ชื่อบทความ : อาชีพเสริมการทอเสื่อกกของชาวบ้านในชุมชน หมู่ที่4 ตำบลแสลงโทน
ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นายครอง อัมรารัมย์
การทอเสื่อมีมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม เมื่อว่างจากการทำเกษตรกรรม ก็จะมีการประกอบอาชีพเสริม วิธีการทอเสื่อ หรือในภาษาอีสานเรียกว่า การต่ำสาด เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและสร้างรายได้ บางครัวเรือนก็ทำเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว การทอเสื่อเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกก ต้นไหล หรือต้นผือ มาสอย(กรีดแบ่งให้เป็นเส้นบางๆ) ผึ่งแดดให้แห้งแล้วนำไปย้อมสีตามที่ต้องการ จากนั้นนำไปทอเป็นผืนๆเพื่อนำไปใช้งาน
ต้นกกมีลักษณะเหมือนหญ้า แต่กกจะมีลำต้นเป็นทรงสามเหลี่ยมหรือสามมุม ดอกจะมีลักษณะเป็นฝอยๆ ลำต้นจะไม่แตกกิ่งเหมือนพืชชนิดอื่น ต้นกกมักจะเกิดในที่ชื้นแฉะ ขึ้นตามหนอง บึง
การทอเสื่อหรือสาดของคนในชุมชนบ้านเมืองฝางส่วนมากแล้วชาวบ้านจะพากันไปถอนต้นกกหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าต้นผือมาจากคูคลองที่อยู่ใกล้ๆหมู่บ้านเพื่อนำมาทอเป็นเสื่อไว้ใช้หรือจำหน่ายในชุมชนบางท่านก็จะปลูกต้นกกเองในบริเวรบ้านซึ่งเป็นกกชนิดหนึ่งเรียกว่ากกไหล กกไหลปลูกง่ายในบริเวรบ้านไม่ต้องมีน้ำขังก็ได้ กกไหลมีลำต้นเรียวกลมเล็กๆเมื่อเอามาตากแดดแห้งแล้วก็สามารถนำมาตัดแต่งทอเสื่อได้เลยแต่ถ้าเป็นกกผือลำต้นจะเป็นเหลี่ยมก่อนนำมาทอต้องเอามาผ่าซีกตามความยาวก่อนจึงจะเอามาทอเสื่อได้ เริ่มจากการไปถอนต้นกกหรือต้นผือมาทำความสะอาดตากแดดให้แห้งแล้วจึงนำกกไปย้อมสีตามความต้องการเพื่อให้เสื่อออกมามีสีสรรค์สวยงามน่าใช้และยังเพิ่มราคาสินค้าได้อีกด้วย ขั้นตอนการทอเสื่อนำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืมนำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอด เพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อเมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกันเมื่อเสร็จเป็นผืนแล้วตัดขอบเสื่อกกให้เท่ากันเสื่อที่ทอออกมาก็จะได้เป็นลายเส้นเล็กๆสวยงามสามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายได้ตามความต้องการ
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ รับผิดชอบตำบลแสลงโทน อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีโครงการเดิม “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” ได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือ และเสื่อกก
ในวันที่ 11-12 เดือน กรกฎาคม 2565 ทางคณะปฏิบัติงานได้มีการลงพื้นที่สำรวจชาวบ้านในชุมชนที่ทอเสื่อกกในชุมชนตำบลแสลงโทน กระผมได้รับหน้าที่ให้สำรวจในพื้นที่หมู่ที่ 3 และได้มีการพูดคุยกับ นาง บุญนาว เกาประโคน อายุ 66 ปี ชาวบ้านหมู่ที่ 4 ตำบลแสลงโทน โดยนางบุญนาว เล่าว่าได้มีการทอเสื่อกกมากว่า 10 ปีและในสมัยก่อนการทอเสื่อไม่ได้มีการพัฒนาลวดลายที่หลากหลายเหมือนเช่นปัจจุบัน
พร้อมยอมรับว่า สิ่งที่ต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐคือการให้แนวทางในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในแบบต่างๆ เช่น ที่รองจาน รองแก้ว และกระเป๋า เป็นต้น เพื่อให้ชาวบ้านนำไปเป็นแนวทางสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้ง การเข้ามาสนับสนุนเรื่องการรวมกลุ่ม การหาตลาด และการบริหารจัดการในด้านอื่นๆ ให้เป็นรูปธรรม เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มีอาชีพที่ทำได้ในชุมชน
อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มีตลาดวางขายที่แน่นอน หากลูกค้าที่ชื่นชอบสินค้าทำมืออย่างเสื่อทอลายขิดก็สามารถเลือกซื้อหากับชาวบ้านได้โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งในทุกหมู่บ้าน ทอเสื่อเป็นวิถีชีวิตสามารถไปเลือกชมซื้อหาได้ ในอนาคตหากหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจังตลาดเสื่อลายขิดยังไปได้อีกไกล
วีดีโอประจำตำบล