ข้าพเจ้า นางสาวกนิษฐา กะรัมย์ บัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลในตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือน กรกฎาคม
ข้าพเจ้าและทีมปฏิบัติงานได้ลงพื้นที่ในตำบลโคกตูม วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 โดยมีอาจารย์ที่รับผิดชอบตำบลโคกตูมลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลด้วย จากที่ได้ลงพื้นที่และได้หารือกันกับทีมผู้ปฏิบัติงานพบว่าผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาพัฒนาและแปรรูปได้แก่ จิ้งหรีด เพราะเป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ จิ้งหรีดเป็นแมลงที่สามารถพบเห็นได้ตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ เจริญเติบโตได้ดีในอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 22-35 องศาเซลเซียส เดิมมีผู้นิยมบริโภคในบางพื้นที่ของประเทศเท่านั้น เช่น ในท้องถิ่นของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ชาวบ้านมักจะหาจิ้งหรีดตามธรรมชาติมาบริโภคเป็นอาหาร เป็นต้น แต่ปัจจุบันมีความนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากมีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบไปด้วย โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรท แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามิน และให้พลังงานแก่ร่างกาย ที่สำคัญเป็นแมลงที่ปลอดภัยจากสารพิษ นอกจากนั้นยังสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์เศรษฐกิจต่างๆได้อีกด้วย ทำให้ประชากรจิ้งหรีดตามธรรมชาติมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ จึงได้มีการทดลองนำจิ้งหรีดมาเลี้ยงในภาชนะหรือเลี้ยงในระบบฟาร์ม เป็นการสร้างรายได้ และลดรายจ่ายให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย จิ้งหรีดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสั้นแลขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีหลายชนิดและมีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของจิ้งหรีด จิ้งหรีดพันธุ์ไทยที่นิยมเลี้ยง คือ จิ้งหรีดทองแดง จิ้งหรีดทองดำ จิ้งหรีดทองลาย สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ 4-5 รุ่นต่อปี โดยเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพเสริม หรือเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพหลัก
ในการลงสำรวจพื้นที่ครั้งนี้พบว่าชาวบ้านส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการสอบถามเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณชาวบ้านที่ให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับจิ้งหรีด รู้สึกประทับใจในการต้อนรับ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์มากทีมงานจะนำข้อมูลที่ได้รับไปพัฒนาชุมชนในต่อไป
ภาพการปฏิบัติงาน