บทความประจำเดือนกรกฎาคม

“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”

             ข้าพเจ้านางสาวศิริขวัญ ทรงงาม ประเภทบัณฑิตจบใหม่ หลักสูตร ID11-1 : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

             โครงการ U2T for BCG คือ

“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยจะเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน ที่ต้องการร่วมงานเป็นทีมเดียวกับ อว. ซึ่งจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

               วัตถุประสงค์โครงการ U2T BCG

โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ  รับผิดชอบโดยตำบลจรเข้มาก  อำเภอประโคนชัย  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีโครงการเดิม  “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์  2  กลุ่ม  ดังนี้

               1.ผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าไหม การทอผ้าไหมเป็นอาชีพที่มีในชุมชนเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมายาวนาน จากบรรพบุรุษ การทำ u2t เฟสแรก เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนพัฒนาลวดลายผ้าไหมใหม่และใช้กระบวนการย้อมสีจากธรรมชาติ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมลายใหม่ขึ้นมา สำหรับในเฟสที่ 2 จึงมีแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าจากผ้าไหมโดยการแปรรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์ของใช้หรือของฝากเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม โดยหาแนวคิดในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ทันต่อยุคปัจจุบัน และความต้องการของลูกค้า

 

                2.ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟ เนื่องจากตำบลจระเข้มาก อยู่ในพื้นที่เขตภูเขาไฟ ดินในพื้นที่ เหมาะแก่การปลูกข้าวหอมมะลิ ทำให้ข้าวหอมมะลิของที่นี่มีกลิ่นหอม นุ่ม และรสชาติดี ส่วนใหญ่คนในชุมชนจะแปรรูปข้าวโดยการสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารบรรจุถุงเพื่อขาย ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว สหกรณ์การเกษตรฯ และหน่วนงานราชการในพื้นที่ ดังนั้นจึงควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้สามารถเป็นของฝากหรือของที่ระลึกเพื่อสร้างรายได้ในชุมชน และสามารถนำมาเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเกิดจากฝีมือของคนในชุมชน และทำจากวัสดุที่มีในชุมชนเป็นหลัก

 

                   ปัญหาที่พบ เนื่องจากชาวบ้านในชุมชนยังขาดการทำการตลาดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ในรูปแบบ ออนไลน์ ดังนั้นจึงควรนำความรู้เรื่องการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ชุมชน โดยใช้หลักการแปรรูปผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า รวมทั้งส่งเสริมรูปแบบการขายผ่านตลาดออนไลน์และออฟไลน์เพื่อสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้กับคนในชุมชน