การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ข้าพเจ้า นางสาววิพาไล คันดุไล เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ ข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจโรงเรือนที่ใช้ในการเพาะพันธุ์เห็ดสายน้ำแร่ ณ พื้นที่ หมู่ 7 บ้านซับสมบูรณ์  ซึ่งจะมีเกษตรกรบางกลุ่มเท่านั้นที่เพาะพันธุ์เห็ด และจากการลงพื้นที่สำรวจได้มีการสอบถามเกษตรกรว่ามีความต้องการที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า ของตำบลอย่างไรบ้าง ในส่วนของเห็ดที่เกษตรกรได้มีการเพาะพันธุ์นั่นมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ เห็ดโคนญี่ปุ่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เป็นต้น

การจัดจำหน่ายเห็ดเกษตรกรได้นำเห็ดออกมาจำหน่ายซึ่งเห็ดโคนญี่ปุ่นนั่นจะจำหน่ายในรูปแบบดอกสดเพราะมีราคาที่ค่อนข้างสูง ส่วนเห็ดนางฟ้าจะนำมาแปรรูปเป็นแหนมเห็ด ซึ่งแหนมเห็ดจะมีการจัดจำหน่ายตามงานของดีประจำอำเภอและจังหวัดเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ประจำตำบลทุ่งจังหัน และจัดจำหน่ายตามออเดอร์ต่าง ๆ ที่มีการสั่งเข้ามา  รูปแบบของผลิตภัณฑ์ ทำแบบแหนมตุ้มจิ๋ว  ขนาดเล็กพอดีคำ  (ประมาณ 11-12 ชิ้น ต่อ 100 กรัม) จาการสำรวจเกษตรกรอยากให้เข้ามาช่วยพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ โดยอยากได้รูปแบบในลักษณะที่เป็นแท่ง นอกเหนือจากการนำเห็ดนางฟ้ามาแปรรูปเป็นแหนมเห็ดแล้ว เกษตรกรยังมีความสนใจที่อยากจะทำผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปเห็ดอีกอย่างคือ จ่อมเห็ดน้ำแร่ กับ การแปรรูปเห็ดเป็นเนื้อเทียม

ในเดือนนี้ข้าพเจ้าและทีมงานในมีการวางแผนการออกแบบของบรรจุภัณฑ์ วางแผนการผลิตรูปแบบของสินค้า รวมถึงการวางแผนการตลาดว่าจะทำออกมาในรูปแบบใดได้บ้างเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสร้างอาชีพให้คนในชุมชนสามารถต่อยอดไปในอนาคตได้