คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ID14-1 - ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย

ID14-1 จัดเตรียมสถานที่ย้อมสีเสื่อกกและย้อมสีผ้าฝ้าย ให้กับชาวบ้านตำบลแสลงโทน

ผู้เขียนบทความ

ผู้เขียนบทความ

ชื่อบทความ : จัดเตรียมสถานที่ย้อมสีเสื่อกกและย้อมสีผ้าฝ้าย ให้กับชาวบ้านตำบลแสลงโทน
ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน  อ.ประโคนชัย  จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นายอัครพล กันรัมย์


โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ  รับผิดชอบตำบลแสลงโทน  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีโครงการเดิม  “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” ได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวการพัฒนาลวดลายผ้าทอมือ และเสื่อกก

จากการทำงานในเดือนกรกฎาคมทางคณะผู้ปฏิบัติงานจึงได้มีการจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ในการย้อมสีเสื่อกกและย้อมสีผ้าฝ้าย ให้กับชาวบ้านตำบลแสลงโทน เพื่อจะนำมาทอและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนในลำดับต่อไป

ขั้นเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์การย้อมสีเสื่อกก
1. ตัดหรือเก็บเกี่ยวต้นกกจากแหล่งธรรมชาติ ห้วย หนอง คลองบึงในท้องถิ่นนำต้นกกมาแยก  และเลือกกกที่มีขนาดเท่ากัน


2. นำต้นกกที่คัดเลือกได้ขนาดที่ต้องการแล้ว มาสอยเป็นสอง หรือ สามส่วนตามขนาดลำต้นของต้นกก  ถ้าเส้นเล็กผืนเสื่อกกจะทอได้ละเอียดและแน่นหนา
3. นำเส้นกกที่สอยเสร็จแล้วมาผึ่งแดดให้แห้ง ประมาณ 4 – 5  วัน   นำเส้นกกที่ผึ่งแดดจนแห้งมามัดเป็นกำ ๆ ประมาณ 1 กำมือ เพื่อเตรียมนำไปย้อมสีตามต้องการ


4.เลือกซื้อสีที่ต้องการ (สีเคมี มีขายตามร้านค้า)ออกแบบลายตามแบบที่ต้องการก่อไฟ นำปีบที่ใส่น้ำ ประมาณ ครึ่ง ปีบ ต้นน้ำจนเดือด
5. นำสีที่ต้องการมาเทลงประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้สีละลาย นำเส้นกกที่มัดไว้ มัดละ 1 กำมือ ลงไปย้อมโดยใช้เวลาประมาณ 30–40 นาที การย้อมสีหลายสีควรใช้ปีบคนละใบ เนื่องจากสีจะปนกันนำเส้นกกที่ย้อมแล้วมาล้างน้ำเปล่าแล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง

ขั้นเตรียมวัสดุ และอุปกรณ์การย้อมสีผ้าฝ้าย
1. หม้อย้อมควรใช้หม้อสแตนเลส หม้อเคลือบ หรือกระทะใบบัว ไม่ควรใช้หม้ออะลูมิเนียม และควรเลือกขนาดหม้อให้เหมาะสมกับการย้อมผ้า หรือเส้นด้าย


2. ไม้กวนผ้า โดยไม้ควรมีขนาดใหญ่พอที่จะรับน้ำหนักเส้นด้ายเส้นเปียกในหม้อย้อมได้
3. ห่วงที่ทำจากสแตนเลส หรือท่อพลาสติกอ่อน ไว้สำหรับแขวน หรือคล้องเส้นไหม/เส้นฝ้าย
4. ถุงมือยาง เทอร์โมมิเตอร์ เขียง มีด ครก (สำหรับตำครั่ง) ราว (สำหรับตาก)
5. กะละมัง หรือถังพลาสติก สำหรับล้างผ้า หรือเส้นด้ายก่อนย้อมและหลังย้อม
6. เตาไฟจะเป็นเตาฟืน หรือเตาแก๊สก็ได้
7. พืชที่ให้สีและสามารถนำมาผลิตสีเพื่อการย้อมนี้ มีได้ตั้งแต่ต้นหญ้าไปจนถึงต้นไม้ขนาดใหญ่และทุกส่วนของพืช ได้แก่ ใบ ดอก ผล ลำต้น เปลือก แก่น ราก หัวหรือเหง้าในดิน ซึ่งแต่ละชนิด แต่ละส่วนของพืชจะให้สีสันที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับความอ่อน แก่ สด แห้ง ช่วงเวลา เดือน และฤดูกาลที่เก็บด้วย พืชที่ให้สีติดเส้นฝ้ายดีนั้นมักเป็นพืชที่ให้รสฝาด เพราะความฝาดจะมีฤทธิ์เป็นด่าง ข้อสังเกตง่ายๆ ของพืชที่ให้รสฝาด คือ ใบหรือดอกที่ถูกขยี้จะมียางติดมือ ถ้าเป็นผลหรือเปลือก หากใช้มีดขูดจะมียางออกมา ซึ่งเมื่อถูกกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล


วีดีโอประจำตำบล

 

แชร์บทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง