ข้าพเจ้า นางสาวสุวิมล วิเชียรสี ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน ปฏิบัติงานในเขตพื้นที่ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ HS25-2 : ลงพื้นที่ประจำเดือนกรกฎาคม ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : HS25-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
วันที่ 1 กรกฎาคม 2565  ได้ทำการ รายงานตัวและทำสัญญาจ้างกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
วันที่ 4 กรกฎาคม 2565  อาจารย์ได้มอบหมายงานชิ้นแรกคือ การให้สำรวจประชากรในตำบลโคกล่าม ว่ามีผู้สูงอายุกี่คน ผู้พิการกี่คน เด็กอายุ 0 – 6 ปีกี่คน และสถานที่สำคัญในตำบลรวมถึงกลุ่มอาชีพที่มีในตำบล โดยทีมงานของเราทั้ง 10 คนต่างแบ่งหน้าที่กันเพื่อหาข้อมูล
วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 อาจารย์นัดประชุม เนื้อหาของการประชุมในวันนี้คือ การหาชื่อแบรนด์ บริบทของผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ การเรียนรู้ระบบออนไลน์ การสร้างและยกระดับผลิตภัณฑ์ โดยทางทีมงานได้ตกลงหารือกันว่าจะใช้ชื่อ” จ้าวโต้น้อย” จากเดิมที่เคยใช้ชื่อว่า อีโต้น้อย ซึ่งจากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้เราได้รู้ถึงกลุ่มอาชีพของกลุ่มอีโต้น้อยว่ามีการทำดินปลูก การแปรรูปกล้วยต่างๆ เช่น กล้วยเบรกแตก กล้วยฉาบชา การเพาะกล้าไม้  ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดเน้นการสร้างรายได้และสร้างงานให้กับคนในชุมชน กลุ่มอีโต้น้อยตั้งอยู่ที่บ้านสระคูณ ตำบลโคกล่าม อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นศูนย์เรียนรู้ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเกษตรผสมผสาน ภายใต้การนำของ พ่อผาย สร้อยสระกลาง โดยปัจจุบันกลุ่มอีโต้น้อยมีการจัดตั้งกลุ่มแบบวิสาหกิจชุมชน การแปรรูปทางการเกษตร และผลผลิตทางการเกษตร
วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ทีมทำงานทั้ง 10 คนได้นัดหมายกันเพื่อลงพื้นที่ในการดูการทำกล้วยเบรกแตกและการผลิตดินปลูก                                                                                                                                                                                                 

             ขั้นตอนการทำกล้วยเบรกแตก  โดยเริ่มจากการเลือกกล้วยที่แก่จัดแล้วนำมาปอกเปลือกแล้วนำกล้วยไปบ่มไว้ 1-2 คืน หลังจากที่ครบแล้วให้นำมาทอดในน้ำมันที่ร้อนจัดหลังจากนั้นก็นำมาบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้                                                                                                                                 ขั้นตอนการผลิตดินปลูก การผลิตดินปลูกเริ่มต้นจากการนำส่วนผสมทั้งหมดคือ ขี้เห็ดฟาง แกลบดิบ ฟางสับ ใบจามจุรี ปุ๋ยคอก มะพร้าวสับ มาคลุกเคล้าให้เข้ากันรดน้ำหมักแล้วหมักไว้ ก่อนที่จะมีการบรรจุถุง การทำดินปลูกเป็นการนำทรัพยากรในชุมชนมาทำให้เกิดประโยชน์ และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนที่นำของมาขายให้กับกลุ่ม