ข้าพเจ้า นายสุวัฒน์ โตอร่ามรัตน์ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน หลักสูตร : HS02-1 ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” ให้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 22-23 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่ 1 “การพัฒนาเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าหนองกงทักทอ DIY และการพัฒนาเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์พวงกุญแจจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้านหนองตาไก้น้อย หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีวิทยากร ดังนี้ 1.นางสาวเอื้อมอัมพร เพชรสินสร ได้บรรยายการทำสินค้าและการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกับชาวบ้าน บ้านหนองตาไก้น้อย จำนวน 40 ท่าน ได้มีการกิจกรรมทำตลอดทั้งวัน อาทิ เช่น การทำพวงกุญแจจากเศษผ้าที่เหลือใช้ นำมาทำเป็น พวงกุญแจดอกตาไก้ และการทำกระเป๋าผ้าแบบทักทอ ในรูปแบบต่างๆ
เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าลงพื้นที่ทอดผ้าป่าสามัคคี ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง บ้านโคกว่าน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยยอดการทำผ้าป่าสามัคคีของตำบลหนองกง คือ 5,000 บาท และงานผ้าป่าเริ่มแห่ผ้าไปยังศาลาของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรองเมื่อเวลา 09.00 น. จากนั้นเป็นพิธีเปิดงานโดย นางสาวเพชรรัตน์ ภูมาศ นายอำเภอนางรอง เวลาประมาณ 10.00–12.30 น. รับฟังการบรรยายเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาฝ่าวิกฤติในยุค World Disruption” โดย คุณโจน จันใด และเวลา 13.00-15.30 นาฬิกา ร่วมรับฟังเสวนาชุมชน “เกษตรอินทรีย์บนวิถีพอเพียงทำอย่างไรให้เป็นทางเลือกและทางรอดอย่างยั่งยืน” โดย พระครูวิสุทธิพัฒนาภิรมย เจ้าคณะตำบลหนองกง พ่อคำเดื่อง ภาษี ประธานเครือข่ายปราชญ์จังหวัดบุรีรัมย์ นายเกรียงศักดิ์ แผ้วพลสง นายก อบต.หนองโสน นายเดช สวัสดิ์พูน นายก อบต.หนองยายพิมพ์ นายมานพ บุญรอด เจ้าของวนเกษตร นายพิชาญ ดัดตนรัมย์ “ช่างดำอินดี้” เจ้าของกระท่อมกินแดด นายคำนึง เจริญศิริ ผู้ริเริ่มศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านสุขวัฒนา
นายอำเภอนางรอง เปิดเผยว่า การทำบุญทอดผ้าป่าในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 เพื่อเป็นการสมทบเงินทุนในการสร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอำเภอนางรอง ที่กลุ่มรักษ์นางรองสีเขียวยั่งยืน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำชุมชน และศูนย์ประสานงานชุมชนสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้อำเภอนางรอง ได้มีศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นศูนย์ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาสัมมาชีพต่างๆ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานที่สนใจเกี่ยวกับ กสิกรรมธรรมชาติ และเป็น Social Lab ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้อยู่ดีมีสุข ซึ่งข้าพเจ้าได้รับประโยชน์จากการรับฟังเสวนาชุมชนในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ทำให้ได้ข้อคิดในการทำเกษตรอินทรีย์ ความพอเพียงในการดำเนินชีวิต สามารถนำข้อคิดและหลักการมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
เมื่อวันที่ 10 – 11 กันยายน 25665 ข้าพเจ้าลงพื้นที่ทำกิจกรรมที่ 2 “การพัฒนาเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าหนองกงทักทอ DIY และการพัฒนาเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์พวงกุญแจจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง ตำบลหนองกง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เชิญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกง มาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีวิทยากร ดังนี้ 1.อาจารย์ธนพล รามฤทธิ์ 2.อาจารย์อรรถชาติ วัฒนสุข 3. ผอ.ภาษิต ภัทรมูล 4.นางสาวเอื้อมอัมพร เพชรสินจร ได้ร่วมบรรยาย การสร้างแบรนด์และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ประจำตำบล และการสร้างเพจเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าลงแฟนเพจในเฟซบุ๊ค ทั้ง On-site และ Online การจัดตั้งกลุ่มวิชาชีพ/วิสาหกิจชุมชน ต่อไป
เมื่อวันที่ 15-18 กันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมงาน U2T For BCG ลงพื้นที่ จัดบูธจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าหนองกงทักทอ DIY และผลิตภัณฑ์พวงกุญแจจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ เนื่องในวันซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตรสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าพันทอ กระเป๋าถักทอ พวงกุญแจจากวัสดุเหลือใช้ และยังรวมถึงสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในชุมชนมาวางจำหน่ายด้วย
สรุปผลการปฎิบัติงานในเดือนกันยายน 2565 ข้าพเจ้าและทีมงานตำหนองกง ทุกท่าน ได้ทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ในระยะเวลา 3 เดือน ได้รับความรู้และประสบการณ์มากมายในชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆให้แก่ชุมชน สำเร็จไปด้วยดี ขอขอบคุณครับ
ลิ้งวิดีโอตำบลหนองกง