หลักสูตร ID19-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้านางสาวกรรณิกา นาคาวงค์ ประเภทบัณฑิต ID19-2  ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลในชุมชน ณ บ้านหนองไม้งาม 2 ตำบลหนองไม้งาม  อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม C-01 ข้อมูลเสนอโครงการ ข้อมูลโครงการ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน การขายและรายได้ วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนา ทรัพยากรบุคคล แบบฟอร์ม C-02 ข้อมูลรายละเอียดแผนธุรกิจ อธิบายแผนธุรกิจของทีมและแนบลิ้งค์แผนธุรกิจลงในระบบที่ส่วนกลางกำหนด กรอกข้อมูลทั่วไปของลูกค้า กลุ่มลูกค้า การสร้างรายได้ของธุรกิจ ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าและราคา

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID19-2

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 รายงานตัวในระบบออนไลน์ และร่วมฟังการปฐมนิเทศ งานเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG)

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เข้าร่วมรับฟังการปฐมนิเทศ และข้อมูลที่สำคัญสำหรับการปฏิบัติงานในโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำตำบลจัดประชุมออนไลน์ทำการชี้แจงรายละเอียดของโครงการและมอบหมายงาน

วันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ทีมงานปฎิบัติงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูลในพื้นที่ บ้านหนองไม้งาม 2  อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่ครั้งนี้เกษตรกรในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ ณ บ้านหนองไม้งาม 2

ผลจากการลงเก็บข้อมูลในชุมชนพบว่า เกษตรกรในชุมชน มีอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำไร่ การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เช่น การเลี้ยงโค การเลี้ยงกระบือ ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและทำไร่ แต่ยังมีอีกหนึ่งอาชีพ ที่สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน เช่น ปลูกดอกดาวเรือง แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า เกษตรกรยังคงประสบปัญหาในด้านต้นทุนสูง เช่น ค่าแรงแพงขึ้น ค่าปุ๋ย ค่ายาขึ้นราคา ซึ่งทำให้เกษตรกรหลายรายเลิกปลูกดอกดาวเรือง และทำอาชีพอื่นแทน

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในวันแรก พบปัญหาเกษตรกรในชุมชนไม่อยู่ที่บ้าน โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ ทำการเกษตร ทำไร่ ทำสวน ส่งผลทำให้ไม่มีผู้ให้ข้อมูล และทางทีมงาน ID19-2 จำเป็นจะต้องกลับมาเก็บข้อมูล C-01 และ C-02 อีกครั้ง โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายเกษตรกรก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามเป้าหมายตั้งไว้

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้รู้จักการทำงานเป็นทีม

2.ได้ทราบถึงอาชีพในชุมชน

3.ได้ทราบถึงปัญหาที่ทำให้เกษตรกรเลิกปลูกดอกดาวเรือง

 

 

แผนในการดำเนินงานต่อไป

ทีม ID19-2  มีแผนการดำเนินงานในเดือน สิงหาคม 2565 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป