ข้าพเจ้านายทรรศพล สีหัวโทน ผู้ปฏิบัตรงานประเภทบัณฑิต HS18-2 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร HS18-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จากได้รับการคัดเลือกเป็นผู้เข้าปฎิบัติงาน ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามเเปนงานปฏิบัติที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการส่งเอกสารสัญญาจ้าง เอกสารรายงานตัวตามลำดับ นอกจากนี้ยังเข้าร่วมประชุมในระบบออนไลน์ ผ่านระบบโปรเเกรม Meet เพื่อวางเเผนและได้รับการมอบหมายหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย

ในภาระกิจเเรกกระผมได้รับมอบหมายในการดำเนินการลงพื้นที่และหาข้อมูล ในบ้านบุผู้หญิง บ้านบุโพธิ์ บ้านหนองเจ้าหัว ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน บริบทชุมชนในเขตนั้น ซึ่งพบว่าในพื้นที่ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเกือบทั่วทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพืชไร่ อ้อย ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง รวมไปถึงการปลูกต้นมอนเพื่อนนำไปทำการเลื้องหม่อนไหม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านแบบดั้งเดิมที่สืบต่อกันมา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองเเวง บ้านบุผู้หญิงและบ้านหนองเจ้าหัว กลุ่มทอผ้าไหมบ้านนาสีนวลอีกด้วยครับ

 

 

 

 

หลังจากที่ได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเเล้ว ทางผู้ปฏิบัติงานได้เล็งเห็นการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสในการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน จึงได้ทำการสอบถามและประชาคมกับกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองเจ้าหัวและบ้านบุผู้หญิง ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการเเปรมูลวัวในเป็นมูลวัวอัดเม็ด ภายใต้ชื่อโครการ สร้างมูลค่ามูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด โดยมีนายแสน โนนทราย ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองเจ้าหัวเป็นประธานกลุ่ม

ภารกิจเเรก สร้างมูลค่ามูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด โดยมีส่วนผสม ได้เเก่ มูลวัว เชื้อราไตรโคเดอร์มา EM และกากน้ำตาล โดย

มูลวัว ได้จากการรวมกันของกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองเจ้าหัว

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ช่วยในการรักษาโรคพืช ได้เเก่ โรครากเน่า โรคโคนเน่า เป็นต้น

EM จุลินทรีย์ที่ช่วยในการย่อยอินทรีย์วัตถุเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย

กากน้ำตาล เป็นอาหารเพื่อเลี้ยงจุลินทรีย์

โดยอัตรามราใช้ในการผสมในอัตราส่วน มูลวัว 20 กก. เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 ลิตร EM 1 ลิตร กากน้ำตาล 2 กก.

ขั้นตอนการทำ

นำ เชื้อราไตรโคเดอร์มา EM กากน้ำตาล ผสมกับน้ำ 20 ลิตร กวนให้เข้ากัน เเละนำไปเทลงในกะบะผสม ทำการตีเเละคลุกให้เข้ากัน ให้สังเกตเนื้อสัมผัสให้พอปั้นได้เป็นก้อน พอได้แล้ว ทำการเก็บใส่กระสอบและทำการปิดปากกระสอบ เก็บไว้ในที่ร่ม เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยซากอินทรีย์วัตถุในกระสอบ 30 วัน ขึ้นไปเและเข้าสู่กระบวนการอัดเม็ดในครั้งต่อไป