บทความประจำเดือน กันยายน 2565

กลุ่ม ID27-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ราชภัฏบุรีรัมย์

การแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื่อกกและข้าวหลาม

ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย

จังหวัดบุรีรัมย์

กระผมนายชาคริต สุขนาที ประเภทประชาชน ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองมะเขือ บ้านหนองแสง บ้านพิณทอง และบ้านไพศาล ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนดำเนินการมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม C-03 แผนพัฒนาสินค้าและบริการ วัตถุประสงค์เพิ่มยอดขายและช่องทางการจำหน่ายสินค้า โปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID27-2

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID27-2

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร ประชุมวางแผนชี้แจงรายละเอียดวันออกบูทในงานรับปริญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายให้ได้ตามเป้า 10% ตามที่โครงการกำหนด

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรประชุมเพื่อนัดหมายเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD เพิ่มเติมเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

วันที่ 4 กันยายน 2565 ทีมงาน ID27-2 ตำบลไพศาลและอาจารย์ประจำหลักสูตรประชุมออนไลน์ชี้แจงงานเกี่ยวกับกิจกรรมสัปดาห์ ECT และชี้แจงนัดหมายวันจัดอบรมคืนองค์ความรู้ให้กับชุมชน

วันที่ 14 กันยายน 2565 เจ้าหน้าที่ U2T และอาจารย์ประจำหลักสูตรจัดอบรมเกี่ยวกับการตลาดและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 10% ตามที่ส่วนกลางกำหนด

วันที่ 15-18 กันยายน 2565 ชุมชนและเจ้าหน้าที่ U2T ตำบลไพศาล ออกบูทจำหน่ายสินค้า งานรับปริญญา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 10% ตามที่โครงการกำหนด

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 4 หมู่บ้าน

ผลจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละหมู่บ้านพบว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ การทำไร่ทำนา การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ และเปิดร้านค้าขาย ซึ่งประชากรในหมู่บ้านมีรายได้น้อย แต่ยังมีสินค้า OTOP ที่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชน เช่น การทอผ้าไหม การทำข้าวหลาม การทอเสื่อ และสิ่งประดิษฐ์ล้อเกวียนเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ชุมชนยังมีปัญหาด้านจำหน่ายและช่องทางการกระจายสินค้าให้ผู้คนได้จัก สินค้ายังมีบริการแบบเดิม ไม่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายน่าสนใจยิ่งขึ้น

ผลจากการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

ผลจากการเก็บข้อมูล พบว่า ชาวบ้านในชุมชนได้ทราบข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดและตระหนักถึงการป้องการโรค ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมีผลกระทบกับชาวบ้านทำให้ขาดรายได้ ค้าขายน้อยลงทำงานไม่ได้เต็มที่ ซึ่งควรมีแผนการรับรองและพัฒนาของชุมชนต่อไป

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

          ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรกๆ พบปัญหาประชนชนในพื้นที่ไม่ค่อยอยู่บ้าน โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกสถานที่ ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน ID27-2 ในการมาลงพื้นที่เก็บข้อมูล ทีมงานบางคนอยู่ไกลและไม่มียานพาหนะในการมาลงพื้นที่ได้ ทำให้การลงพื้นที่มาไม่ครบ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้ทราบถึงวิถีชีวิตของแต่ละชุมชน

2.การทำงานร่วมกันเป็นทีม

3.ได้ทราบถึงปัญหาแต่ละชุมชนและแนวทางการแก้ไขปัญหา

4.ได้รู้จักสินค้า OTOP ในแต่ละชุมชน