ชื่อบทความ : ลงพื้นที่สำรวจชาวบ้านในชุมชนที่ทอผ้า หมู่ที่3 ตำบลแสลงโทน
ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน  อ.ประโคนชัย  จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางกองแก้ว คันธจันทร์


ในปัจจุบันคนไทยให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้านมากขึ้น หันมาบริโภคสินค้าไทย นิยมแต่งกายด้วยผ้าไทย ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าทอมือในโครงการส่งเสริมอาชีพงานศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ โดยเฉพาะผ้าทอมือของไทยมีเทคนิคการทอลวดลายที่มีความสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นต่างๆ มีเสน่ห์ในตัวเอง เป็นการสร้างสีสรรให้กับงานฝีมือของไทย เลือกซื้อหาได้ง่ายไม่น้อยไปกว่าผ้าทอในระบบอุตสาหกรรม

ผ้าทอมือ เป็นผ้าทอพื้นบ้านของไทยส่วนใหญ่จะใช้เส้นใยจากธรรมชาติทั้งฝ้ายและไหม ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวชื่นชมและหลงไหลเสน่ห์ผ้าทอมือของไทย ดังเห็นได้จากการแสดงแฟชั่นโชว์ ผ้าทอพื้นเมืองไทยในภาคต่างๆ การแสดงผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือภาคต่างๆ มีผู้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก โดยทั่วไป การทำผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือเป็นงานที่ใช้ฝีมือในการทำ เพราะส่วนใหญ่จะใช้เศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บเสื้อผ้า หรือผ้าที่เหลือจากการใช้ประโยชน์อื่นๆมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ เนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตสูงกว่าผ้าใยสังเคราะห์ แต่บางท้องถิ่น เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ผ้าฝ้ายทอมือเป็นที่นิยมทำผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้าน เช่น ผ้าฝ้ายทอมือเนื้อหนาไว้บุเก้าอี้ ผ้าไหมทอมือ นำมาทำเป็นผ้าม่าน หมอนจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ เป็นต้น

 

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ  รับผิดชอบตำบลแสลงโทน  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีโครงการเดิม  “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” ได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือ และเสื่อกก

ในวันที่ 11-12 เดือน กรกฎาคม 2565 ทางคณะปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่สำรวจชาวบ้านในชุมชนที่ทอเสื่อกกในชุมชนตำบลแสลงโทน กระผมได้รับหน้าที่ให้สำรวจในพื้นที่หมู่ที่ 3 และได้มีการพูดคุยกับ นางสอวย ทองประโคน อายุ 53 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลแสลงโทน โดยนางปริยาภัทร เล่าว่าได้มีการทอผ้ามากว่า 10 ปีและในสมัยก่อนการทอผ้าไม่ได้มีการพัฒนาลวดลายที่หลากหลายเหมือนเช่นปัจจุบัน

 

ในด้านการออกแบบ ลวดลายถือเป็นภาพ (Image) ประเภทหนึ่งที่ใช้ในการสื่อสาร ลวดลายผ้า
เป็นสิ่งที่โดดเด่นและมองเห็นได้ง่ายโดยใช้เพียงสายตาสัมผัส ลวดลายในฐานะที่เป็นภาพจึงสามารถชักจูง
หรือชี้นำจิตใจผู้คนให้ไปในทางสูงหรือต่ำได้ ลวดลายบนผืนผ้าจึงไม่ได้ประกอบไปด้วยเพียงความงาม แต่
ลวดลาย (ภาพ) มีภาษาและความหมาย อาทิ ลวดลายดอกบัวอาจให้ทั้งความรู้สึกอ่อนหวานพร้อมกับ
สามารถสื่อความหมายทางศาสนา ลวดลายเส้นแนวขวางหรือน้ำไหลให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนที่ บ่งบอกถึง
ความอุดมสมบูรณ์และการให้ความเคารพบูชาของมนุษย์ต่อธรรมชาติผู้หล่อเลี้ยง
นอกเหนือจากการสื่อความหมายในเชิงสัญลักษณ์และเล่าเรื่อง ลวดลายบนผืนผ้ายังสามารถทำ
หน้าที่เป็นสื่อในการสืบสานและบันทึกประวัติศาสตร์ อาทิ กรณีที่ผู้ออกแบบลวดลายผ้าได้ถอดแบบลาย
ออกมาจากสถาปัตยกรรมโบราณที่กำลังสูญหาย การบันทึกต่อยอดลวดลายสถาปัตยกรรมนั้นไว้บนผืนผ้าจึง
เป็นการสืบสานให้ภูมิปัญญาโบราณยังคงอยู่


วีดีโอประจำตำบล