รายงานผู้ปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้าง
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG( U2T BCG ) ประจำเดือนสิงหาคม 2565
ดิฉัน นางสาว ธัญญาภักษ์ โสกูล ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชน รับผิดชอบพื้นที่ในเขตตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ดูแลกิจกรรมและแผนการดำเนินงาน ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร:HS01-1 สร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาวัฒนธรรมรากฐานของชุมชนเพื่อต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพและมีระบบการจัดการตลาดอย่างยั่งยืน จากผลผลิตที่มีในชุมชน คือกล้วยและมันม่วง ที่มีปลูกเกือบทุกครัวเรือนในชุมชน สู่ผลิตภัณฑ์ทองม้วนมันม่วงและกล้วยแป้งกล้วยสำเร็จรูป ตราสิงห์คู่ โดยใช้เป็นตราผลิตภัณฑ์ของตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ประจำเดือนสิงหาคม 2565 และในเดือนนี้ได้นำแป้งกล้วยมาต่อยอดเพิ่มมูลค่า โดยการทำแป้งกล้วยมาทำเป็นขนมทองม้วนมันม่วง ซึ่งขนมทองม้วนเป็นสินค้า OTOP และยังเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของประจำตำบลบ้านสิงห์อีกด้วยรายงานผู้ปฏิบัติงานของผู้ถูกจ้าง
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG( U2T BCG ) ประจำเดือนสิงหาคม 2565

การประชุม online และ onsite

วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ทั้งกลุ่มได้ส่งตัวแทนกลุ่มเข้าร่วมการประชุม(สรุปเนื้อหาโดยเรขาของกลุ่ม)และได้สรุปข้อมูลการประชุมลงข้อมูล tcb
-การเข้าระบบงานให้ใช้ User/password เดียวกันกับ BCG learning
-การเก็บข้อมูล
ภายในเดือนสิงหาคม 2565
1.ตำบลใหม่ 500 ตำบล
2.ตำบลเก่า
2.1clearsing ข้อมูลซ้ำซ้อน(อาจารย์ที่ปรึกษาประจำตำบลเป็นผู้ตรวจสอบ)
2.2ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นข้อมูลปัจจุบัน(หากมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมขึ้น)
ในการเก็บข้อมูลให้มีป้ายประจำตัวก่อนการเข้าเก็บข้อมูลทุกครั้งหากมีการสอบถามถึงหน่วยงานให้แจ้งแก่ผู้สอบถามข้อมูลว่าเป็นการเก็บข้อมูลของกระทรวง อ.ว ท่านเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นผู้ดูแล และการเก็บข้อมูลครั้งนี้จะไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะแต่อย่างใด
ประเภทของข้อมูล
– ผู้ย้ายกลับเนื่องจากสถานการณ์โควิด
หากผู้ให้ข้อมูลไม่สะดวกให้ข้อมูลให้ข้ามไปเลย เพราะสิ่งที่ อว.ต้องการคืออยากทราบว่าต้องการความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง
– อาหารประจำท้องถิ่น
หากตำบลใดที่ทำเกี่ยวกับอาหารให้เน้นความเป็นมาของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ
จากการสอบถามข้อมูลบุคคลในชุมชนและพบว่าข้อมูลในการจัดการแหล่งน้ำในชุมชนซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำไว้บริโภคและได้มีการจัดการน้ำโดยผู้นำชุมชน การเปิดน้ำให้ใช้เป็นการใช้การส่งท่อน้ำไปตามครัวเรือน เพื่อให้ใช้ในกิจวัตรประจำวัน แต่ไม่ได้นำไปใช้ในการเกษตร เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับทำการเกษตรจึงใช้สำหรับอุปโภคและบริโภคเท่านั้น สำหรับแหล่งน้ำในการทำเกษตรนั้นได้มาจากลำห้วยน้อยซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ได้ปล่อยมาจากเขื่อนลำนางรองและบางพื้นที่ได้ใช้น้ำฝนในการทำเกษตรและจากการได้สำรวจเกษตรกรในหมู่บ้านพบว่า นอกจากการปลูกข้าวและมันสำปะหลัง ยังมีการทำขนมไทยแบบต่างๆและยังได้มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ ปลาและกบเป็นอาชีพเสริมอีกด้วย สวนพืชพรรณส่วนใหญ่ที่พบในชุมชน จะเป็นพืชที่ปลูกไว้รับประทาน เช่น กล้วย 🍌 มะม่วง มันม่วง มะพร้าว และผลไม้ชนิดต่างๆ สามารถนำมาเป็นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ในชุมชนเพื่อให้คนในหมู่บ้านและชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

     

วันที่ 14 สิงหาคม 2565
วันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ทางกลุ่มได้เข้าร่วมกับกิจกรรมกับชาวชุมชนบ้านหนองขาม ตำบลบ้านสิงห์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้นั้นได้ทดลองทำทองม้วนสูตรต่างๆมีทองม้วนสูตรดั้งเดิมที่มีอยู่แล้วและทางกลุ่มได้คิดค้นทองม้วนสดใหม่ขึ้นคือการนำแป้งกล้วยนำมาเป็นส่วนผสมทองม้วนและยังได้นำมันม่วงมาเป็นส่วนผสมและได้นำดอกไม้ปลอดสารพิษชนิดต่างๆนำมาเป็นส่วนผสมของทองม้วนอีกด้วยครั้งนี้เป็นการพัฒนาสินค้าที่มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้นและยังเป็นการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ของขนมทองม้วนที่เป็นสินค้า OTOP ของตำบลบ้านสิงห์อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

ทองม้วนทั้ง 4 สูตรมีส่วนผสมต่อไปนี้
1. สูตรดั้งเดิม
-แป้งมัน 250 กรัม
-น้ำตาล 50 กรัม
-กะทิ 70 กรัม
-เกลือ 1 ช้อนชา
-ไข่ไก่ 1 ฟอง
2.สูตรดั้งเดิมผสมมันม่วง
-แป้งมัน 250 กรัม
-น้ำตาล 50 กรัม
-กะทิ 70 กรัม
-เกลือ 1 ช้อนชา
-ไข่ไก่ 1 ฟอง
-มันม่วง 50 กรัม
3.สูตรแป้งกล้วย
– แป้งกล้วย 250 กรัม
-แป้งมัน 20 กรัม
-น้ำตาล 50 กรัม
-กะทิ 70 กรัม
-เกลือ 1 ช้อนชา
-ไข่ไก่ 1 ฟอง
สรุปผลการทำงานของเดือนสิงหาคม
จากการทำทองม้วนทั้ง 4 สูตรแต่ละสูตรมีรสชาติที่ต่างกันแต่ละสูตรมีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวมันเองทำให้ดูโดดเด่นในตัวของมันเองจากผลที่ได้ทำให้มีการพัฒนา ทองม้วนให้มีความสนใจน่ายิ่งขึ้นทำให้ผู้คนสนใจในผลิตภัณฑ์ตัวนี้และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในชุมชนอีกด้วย