ข้าพเจ้า นายสุวัฒน์ โตอร่ามรัตน์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” ประจำตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ศ(พิเศษ).ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) เปิดเผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.ได้อนุมัติ “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” วงเงิน 3,566.28 ล้านบาท ตามที่ อว.เสนอ โดยโครงการ U2T for BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเศรษฐกิจ BCG ครั้งใหญ่ ในพื้นที่ 7,435 ตำบล ครอบคลุม 77 จังหวัด ทุกตำบลทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นระดมกำลังมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยนำองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ ภายใต้ อว. ไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิตและบริการในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงาน อาทิ การเกิดธุรกิจใหม่ การขยายตัวทางธุรกิจ การเติบโตของการลงทุน การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ การเพิ่มการบริโภค เป็นต้น
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิต ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เข้าร่วมประชุมวางแผนทำโครงการผลิตภัณฑ์ ให้แก่ ชุมชน ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ณ อาคาร 6 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประชุมวางแผนเพื่อต่อยอด เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ตำบลหนองกง โดยทำผลิตภัณฑ์ขึ้นมา 2 โครการ ได้แก่ 1.โครงการหนองกง DIY ทำรูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋า จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมแล้ว โดยจะใช้เศษผ้าจากนำมาทอขาย นำมาตกแต่งเพิ่มลวดลายให้กะเป๋าดูน่นสนใจมากขึ้น และนำมาพัฒนาต่อยอดตัวสินค้าเพิ่มยอดขาย เพิ่มช่องททางการจัดจำหน่าย ออกสู่ตลาดในอนาคตข้างหน้า 2.โครงการหนองกงแฮนเมด ทำในรูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์พวงกุญแจ จะพัฒนาต่อยอดมาจากอันเดิมที่มีอยู่แล้ว มาต่อยอดเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มยอดขาย ให้แก่ชุมชนต่อไป
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชน ได้ลงพื้นที่สำรวจ บ้านหนองตาไก้น้อย หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มาสำรวจร้านผ้าไหมแม่หวาน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ตำบลหนองกง เพื่อจะนำผลิตภัณฑ์จากทางร้านมาเป็นสินค้าต้นแบบ มานำเสนอโครงการ ผ่านอาจารย์ประจำโครงการ ร้านผ้าไหมแม่หวานได้นำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในร้านของตนเอง เช่น กระเป๋าสะพายข้าง พวงกุญแจต่างๆ ที่ทำมาจากเศษผ้าไหมที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้าไหมมาทำ เป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชนและกลุ่มบัณฑิต ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการเข้าร่วมการจัดกิจกรรม “โครงการจิตอาสา ปลูกป่า” ของโรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ สมาชิกที่เข้าร่วมได้แก่ อบต.หนองยายพิมพ์ , อบต.หนองโสน , อบต.หนองกง , วัดหนองตาไก้พลวง , กำนันและผู้ใหญ่บ้านทั้ง 3 หนอง ทีมงานจ้างงานประจำตำบล ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยนางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรองมอบหมายให้พันจ่าอากาศเอกชาลี แจ้งรัมย์ ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง เป็นประธานในการกล่าวเปิดพิธิงาน พร้อมมีนายสมชิต ไชยชาติ พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลหนองยายพิมพ์ร่วมกิจกรรมจิตอาสา ครั้งนี้ด้วย
สรุปผลการปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม 2565
ข้าพเจ้ากลุ่มประชาชน ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในพื้นที่ตำบลหนอง สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งเข้าได้รับทั้งความรู้จากการเข้าร่วมอบรมต่าง ๆ และการลงพื้นที่ทำโครงการจิตอาสาปลูกป่า ณ โรงเรียนบ้านหนองยายพิมพ์ ตำบลหนองยายพิมพ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับแผ่นดินต่อไป
คำสำคัญ: โครงการจิตอาสา ปลูกป่า,โครงการหนองกง DIY,โครงการหนองกงแฮนเมด,การเกิดธุรกิจใหม่,การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ,การเพิ่มการบริโภค