การดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
ข้าพเจ้า นางสาววิพาไล คันดุไล เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนสิงหาคม 2565 นี้ ข้าพเจ้าและทีมงานได้ดำเนินการลงพื้นที่เตรียมการทดลองทำผลิตภัณฑ์จ่อมเห็ดน้ำแร่ และการทำเนื้อเทียมที่มีชื่อว่า “หมูปิ้งจำแลง” มีการวางแผนการออกแบบของบรรจุภัณฑ์ โลโก้ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการวางแผนการตลาดว่าจะทำออกมาในรูปแบบใดได้บ้างเพื่อที่จะเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสร้างอาชีพให้คนในชุมชนสามารถต่อยอดได้
การทดลองทำผลิตภัณฑ์จ่อมเห็ดน้ำแร่และหมูปิ้งจำแลง ข้าพเจ้าและทีงานได้จัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อใช้ในการทดลอง ในการทดลองจะทำการทดลองแต่ละครั้งนั้นได้มีการจดบันทึกสูตรไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง และหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงสูตรร่วมกัน เพื่อให้รสชาติของจ่อมเห็ดน้ำแร่ และหมูปิ้งจำแลงมีรสชาติที่อร่อยเหมาะแก่การนำมารับประทาน และจำหน่ายเป็นสินค้า OTOP ประจำตำบลได้
ปัญหาที่พบในการทดลองทำผลิตภัณฑ์ สำหรับการทำจ่อมเห็ดน้ำแร่ คือ ทีมงานไม่มีความรู้ในเรื่องการทำจ่อม จึงได้มีการค้นหาสูตรการทำแล้วนำมาปรับใช้ในกาทดลองในการทดลองครั้งแรกนั้นยังไม่สำเร็จ สำหรับการทดลองครั้งที่สองถือว่าสำเร็จเพราะมีรสชาติที่เป็นจ่อมแต่จะต้องหมักแค่ 1 วันเท่านั้น
ปัญหาที่พบในการทดลองทำผลิตภัณฑ์ สำหรับการทำหมูปิ้งจำแลง คือ ในการทดลองแต่ละครั้งเมื่อนำเนื้อเห็ดและแป้งสาลีอเนกประสงค์พร้อมทั้งส่วนผสมอื่น ๆ มาผสมรวมกันแล้วทำให้เนื้อเห็ดไม่สามารถเกาะตัวกันได้หากนำมาปิ้งก็จะเกิดการแตกและไม่เกาะตัว จาการนั้นได้ทีการทดลองครั้งที่สองโดยครั้งนี้จะเปลี่ยนแป้งที่ใช้ในการผสม เราจะใช้แป้งขนมปังเพราะมีปริมาณกลูเตนเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้เนื้อเห็ดเกาะตัวกันได้มากขึ้น
จาการทดลองนี้ทำให้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้าง และมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร ซึ่งในขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป ข้าพเจ้าและทีมงานจะทำการผลิตสินค้า และมีการให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มีความสนใจการแปรรูปเห็ด เพื่อใช้ในการต่อยอดให้เป็นสินค้า OTOP ประจำตำบลได้