บทความประจำเดือน สิงหาคม 2565

กลุ่ม ID19-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล TCD ณ บ้านหนองไม้งามเก่า หมู่ที่ 2

ตำบลหนองไม้งาม อำเภอบ้านกรวด

จังหวัดบุรีรัมย์

ดิฉัน นางสาวจิราภรณ์ แจ่มใส ประเภท ประชาชน ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 15 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองไม้งามใหม่ หมู่ที่ 1 , บ้านหนองไม้งามเก่า หมู่ที่ 2 , บ้านหนองตะลุมพุก หมู่ที่ 3 , บ้านหนองไม้งามเก่าเหนือ หมู่ที่ 4 , บ้านโคกวัด หมู่ที่ 5 , บ้านสายตรี 9 หมู่ที่ 6 , บ้านหนองตะลุมพุก 2 หมู่ที่ 7 , บ้านสายตรี 16 หมู่ที่ 8 , บ้านหนองไม้งามใหม่ 2 หมู่ที่ 9 , บ้านงามเจริญพัฒนา  หมู่ที่ 10 , บ้านสายตรี 10 หมู่ที่ 11, บ้านสายตรี 16 พัฒนา 2 หมู่ที่ 12 , บ้านงามสะอาด หมู่ที่ 13 , บ้านงามใต้สามัคคี หมู่ที่ 14 และบ้านหนองตะลุมพุก 3 หมู่ที่ 15 ของตำบลหนองไม้งาม อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม C-03 แผนพัฒนาสินค้าและบริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่ พื้นที่รับผิดชอบ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายได้ต่อปีในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่าย วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายการพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีที่นำมาพัฒนา ระยะเวลาที่ใช้ งบประมาณที่ใช้ แบบฟอร์ม C-04 ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ ชื่อสินค้า/บริการความก้าวหน้า กิจกรรม สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ ปัญหา/อุปสรรค

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID19-2

กิจกรรมและแผนการดำเนินงานของโครงการ ID19-2

วันที่ 26-28 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตร พร้อมเจ้าหน้าที่ U2T ตำบลหนองไม้งามลงพื้นที่พบกลุ่มผู้ปลูกดอกดาวเรือง เพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการของกลุ่มและแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับราคาสินค้าในชุมชน

วันที่ 1-3 สิงหาคม 2565  เจ้าหน้าที่ U2T ตำบลหนองไม้งามลงพื้นที่ปฏิบัติงานติตามผลการดำเนินงานและความคืบหน้าในชุมชนเพื่อให้งานบรรลุตามจุดประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้

วันที่ 5 สิงหาคม 2565 ทีมงาน ID19-2 ตำบลหนองไม้งามและอาจารย์ประจำหลักสูตรประชุมออนไลน์ชี้แจงงานเกี่ยวกับกรอกข้อมูล C-03 และ C-04 ลงในระบบให้ถูกต้องภายในวันเวลาที่กำหนดพร้อมทั้งชี้แจงเกี่ยวกับการกรอกข้อมูล TCD ลงระบบของส่วนกลาง

วันที่ 9-11 สิงหาคม 2565 กลุ่ม ID19-2 ทีมงานปฎิบัติงานเริ่มดำเนินการลงพื้นที่ปฏิบัติงานเก็บข้อมูล TCD ในพื้นที่ซึ่งดิฉันได้รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน ประกอบไปด้วยบ้านหนองไม้งามเก่า หมู่ที่ 2  , บ้านงามเจริญพัฒนา  หมู่ที่ 10  , บ้านงามสะอาด หมู่ที่ 13  ของตำบลหนองไม้งาม อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งดิฉันได้เก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่นครบตามที่ส่วนกลางกำหนดแล้ว

วันที่ 15-18 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่ U2T ตำบลหนองไม้งามกรอกข้อมูล C-03 และ C-04 ได้กรอกตามกำหนดและผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และสรุปผลกับทางทีมงานอาจารย์ประจำหลักสูตร ร่วมกับทีมงานคนอื่น ๆ ต่อไปในช่วงปลายเดือนสิงหาคม

ในส่วนของการพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิดและหลักเศรษฐกิจ BCG ด้านการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ด้านโมเดลธุรกิจ (Business Model Canvas) ด้านเร่งการเติบโต (Growth Hacking) ดิฉันได้ทำการพัฒนาทักษะครบ 100% และได้ทำการศึกษา Presentation-Tips เพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์กำหนดครบ 100%

บทบาทและหน้าที่

เป็นผู้ประสานงาน และการทำสื่อประชาสัมธ์ของตำบลหนองไม้งาม

ประสานงานระหว่างคนในชุมชนกับอาจารย์ในการลงพื้นที่ จัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าในชุมชน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการลงพื้นที่ของทั้ง 15 หมู่บ้าน

ผลจากการลงเก็บข้อมูลในแต่ละชุมชนพบว่า ชาวบ้านในแต่ละชุมชนมีอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำไร่อาชีพเสริม คือ การรับจ้างตัดดอกดาวเรือง ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วดอกดาวเรืองสามารถนำมาสร้างเป็น OTOP ที่สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชนได้ เช่น ชาดอกดาวเรืองและน้ำมันดอกดาวเรือง แต่อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า กลุ่มที่เราต้องการพัฒนายังคงประสบปัญหาในด้านการจัดจำหน่ายสินค้ายังไม่มีช่องทางในการจัดจำหน่าย สินค้าบริการยังเป็นแบบเดิมยังไม่มีการพัฒนาให้มีความหลากหลายและน่าสนใจ

ผลจาการสำรวจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19

ผลจากการเก็บข้อมูล C-03 และ C-04 ในเดือนสิงหาคม พบว่า ชาวบ้านในชุมชนทุกชุมชนทราบข่าวเกี่ยวกับโรคที่กำลังระบาด ที่เข้ามาในตำบลหนองไม้งามซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากชลบุรี ทำให้มีกลุ่มเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่ต้องเฝ้าระวัง ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนตื่นตัวมากขึ้นและมีความตระหนักมากขึ้นถึงการป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี ว่าควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อต้องไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง เช่น การเว้นระยะห่าง การล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ การสวมหน้ากากอนามัย และการใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านหนองสระและบ้านบ่อดินส่วนใหญ่มีความระวังตัวมากขึ้นเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง ทาง อสม. และผู้ใหญ่บ้านมีการคัดกรองก่อนเข้าหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มคนที่มาจากต่างจังหวัด แต่อย่างไรก็ตามโรคโควิด-19 สามารถรักษาเองได้ที่บ้านแล้วอาจจะไม่น่ากลัวหรืออันตรายเท่าเมื่อก่อนแต่คนในพื้นที่ต้องป้องกันตามระเบียบโควิด-19 ที่ทางกรมควบคุมโรคกำหนดอย่างเคร่งคัด

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในช่วงแรก ๆ พบปัญหาประชาชนในพื้นที่ไม่อยู่ที่บ้านหรือในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่จะออกไปทำงานนอกพื้นที่ และมีพายุฝนฟ้าคะนองเป็นบางวันทำให้เก็บข้อมูลไม่ได้ครบตามกำหนด โดยทางทีมงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดย ประสานไปยังผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายและเช็คสภาพอากาศก่อนการลงพื้นที่ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งจะทำให้ทีมงานสามารถเก็บข้อมูลได้ครบทุกครัวเรือนตามเป้าหมายตั้งไว้

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.ได้ทราบถึงกระบวนการทำงานเป็นทีม

2.ได้ทราบถึงความต้องการของคนในชุมชน

3.ได้ทราบถึงอาชีพในชุมชน

4.ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

5.ได้ทราบถึงขึ้นตอนการติดต่อประสานงานกับหน่ายงานรัฐได้อย่างถูกต้อง

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ทีม ID19-2 มีแผนการดำเนินงานในเดือน กันยายน 2565 โดยทำการลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19