ความเชื่อ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความศรัทธา หลวงพ่อปังกู (หลวงพ่อตะเคียนทอง) และ เทวรูปตาบลังค์

นำเสนอบทความโดยนายเกียรติชัยสงค์ แรมประโคน (ประชาชน)

            บ้านปังกู หมู่4 ตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัฒนธรรมประเพณีแบบดั่งเดิมและเรียบง่าย ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนา ในพื้นที่บ้านปังกูมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวัตถุโบราณที่ชาวบ้านสักการะบูชานับถือ อยู่ 2 แห่ง คือ ศาลเทวรูปตาบลังค์ อายุไม่ต่ำกว่า 1000 ปี และ หลวงพ่อปังกู พระพุทธรูปไม้แกะสลักโบราณจากต้นตะเคียนทองอายุประมาณ 100 ปี

จากคำบอกเล่าของหลวงพี่สุเมธ สันตโย รองเจ้าอาวาสวัดบ้านปังกู ท่านได้เล่าถึงประวัติของเทวรูปตำบลังค์ว่าเป็นเทวรูปที่มีอายุเก่าแก่ราว ๆ 1000 ปีขึ้นไป หรืออาจสร้างพร้อมกับปราสาทเขาพนมรุ้ง ผู้สูงอายุในชุมชนได้เล่าต่อกันมาว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก ชาวบ้านจะมากราบไหว้บูชาขอพรก็ได้สมดั่งใจคิด สถานที่แห่งนี้ถ้าหากมีนกบินผ่านหรือมีนกบินเข้ามาใกล้ก็จะตกลงมาเองบินไปต่อไม่ได้ เทวรูปที่พบจะมีแค่ส่วนตัวและฐานเทวรูปเท่านั้น ส่วนศีรษะถูกโจรกรรมไปร้อยกว่าปี ณ ปัจจุบันชาวบ้านบูรณะขึ้นมาใหม่ ท่านเล่าต่อถึงหลวงพ่อตะเคียนทอง(หลวงพ่อปังกู) เป็นพระประธานที่ได้แกะสลักจากไม้ตะเคียนทอง โดยแกะสลักจำกหลวงพ่อยาน(ไม่ทราบฉายา) เป็นชาวกัมพูชา ที่มีคำถาอาคมที่แกร่งกล้ากับพระพาน(ไม่ทราบฉายา) ทราบเพียงนามสกุล เชยประโคน เป็นผู้ช่วยในการแกะสลัก หลวงพ่อตะเคียนทอง(หลวงพ่อปังกู) พระภิกษุทั้งสองท่านได้ลงมือแกะสลักตั้งแต่ปีพ.ศ. 2486 แกะสลักเสร็จในปีพ.ศ. 2488 ใช้เวลาในการแกะสลัก 2 ปี ที่บ้านหนองน้ำขุ่น ตำบลหนองบอนในปัจจุบัน แต่ก่อนเป็นเขตของตำบลปังกู ผู้นำและชาวบ้านได้นำหลวงพ่อตะเคียนทอง(หลวงพ่อปังกู) มาประดิษฐานที่วัดบ้านปังกูใน พ.ศ. 2488 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นพุทธบูชาสักการะแก่พระภิกษุสามเณร และศาสนิกชนทุกท่าน ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสและมีความศักดิ์สิทธิ์ อธิษฐานขอพรได้ดั่งใจปรารถนา จนทำให้พุทธศาสนิกชนทั่วสารทิศ เดินทางมากราบไหว้ขอพรไม่ขาดสาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2550 พันโท จักริน จิตคติ ผู้บังคับกองพันพร้อมด้วยข้าราชการทหารกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 23 ได้มากราบไหว้บูชาและเกิดความศรัทธาได้นำกฐินมาทอดถวาย และมาบูรณะอุโบสถให้มิดชิดและปลอดภัย จากนั้นท่านขออนุญาตเปลี่ยนนามใหม่จากหลวงพ่อตะเคียนทอง มาเป็นหลวงพ่อปังกู ให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน และให้อนุรักษ์ไว้เป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วสารทิศ ตลอดไป