ข้าพเจ้านางสาวนิติยา  เป็นใจดี ประเภทประชาชน ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร:การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอัดเม็ดจากมูลจิ้งหรีด

ได้ลงพื้นที่ปฎิบัติงานกับทีมงานและอาจาร์ยประจำหลักสูตร  เมื่อวันที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2565

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจ ในตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อเก็บรวมรวบข้อมูลโดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของชุมชน

จากการลงพื้นที่สำรวจในเบื้องต้นในบ้านราษฎร์นิยม หมู่ที่5 ต.โคกตูม อ.ประโคนชัย ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้าง บางรายประกอบอาชีพค้าขายและบางรายไปรับจ้างต่างจังหวัดและได้พบฟาร์มจิ้งหรีดของนายบุญช่วย พงพันธ์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ จำนวน 50 บ่อ ทางทีมงานจึงถามถึงประวัติที่มาที่ไปของฟาร์ม ซึ่งนายบุญช่วย พงพันธ์ ได้เล่าว่าเดิมฟาร์มตนมีขนาดเล็กๆจำนวนแค่ 4-5 บ่อ แม่ตนเป็นคนดูแล ตนเองไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร และเมื่อประมาณช่วงปี 2557 -2558 ได้ประสบปัญหาน้ำท่วม จึงกลับบ้านมาช่วยแม่เร่ขายจิ้งหรีดตามชุมชน เมื่อระยะเวลาผ่านไปได้หลายๆปีเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น นายบุญช่วย พงพันธ์จึงมองเห็นทางที่จะขยายกิจการ โดยเริ่มจากการ โพสขายตาม เพจ ออนไลน์ และขายให้กับเครือข่ายกลุ่มพ่อค้าที่ทอดแมลงขาย จึงทำให้ตนเป็นที่รู้จักของเครือข่ายผู้ที่สนใจจิ้งหรีด ในส่วนของราคาขายนั้นนายบุญช่วย พงพันธ์ จะขายจิ้งหรีด ใน ราคากิโลกรัมละ 120 บาท และยังสามารถขายมูลจิ้งหรีดให้กับกลุ่มเกษตรกรที่สนใจด้วย ซึ่งมูลจิ้งหรีด ใน1ถุง จะมีน้ำหนักสุทธิ 30 กิโลกรัม ขายได้ 50 บาทซึ่งข้าพเจ้าและทางทีมงานมองเห็นว่า ควรจะเพิ่มมูลค่าให้กับจิ้งหรีดและมูลจิ้งหรีด จึงช่วยกันคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ จากมูลจิ้งหรีด จึงได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับมูลจิ้งหรีด ทำให้ทราบว่ามูลและสิ่งขับถ่ายจากแมลงมีธาตุไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่ทดแทนปุ๋ยแร่ธาตุได้ ช่วยลดการสูญเสียธาตุอาหารพืชในดิน ส่งผลต่อการเพิ่มกิจกรรมและความหลากหลายของจุลินทรีย์ดินการนำมูลและของเสียจากการเลี้ยงแมลงไปผลิตเป็นปุ๋ยจำหน่ายเชิงพาณิชย์ จึงเป็นการใช้ทรัพยากร
ในฟาร์มให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย จึงคิดทำปุ๋ยอัดเม็ดจากมูลจิ้งหรีด ซึ่งกลุ่มเป้าหายที่จะขายให้คือ กลุ่มคนรักต้นไม้

จากการลงพื้นที่สำรวจตำบลโคกตูมในเบื้องต้นสรุปได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร รับจ้าง บางรายประกอบอาชีพค้าขายและบางรายไปรับจ้างต่างจังหวัด และได้ศึกษาถึงคุณสมบัติของมูลจิ้งหรีดทำให้ทราบว่ามูลจิ้งหรีดมีธาตุไนโตรเจน
ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม  มูลและสิ่งขับถ่าย รวมทั้งของเสียที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงจิ้งหรีดจึงใช้เป็นปุ๋ยหรือสารทดแทนปุ๋ยได้