ข้าพเจ้านายทรรศพล สีหัวโทน ผู้ปฏิบัตรงานประเภทบัณฑิต HS18-2 ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์

 

หลักสูตร HS18-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

 

จากจากการปฏิบัติงานช่วงเดอนสิงหาคม ข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามเเปนงานปฏิบัติที่วางไว้ และยังเข้าร่วมประชุมในระบบออนไลน์ ผ่านระบบโปรเเกรม Meet เพื่อวางเเผนและได้รับการมอบหมายหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย และได้รับมอบหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD หมู่ที่ 1 บ้านบุโพธิ์ และหมู่ที่ 3 บ้านบุผู้หญิง ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ความต้องการของชุมชุน

ภาระกิจเเรก หลังจากที่ประชุมวางแผน ผู้ปฏิบัติงานตำบลบุโพธิ์ ได้ลงพื้นที่บ้านนาสีนวล หมู่ที่ 6 กลุ่มชาวบ้านนำเศษผ้าที่เหลือจากการตัดผ้าไหมเป็นผืนนำมามาพัฒนาเพื่อการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปผ้าไหม โดยกลุ่มวิสาหกิจบ้านนาสีนวล เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนา ภายใต้เเบรนด์ “แม่ทองดี” และทางผู้ปฏิบัติงานได้ศึกษาและมีมติในการพัฒนา พวงกุญแจกระเป๋าอเนกประสงค์ ที่ทำมาจากเศษผ้าไหม เหมาะสำหรับใช้ใส่เศษเหรียญ ธนบัตร โทรศัพท์ และบัตรต่างๆ ตามโอกาส

 

   

ภาระกิจต่อมา ผู้ปฏิบัติงานตำบลบุโพธิ์ ได้ลงพื้นที่บ้านหนองเจ้าหัว หมู่ที่ 4 ได้ครบระยะจำนวนวันที่ปุ๋ยหมักได้ทำการย่อยสลายจุลินทรีย์ เป็นระยะเวลา 30 วัน ได้ทำการตากเเห้งและทำการอัดเมล็ดปุ๋ย ในขนาด 8 มิลลิเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยได้ทำการทดลองจากเครื่องอัดเม็ดปุ๋ยของทางชุมชน บ้านหนองเจ้าหัว โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่บ้านและท่านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ได้ให้การดูเเล สนับสนุนและเฝ้าให้คำปรึกษา

 

หลังจากที่ได้ทำการอัดเเละทำการตากเเล้ว จึงได้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ “มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ด” กลุ่มกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงโคเนื้อบ้านหนองเจ้าหัว ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดมีจุลินทรีย์ที่ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี รักษาความชื้นของหน้าดิน พร้อมออกเเบบโลโก้ผลิตภัณฑ์โดย างสาวมินตรา เรืองคง พร้อมบรรจุภัณฑ์ขนาด 1 กิโลกรัม พร้อมจำหน่ายทั้งรูปแบบ ขายปลีก ขายตรง รวมไปถึงช่องทางออนไลน์ ทางเพจ  มูลวัวหมักจุลินทรีย์อัดเม็ดตำบลบุโพธิ์

   

ภาระกิจต่อมา ได้รับมอบหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD หมู่ที่ 1 บ้านบุโพธิ์ และหมู่ที่ 3 บ้านบุผู้หญิง ตำบลบุโพธิ์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ความต้องการของชุมชุน โดยการลงพื้นที่สำรวจเกษตรกรท้องถิ่น แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก / โรงแรม ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่นกษตรกรในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งน้ำในท้องถิ่น