บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายหลักการของความเป็นประชาธิปไตยในบริบทวัฒนธรรมชุมชนในตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่พูดคุยกับกลุ่มชาวบ้าน ในตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยแนวทางการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตยในทางปฏิบัติโดยการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนดังนี้
- การส่งเสริมประชาธิปไตยในครอบครัว โดยสมาชิกในครอบครัวมีความรักใคร่ปรองดอง กันเคารพเชื่อฟังพ่อแม่ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์และเป็นผู้รับผิดชอบต่อครอบครัว พ่อแม่ ยอมรับฟังความเห็น ความต้องการของลูก ตัดสินปัญหาต่างๆ โดยใช้เหตุผลมากกว่าที่จะใช้อารมณ์ปรึกษาหารือกันในเรื่องที่สําคัญและเกี่ยวข้องกับผู้นั้น พ่อแม่ลูกรู้จักหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความรับผิดชอบเต็มใจ
- การส่งเสริมประชาธิปไตยในชุมชน โดยร่วมในการประชุมหรือกิจกรรมของชุมชนอย่างเต็มใจ รับฟังความคิดเห็นของทุกคน และไม่ถือโทษโกรธเคืองกันแม้จะมีความเห็นขัดแย้งกัน ตัดสินใจโดย ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์มีการปรึกษาหารือกันในขณะทํางาน ร่วมกันแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ มากกว่าที่จะคอยซ้ำเติม เคารพกฎระเบียบของชุมชนและกฏหมาย ติดตามข่าวสารและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ตัดสินปัญหาโดยเปิดโอกาสให้มีการแสดงความเห็นอย่าง กว้างขวาง ไม่ควรรีบร้อนให้มีการลงมติ
3.การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ ในการประชุมหรือมีการจัดกิจกรรมต่างๆของชุมชนจะใช้เกณฑ์การตัดสินใจซึ่งเลือกทางที่มีคะแนนเสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
นอกจากนี้ชาวบ้านในตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ยังนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ไว้รับประทานเอง และยังทำให้ทางทีมได้พบกับนายบุญช่วย ซึ่งเป็นเจ้าของฟาร์มจิ้งหรีด ในตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จากการได้พูดคุยกับคุณบุญช่วยเกี่ยวกับการเลี้ยงจิ้งหรีด คุณบุญช่วยเล่าว่าตนยึดการทำนาเป็นอาชีพหลัก และทำอาชีพเสริมด้วยการเลี้ยงจิ้งหรีด ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในส่วนของขั้นตอนการเลี้ยงนั้น ตั้งเเต่เเรกเกิดจนนำออกมาขาย มีขั้นตอนดังนี้ เเรกเกิดนำไข่มาฝัก 8-9 วัน เพื่อฝักเป็นตัวอ่อน หลังจากฝักเป็นตัวอ่อนได้ 2-3 วัน มาวางด้วยถาดน้ำเลี้ยงอาหารด้วยรำข้าวเเละหัวอาหาร พอเริ่มโตก็เลี้ยงด้วยผักโดยหามาได้ตามชุมชน เช่นผักโขม ผักบุ้ง พอ ร่วมๆ เป็นเวลา 45 วัน ก็นำออกไปจำหน่ายขายให้ลูกค้า ในส่วนของมูลจิ้งหรีดคุณบุญช่วยก็จะขายให้ชาวบ้านที่สนใจ ในราคา 50 บ.ต่อ 1 กระสอบ ในส่วนของตัวจิ้งหรีดนั้นก็จะขายอยู่ที่ กก.ละ120 บ. และคุณบุญช่วยยังบอกอีกว่าจิ้งหรีดนั้นเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอด โดยจิ้งหรีด 3 ขีดจะมีโปรตีนเท่ากับเนื้อ 1 กิโลกรัม ถึงจะมีประโยชน์มากแค่ไหน แต่คุณบุญช่วยบอกว่าหลายคนคงทำใจยากกับการกินแมลงเป็นตัวๆ จึงทำให้ทางทีมงานสนใจที่จะทำการแปรรูปจิ้งหรีดและมูลจิ้งหรีดเพื่อที่จะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ในตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากจะทำให้มีผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่แล้วทางทีมงานยังคิดที่จะต่อยอดให้เป็นอาชีพหลักอีกทางเลือกหนึ่งของกลุ่มชาวบ้านในตำบลที่สามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ โดยการนำจิ้งหรีดไปแปรรูปเป็นผงโปรตีนจากจิ้งหรีด และปุ๋ยอัดเม็ดจากมูลจิ้งหรีด ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าของจิ้งหรีดและมูลจิ้งหรีดได้มากพอสมควรนอกจากจะเพิ่มมูลค่าแล้วยังเป็นจุดสนใจของกลุ่มคนรักสุขภาพและเป็นจุดสนใจของกลุ่มคนรักต้นไม้อีกด้วย