1-080*590px

-ซื้อร้านค้า ปรับเปลี่ยนได้ภายใน 30 วัน

-คำอธิบายรูปภาพ 600*300px ใส่ลิงค์ยูทูปได้สูงสุด 6 ลิงค์

-รายละเอียดร้านค้า เช่น ประเภทสินค้า การรับประกัน เวลาตอบกลับ

การจัดส่งของฉัน

-กรอกที่อยู่

-น้ำหนักรวมไม่เกิน  20 กิโลกรัม/ขนาด 100cm*100cm*100cm

-ขนส่งเริ่มต้นเป็นstandard delivery

ที่อยู่ของฉัน

-กรอกที่อยู่

การตั้งค่าแชท

-สิ่งที่ควรตั้งในข้อความอัตโนมัติ คือ เวลาที่ร้านค้าตอบกลับหรือคำตอบที่คิดว่าลูกค้าจะถาม เช่น ส่งของวันไหนหรือสินค้าพร้อมส่งหรือไม่

แผนปฏิบบัติงานที่ 7 วันที่ 15  กันยายน 2565 ข้าพเจ้าได้ออกจัดตั้งบูธ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์โดยนำผลตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนทั้ง 2 วิสาหกิจ มานำเสนอในการจัดจำหน่ายในครั้งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าอเนกประสงค์ และ มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด เนื่องในงานซ้อมรับปริญญาบัตรบัณฑิตจบใหม่ โดยการจัดบูธมีผู้คนให้ความสนใจในในตัวผลิตภัณฑ์เปฯอย่างมากเพราะมีราคาไมแพง ราคาสามารถจับต้องได้ทุกเพศทุกวัย และจะมีการจัดบูธสินค้าตั้งแต่่ 15 กันยายน 2565- 18 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าจึงขอเชิญชวนพี่ๆ น้องๆ และทุกๆคนไปร่วมชมบูธการแสดงผลิตภัณฑ์ของพวกเราตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ และยังมีอีกหลายๆตำบลที่เข้าร่วมโครงการ U2T ได้จัดตั้งบูธแสดงผลิตภัณฑ์ของตำบลนันๆอีกด้วย

วิดีโอประจำตำบล