ชื่อบทความ  :  ID14-1 เอกลักษณ์การย้อมฝ้ายด้วยสีธรรมชาติตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อหมู่บ้าน  :     ตำบลแสลงโทน   อำเภอแสลงโทน  จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ  :  นางสาวชลธิชา  แผนสมบูรณ์
ประเภท  :     ประชาชน

การย้อมสีธรรมชาติด้วยผ้าฝ้าย

         ประวัติความเป็นมา 

        ในสมัยโบราณ มนุษย์ตกแต่งผ้าจากวัสดุธรรมชาติชนิดต่างๆ เช่น การใช้ใบไม้ ดอกไม้ หรือกิ่งไม้ ยึดติดกับผ้าด้วยไข่ขาว หรือเลือด อีกวิธีหนึ่งคือการถูวัสดุที่มีสีต่างๆ ลงบนผ้า ซึ่งมีข้อเสียคือไม่ทนต่อการซักล้าง และการสวมใส่ จนกระทั่งมนุษย์สามารถค้นพบวิธีการ ย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติโดยการนำผลไม้ไปตำให้ละเอียดแล้วนำมาต้มรวมกับผ้า ทำให้เส้นใยผ้าเปลี่ยนสี และทนต่อการซักล้างมากขึ้น สีย้อมธรรมชาติส่วนใหญ่จะได้มาจากพืช หรือสัตว์ เช่นสีแดง ได้มาจากครั่ง ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กๆ สีน้ำเงิน ได้จากคราม สีดำ ได้มาจากผลของมะเกลือ สีเหลืองได้มาจากขมิ้น เป็นต้น

         สีย้อมมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ สีที่ย้อมได้จากวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีส่วนผสมทางเคมีมาก ส่วนอีกแบบคือได้จากการย้อมสีธรรมชาติ  ซึ่งการย้อมสีธรรมชาติมีมานานแล้ว  ปัจจุบัน  ตำบลแสลงโทนของเรานั้น  เริ่มได้มีการย้อมสีธรรมชาติ โดย  นางสุพรรณ  ลีประโคน อายุ 52  ปี  ได้เริ่มย้อมสีธรรมชาติ ปี  2563  เพื่อย้อมเส้นฝ้ายให้เป็นเอกลักษณ์ของตำบลแสลงโทนขึ้นมา    ได้จาก  ใบแสลงโทน เป็นพืชที่มีในเฉพาะท้องถิ่น  และ พืชในชุมชน มาย้อมทำให้เกิดการสร้างรายได้ในครัวเรือน  หรือชุมชน 

ขั้นตอนการย้อมฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ

          1. นำเส้นด้ายที่จะย้อมมาต้มในน้ำสบู่ หรือผงซักฟอกเพื่อไล่ไขมันใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นนำขึ้นมาผึ่งให้เย็นแล้วนำไปซักในน้ำสะอาด

           2.  นำใบแสลง/ใบสบู่เลือด  ใบไม้ที่เตรียมไว้มาต้มจนเดือดใช้เวลาประมาณ 45 นาที แล้วกรองแยกกากออก

           3. นำน้ำสีที่กรองแล้วมาต้มในหม้อใส่เกลือ สารส้ม หรือปูน คนจนละลายแล้วนำฝ้ายที่ไล่ไขมันไว้แล้วลงมาต้มต่อ ประมาณ 45 นาที

            4. นำฝ้ายที่ย้อมแล้วออกให้สะเด็ดน้ำ ทิ้งไว้จนเย็น แล้วนำไปซักจนสะอาด

            5. นำฝ้ายที่ซักสะอาดดีแล้วไปตากจนแห้งส่วนฝ้ายที่ใช้เป็นเส้นยืนนำไปแช่ในแป้ง   เปียกก่อนนำออกไปตากเพื่อให้เส้นด้ายมี  ความเหนียวไม่ขาดง่าย

ข้อดีของการย้อมสีธรรมชาติ

        1. ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค

            2. น้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตไม่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อม

            3. วัตถุดิบหาได้ง่ายในชุมชนไม่ต้องใช้สีเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศ

            4. การย้อมสีธรรมชาติสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เพิ่มพูนขึ้นตามประสบการณ์ สามารถ ถ่ายทอดให้แก่คนรุ่นหลัง เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น

           5. สีธรรมชาติมีความหลากหลาย ตามชนิด อายุและส่วนของพืชที่ใช้ ตลอดจนชนิดของสารกระตุ้นหรือขั้นตอนการย้อม

           6. การย้อมสีธรรมชาติทำให้เห็นคุณค่าและรู้จักใช้ ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ

           7. ความสัมพันธ์ระหว่างคนย้อมสีกับต้นไม้ ย่อมก่อให้ เกิดความรัก ความหวงแหน และเรียนรู้ที่จะอนุรักษ์ และปลูกทดแทนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน

 

ข้อจำกัดของสีธรรมชาติ

            1. ปริมาณสารสีในวัตถุดิบย้อมสีมีน้อย ทำให้ย้อมได้สีไม่เข้มหรือต้องใช้วัตถุดิบปริมาณมาก

            2. ไม่สามารถผลิตได้ในประมาณมากและไม่สามารถผลิตสีตามที่ตลาดต้องการ

            3. สีซีดจางและมีความคงทนต่อแสงต่ำ

            4. คุณภาพการย้อมสีธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการซึ่งควบคุมได้ยาก การย้อมสีให้เหมือนเดิมจึงทำได้ยาก

           5. ในการย้อมสีธรรมชาติถ้าไม่มีวิธีการ และจิตสำนึกในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนย่อมจะกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมได้

รูปภาพ

                                                                         

   

อ้างอิง

        https://www.amount-plus.com/c       

        https://sites.google.com/

วีดีโอ