“การส่งเสริมปลูกพืชกระท่อมไม้เศรษฐกิจตัวใหม่”

           ปัจจุบันพืชกระท่อมได้ถูกยกเลิกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ไปตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 ประชาชาทั่วไป สามารถใช้พืชกระท่อมด้วยการเคี้ยวใบ การต้มทำน้ำกระท่อม หรือชากระท่อมดื่มได้ตามวิถีท้องถิ่น และนับตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 ได้มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ห้ามใช้พืชกระท่อมเป็นส่วนผสมของอาหารแล้ว ปัจจุบันจึงสามารถใช้พืชกระท่อมในการประกอบอาหารหรือต้มน้ำกระท่อมในเชิงอุตสาหกรรมได้

          ต่อมาทางสมาคมคนไทยใจรักแผ่นดิน ได้นำพืชกระท่อมมาส่งเสริมปลูกในตำบลปังกู เพื่อเป็นรายได้และอาชีพใหม่ให้กับคนในตำบล โดยทางสมาคมจะรับซื้อหลังจากปลูกได้ 1ปี ประกันรับผลผลิตคืนเป็นใบกระท่อมกิโลกรัมละ 80-200 บาท ต่อกิโลกรัม โดยหลังจาก 1ปี แล้วต้นกระท่อมสามารถให้ผลผลิตได้ต้นละ 1-3 กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือน ซึ่งเป็นพืชที่สามารถทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมเป็นอย่างมาก ทางสมาคมส่งเสริมให้ปลูกต้นกระท่อมครัวเรือนละ 10-20 ต้น หรือถ้าหากว่าผู้ใดมีศักยภาพและพื้นที่มากพอก็สามารถปลูกได้ไร่ละ 100-200 ต้น ข้าพเจ้านายจักรินทร์ กันรัมย์ ประเภทประชาชน ตำบลปังกู ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลด้านการปลูกพืชกระท่อมซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตอนนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการแล้ว ได้แก่

  1. นายมรุต รอยประโคน หมู่6 บ้านโคกใหญ่ ตำบลปังกู ปลูกประมาณ 65 ต้น
  2. นางพันรนา วิจิตร หมู่3 บ้านโคกวัด ตำบลปังกู ปลูกประมาณ 30 ต้น
  3. นางชมพูนุช สายบุตร หมู่12 บ้านศรีตะครอง ตำบลปังกู ปลูกประมาณ 30 ต้น
  4. นายเกียรติชัยสงค์ แรมประโคน หมู่5 บ้านหัวเสือ ตำบลปังกู ทดลองปลูกไว้ 350 ต้น เป็นต้น

          สรรพคุณของใบกระท่อมพื้นบ้านใช้เป็นยาชูกำลัง แก้ปวดเมื่อย แก้ไอ นอนไม่หลับ โดยส่วนใหญ่ใช้การเคี้ยวใบสด หรือนำใบแห้งชงเป็นชา นอกจากนี้ ในตำรับยาไทย ยังรักษาท้องร่วง ทั้งนี้  ไม่ควรกินมากเกินไป ควรกินตามคำแนะนำ เพราะอาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ง่วง ซึม หรืออาจหมดสติได้ในบางคน ขณะเดียวกันหากกินมากบางคนมีอาการท้องผูกได้ ส่วนผู้ที่เป็นความดัน หากความดันไม่ได้สูงมาก สามารถควบคุมได้ ก็ทานได้ เพียงแต่ต้องปริมาณที่แนะนำ