ข้าพเจ้า นางสาว ลัดดาภรณ์ หงษา ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ประจำตำบลปราสาท อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

หลักสูตร : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

    ในเดือนสิงหาคมนี้ ข้าพเจ้าได้ทำการลงพื้นที่ประจำตำบลเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากเดือนที่แล้วลงในแอปพลิเคชั่น TCD เก็บตกหัวข้อที่เหลือและหัวข้อที่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ จากนั้นได้ทำการลงสำรวจตลาดคู่แข่งเพื่อเก็บสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเตาถ่านทั่วไปที่ขายในท้องตลาดจากนั้นนำข้อมูลมาบันทึกลงในแบบฟอร์มประจำเดือน

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

ได้ทำการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาทักษะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การทำเตาเศรษฐกิจไทยและถ่านดูดกลิ่น

เตาเศรษฐกิจไทย

ส่วนผสมของดินในการทำเตา

1.ดินเหนียวทั่วไป โดยดินจะแยกเป็นใช้ดินเปียกก็ได้หรือจะใช้ดินแห้งหรือจะใช้ผสมกันก็ได้ซึ่งในแต่ละดินจะใช้วิธีในการคัดกรองให้มีความละเอียดเพื่อจะได้นำมาสู่ขั้นตอนการนวดเพื่อผสมในการทำเตาที่แตกต่างกันออกไป อัตราส่วนในการนำมาผสมคิดเป็น 70-80%

2.แกลบดิบ+แกลบที่เผาแล้ว (6 เดือน – 1ปี) อัตราส่วนในการนำมาผสมคิดเป็น 10%

3.ทรายละเอียด อัตราส่วนในการนำมาผสมคิดเป็น 10%

นอกจากนี้เราได้มีการออกแบบโดยการให้มีการใช้งานให้ประหยัดพลังงาน กระจายความร้อนสม่ำเสมอ มีการออกแบบที่หลากหลายเหมาะสมต่อการใช้งาน ใช้วัสดุที่มีประสิทธิภาพใช้สีที่ทนความร้อนเพื่อให้สามารถนำมาต่อยอดให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชน

ถ่านดูดกลิ่น

    ได้ทำการออกแบบโดยใช้แม่พิมพ์หลากหลายรูปแบบให้มีความน่าสนใจต่อการเลือกซื้อและได้เชื้อเพลิงที่มีคุณภาพ เราได้นำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากทางการเกษตรมาเผาด้วยเตาถ่านกัมมัน ช่วยลดมลพิษทางอากาศและเศษผงถ่านสามารถนำมาแปรรูปทำการผลิตใหม่ได้อีกครั้งเพื่อให้ใช้งานได้หลากหลาย

    ซึ่งนอกจากการที่ได้อบรมแล้วทางทีมงานก็ยังได้ร่วมกันดำเนินงานจัดทำแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปพัฒนาต่อยอดตัวผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ภาพประกอบการปฏิบัติงาน

  • ลิ้งก์วิดีโอประจำเดือนสิงหาคม