วิสาหกิจชุมชุน (SMCE หรือ small and micro community enterprise) คือ กิจการของชุมชนที่เกี่ยวกับการผลิตสินค้า กลุ่มโอทอป (OTOP) หรือการให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกผัน มีวิถีชีวิตร่วมกัน และรวมตัวกันประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคล ในรูปแบบใดหรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตัวเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน โดยใช้ทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม วิถีชีวิตพื้น บ้านตนเอง ยึดโยงเป็นโครงสร้างเศรษฐกิจฐานรากเพื่อชุมชน เพื่อเป็นส่วนต่อยอดให้ระบบเศรษฐกิจข้างบนแข็งแรงเพราะมีรากฐานที่แข็งแรง การคำนวณต้นทุนขายของกลุ่มวิสาหกิจชุนชนจึงเป็นไปในทางที่ไม่ยากนัก

ต้นทุนขาย คือจำนวนเงินที่จ่ายไปในการซื้อสินค้า วัตถุดิบ เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าและบริการที่ขายพร้อมกับกิจกรรมกระบวนการที่ทำให้สินค้าและบริการพร้อมขายหรือใช้ในภายหลัง เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การทดสอบ การจัดเก็บ การขนส่ง เป็นต้น

วิธีคำนวณต้นทุน – สูตรการคิดต้นทุนสินค้า

ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจซื้อมาขายไป (หรืออาชีพพ่อค้าแม่ค้า) ก็คงคิดว่าการคำนวณต้นทุนเป็นสิ่งที่ไม่ยาก ตรงไปตรงมา เพราะเราซื้อของมาเท่าไร ต้นทุนของเราก็คงจะเท่ากับราคาซื้อ แต่สำหรับบางธุรกิจ เช่นธุรกิจโรงงาน หรือ แม้แต่ชาวบ้านที่ผลิตสบู่เหลวและดินปลูกต้นไม้ ก็อาจจะคิดต่าง

เพราะสำหรับบางธุรกิจ ต้นทุนสินค้าจะมาจากวัตถุดิบหลายๆอย่างที่นำมาใช้ผสมรวมกัน พอเรามีวัตถุดิบหลายๆอย่างที่มาในหลายราคา หลายส่วนผสม คนที่ต้องคำนวณต้นทุนวัตถุดิบก็อาจจะงงได้ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีส่วนของต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าไฟ ค่าแรง ค่ารถ ค่าของเสีย ที่ทำให้การคำนวณยากขึ้นไปอีก

โดยรวมแล้ว สูตรของต้นทุนคิดดังนี้

          ต้นทุนรวม = ต้นทุนวัตถุดิบ + ค่าแรง + ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ซึ่งก็ไม่ต้องกังวลไป ในส่วนต่อไปเรามาดูวิธีคำนวณต้นทุนในแต่ละแบบกันอย่างละเอียดกันเลย

ต้นทุนแต่ละอย่างมีอะไรบ้างนะ

วัตถุดิบคำนวณอย่างไร

ในกรณีที่เราต้องทำการผสมหรือรวมวัตถุดิบ ให้คำนวณต้นทุนดังนี้

          ต้นทุนวัตถุดิบ = ปริมาณที่ใช้ x ราคาที่ซื้อมา / ปริมาณที่ซื้อมา 

ยกตัวอย่างการคำนวณสบู่เหลวและดินปลูกต้นไม้ มีดังนี้

1.สบู่เหลว

ซึ่งปริมาณจะคิดเป็นน้ำหนัก เช่น สารตั้งต้นทำความสะอาด สารช่วยถนอมผิว สารสกัดข้าวโพด ช่วยลดริ้วรอยปรับสภาพผิว ยืดอายุการใช้งาน แต่งกลิ่น สารปรับความข้น ตัวทำละลาย หรือจะคิดเป็นแบบอื่นๆตามที่ใช้งานจริงก็ได้

เช่น หากเราซื้อสารปรับความข้นมาในราคา 85 บาท ต่อ 1000 กรัม และเราใช้ทำสบู่แค่ 100 กรัม ต่อ 1 ขวด ต้นทุนที่เราใช้จริงก็คือ 100 x 85 / 1000 = 8.5 บาท ต่อ 1 ขวด

2.ดินปลูกต้นไม้

ซึ่งปริมาณจะคิดเป็นน้ำหนัก เช่น น้ำจุลินทรีย์  แกลบดิบ แกลบเผา ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ขี้วัว หรือจะคิดเป็นแบบอื่นๆตามที่ใช้งานจริงก็ได้

เช่น หากเราซื้อขุยมะพร้าวมาในราคา 200 บาท ต่อ 20 กิโลกรัม และเราใช้ทำดินปลูกต้นไม้แค่ 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ถุง ต้นทุนที่เราใช้จริงก็คือ 1000 x 200 / 20000 = 10 บาท ต่อ 1 ถุง (1000 กรัม = 1 กิโลกรัม )

อีกหนึ่งปัญหาของต้นทุนวัตถุดิบของ ‘การผลิตแบบมีสูตร’ ก็คือ สูตรของเราอาจจะใช้ในการผลิตสินค้าหลายชิ้น เช่นสบู่เหลวหรือดินปลูกต้นไม้หนึ่งครั้งอาจจะได้สบู่ออกมา 20 ขวด หรือ 20 ถุง ในส่วนนี้เราก็ต้อง นำต้นทุนมาหารต่อจำนวนชิ้น ที่ผลิตออกมาได้ด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนวัตถุดิบทำสบู่เหลวและดินปลูกต้นไม้ มีดังนี้

  • สบู่เหลว วัตถุดิบการทำสบู่เหลว มีดังนี้ สารตั้งต้นทำความสะอาด สารช่วยถนอมผิว สารสกัดข้าวโพด ช่วยลดริ้วรอยปรับสภาพผิว ยืออายุการใช้งาน แต่งกลิ่น สารปรับความข้น ตัวทำละลาย รวมต้นทุนเท่ากับ 1000 บาท และสามารถผลิตสบู่ได้ 20 ขวด ต้นทุนวัตถุดิบต่อขวดเท่ากับ 1000 / 20 = 50 บาท ต่อ 1 ขวด
  • ดินปลูกต้นไม้ วัตถุดิบดินปลูกต้นไม้มีดังนี้ น้ำจุลินทรีย์  แกลบดิบ แกลบเผา ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ ขี้วัว รวมต้นทุนเท่ากับ 500 บาท และสามารถผสมดินได้ 50 ถุง ต้นทุนวัตถุดิบต่อถุงเท่ากับ 500 / 50 = 10 บาท ต่อ 1 ถุง 

สรุป วิสาหกิจชุมชน หากมีการทำผลิตภัณฑ์สินค้าในชุมชน มักจะมีต้นทุนไม่สูงมากนัก สามารถคำนวณต้นทุนได้ด้วยวิธีง่ายๆและถูกต้องได้ด้วย การทำสบู่เหลวและดินปลูกภูเขาไฟก็มีวิธีการคำนวณต้นทุนที่เหมือนกัน เพียงแค่มีวัตถุดิบในการคิดคำนวณราคาที่ต่างกัน ควรคิดและคำนวณอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้มีการขาดทุนเกิดขึ้น เมื่อเราทราบต้นทุนที่ถูกต้อง เราจะไม่ขาดทุนและสามารถตั้งกำไรได้ตามใจชอบและตั้งอย่างเหมาะสม

 

วิดิโอประจำเดือนกันยายน เรื่อง ดินปลูกภูเขาไฟเขาคอกและสบู่เหลวน้ำนมข้าวอินทรีย์ ตำบลเขาคอก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์