เนื่องจากในวันที่ 4 เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาผมมีอาการหนาวสั่นในตอนกลางคืน ต่อมาพบว่าติดเชื้อโควิด 19 ผมจึงอยากจะแนะนำแนวทางการรักษา
ติดโควิดควรทำอย่างไรวันนี้มีคำตอบ ?
อาการโควิด ติดโควิด 19 สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง ?
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 2019 และกระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งอาการโควิดแต่ละสายพันธุ์ยังมีระยะแสดงอาการให้เฝ้าระวังแตกต่างกันไปอีกด้วย โดยเฉพาะสายพันธุ์อินเดีย ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่เริ่มมีการติดเชื้อในไทยนั้นยิ่งต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีการแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษหลายเท่า หากใครที่กำลังกังวลว่าเราติดโควิดหรือยัง ? โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงโดยไม่รู้ตัว และถึงแม้ไม่มีความเสี่ยงก็สามารถสังเกตอาการผิดปกติได้เช่นกัน จะมีอาการอะไรที่เราต้องเฝ้าระวังนอกเหนือจากที่เคยรู้อีกบ้าง ลองมาดูกัน
1.มีอาการไข้
อาการติดโควิด19 มีอาการไข้ หรือผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป ยังเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้จากเชื้อโควิดหลายๆ สายพันธุ์ โดยจะเริ่มมีอาการไข้ขึ้นสูงชัดเจนไปถึง 38.5-39 องศาเซลเซียส ได้ เมื่อเข้าสู่วันที่ 3-4 หลังได้รับเชื้อโควิด
2.ไอแห้ง
อาการโควิด19 ทีอาการไอแห้งลักษณะการไอที่ไม่มีน้ำลาย ไม่มีเสมหะ หรือความรู้สึกคัน ระคายคอ จนทำให้มีอาการเสียงแหบร่วมด้วยได้ในบางครั้ง เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของอาการโควิดที่พบได้มากรองลงมาจากอาการไข้
3.จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
เมื่อติดเชื้อโควิด19 ผู้ป่วยจะมีอาการโควิดคือจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ผู้ป่วยโควิดจะสูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นไป 68% ความสามารถในการรับรสลดลง 71% ซึ่งแตกต่างกับโรคไข้ชนิดอื่นๆ ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ถึง 17%
4.หายใจลำบาก
อาการโควิด19 หายใจลำบาก อ่อนเพลีย หนึ่งในอาการที่คล้ายไข้หวัดทั่วไป แต่อาจมีจังหวะการหายใจที่เร็วขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากการระบาดในครั้งแรกๆ ที่ผู้ป่วยจะเริ่มหายใจติดขัด หรือรู้สึกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจในช่วงสัปดาห์ที่สอง
5.ตาแดง ผื่นขึ้น
ตาแดง ผื่นขึ้น คืออาการโควิดล่าสุดที่ถูกพูดถึงกันมากขึ้น หรือที่เรียกกันว่าอาการผื่นโควิด เช่น ผื่นแดงคล้ายตาข่าย ผื่นเป็นจุดเลือด ผื่นบวมแดงคล้ายลมพิษ และตุ่มน้ำใส ซึ่งสัมพันธ์กับอาการมีไข้ ไอ จาม และปัญหาเรื่องระบบการหายใจ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตาแดงร่วมด้วย
- หายใจลำบากหรือหายใจถี่
- เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
- สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว
แนวทางการรักษา
การรักษาโควิด 19 แบ่งกลุ่มตามอาการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1. ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ไม่มีอาการ
- แนะนำให้นอนโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และให้จำหน่ายจากโรงพยาบาลได้
- หากมีอาการปรากฏขึ้นมาให้ตรวจวินิจฉัยและรักษาตามสาเหตุ
- ให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เองและอาจได้รับผลข้างเคียงจากยา
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ
- ให้ดูแลรักษาตามอาการ ส่วนมากหายได้เอง
- แนะนำให้นอนโรงพยาบาล หรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการ หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น ไม่มีไข้หรือไม่มีอาการอื่น ๆ ของโรคแล้วอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง พิจารณาจำหน่ายผู้ป่วยได้
- พิจารณาให้ฟาวิพิราเวีร์ (ตามดุลยพินิจของแพทย์)
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อยซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4
- ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ได้แก่อายุ >60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่ก าเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก.)
- ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำและ lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม.
- แนะนำให้นอนโรงพยาบาล อย่างน้อย 14 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น
- แนะนำให้ฟาวิพิราเวียร์ ระยะเวลา 5 ถึง 10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิกตามความเหมาะสม หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
- กรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง คือ มี progression of infiltrates หรือค่า room air SpO2 ≤96% หรือพบว่ามี SpO2 ขณะออกแรงลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรก (exercise-induced hypoxia) อาจพิจารณาให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ ร่วมกับ ฟาวิพิราเวียร์
4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมที่มี hypoxia (resting O2 saturation <96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exercise-induced hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates
- แนะนำให้ฟาวิพิราเวียร์ เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก
- อาจพิจารณาให้ โลปินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ 5-10 วัน ร่วมด้วย (ตามดุลยพินิจของแพทย์)
- แนะนำให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์
มาตรการป้องกันการติดเชื้อไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ หรือประชาชนคนใดคนนึง แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงกระทำร่วมกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อทั้งต่อตัวเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และสังคม