ข้าพเจ้า นางสาวขนิษฐา ดิบประโคน  ประเภทบัณฑิต ตำบลสายตะกู โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)

ข้าพเจ้ามีความสนใจจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมา เรื่องการทำดอกไม้จันทน์ พวงหรีด จากใบยางพารา ซึ่งเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่ทำจากยางพารา แล้วยังเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ตำบลสายตะกูได้ ส่วนใหญ่อาชีพทำสวนยางพารา อาจารย์ผู้ดูแลตำบลสายตะกู รองศาสตราจารย์สมบัติ ประจญศานต์ อาจารย์ประภาพันธ์ ศิริขันธ์แสง ลงอาจารย์ผู้ดูแลตำบลสายตะกู และทีมผู้ปฏิบัติงาน U2T จากโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG. มหาวิทยาราชภัฏบุรีรัมย์   จึงมองว่าใบยางพาราสามารถนำมาทำอะไรได้บ้างเพื่อให้เกิดรายได้ เพราะในแต่ละปีร่วงทับถมดินเป็นจำนวนมาก จึงได้คิดที่จะนำใบยางพารามาประดิษฐ์ดอกไม้เพื่อให้ใบยางมีราคา จึงได้มีการจัดอบรมการทำดอกไม้จันทน์ พวงหรีด ขึ้นมาเพื่อให้คนในแต่ละหมู่ได้มีองค์ความรู้ในการทำดอกไม้จันทน์ พวงหรีดนี้ โดยมีขั้นตอนการทำ ดังนี้

ขั้นตอนการเตรียมใบยาง
ใบยางพาราที่นำมาใช้ ควรมีหลายขนาด ซึ่งขนาดของใบจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์และอายุของต้นยาง
ใบยางที่นำมาใช้ประดิษฐ์ดอกไม้ ต้องทำให้เนื้อยุ่ยเหลือแต่เส้นใยของใบก่อน การทำให้เนื้อเยื่อของใบยุ่ย

 

มี 2 วิธี คือ  1.) แช่ด้วยน้ำธรรมดา และ 2.) ต้มด้วยน้ำสบู่

วิธีแช่ด้วยน้ำธรรมดา
1.) นำใบยางสดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป (อายุประมาณ  2-3 เดือน) แช่น้ำสะอาด ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน (การแช่ใบยางควรเปลี่ยนน้ำบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้เหม็นเน่า) ควรแช่ใบยางให้จมน้ำแล้วหมั่นพลิกกลับเพื่อให้ใบยางเปื่อยได้ทั่วถึง

2.) ใบยางที่แช่น้ำไว้ครบกำหนดแล้ว เนื้อใบจะเปื่อยและหลุดง่าย จากนั้นนำไปแปรงด้วยแปรงสีฟัน ถ้างเอาเนื้อใบที่เปื่อยออกให้สะอาด คงเหลือแต่เยื่อใบ

3.) นำเยื่อใบยางที่ล้างสะอาดแล้วไปผึ่งให้พอหมาดๆ แล้วนำไปแช่ในน้ำยาฟอกขาว (ไฮเตอร์)  แช่ทิ้งไว้ประมาณ  2-3 ชั่วโมง จากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสะอาด ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม

วิธีต้มด้วยน้ำสบู่
1.) นำใบยางสดที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป (อายุประมาณ 2-3 เดือน) ต้มกับน้ำสบู่ที่ทำมาจากไขมันและด่าง (สบู่ซันไลต์หรือสบู่กรด) ต้มนานประมาณ 3-4 ชั่วโมง จนเนื้อใบเปื่อย
2.) ใช้แปรงสีฟันแปรงเอาเนื้อใบออกให้สะอาด ล้างด้วยน้ำผงซักฟอก จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
3.) นำเยื่อโบยางที่ล้างสะอาดแล้วไปผึ่งให้พอหมาดๆ แล้วนำไปแช่ในน้ำยาฟอกขาว (ไฮเตอร์) แช่ทิ้งไว้ประมาณ  2-3 ชั่วโมง จากนั้นให้ล้างด้วยน้ำสะอาด ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม
การฟอกใบยาง 2 วิธีนี้ มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน วิธีแช่น้ำมีข้อดีคือไม่เสียค่าใช้จ่าย (เช่น ค่าเชื้อเพลิง) ทั้งเส้นใยแข็งแรง แต่ข้อเสียคือต้องใช้เวลานาน วิธีต้มมีข้อดีคือใช้เวลาน้อย แต่ข้อเสียคือมีคำใช้จ่าย (เช่นค่าเชื้อเพลิงและค่าสบู่กรด) ถ้าต้มนานเกินไป เส้นกลางใบจะเปื่อย เส้นใยไม่แข็งแรง

 ขั้นตอนการย้อมสี

1. ใส่สีที่ต้องการย้อมลงในภาชนะ เติมน้ำอุ่นแล้วคนจนสีละลาย ทั่วกันดี
2. ถ้าต้องการย้อมสีเดียวก็นำใบยางชุบน้ำพอเปียกหมาดๆ ชุบลงในสีที่ต้องการย้อมให้ทั่ว แต่ถ้าต้องการย้อมสองสี
ในใบเดียวกัน ให้ย้อมสีที่หนึ่งก่อนให้ทั่วใบ แล้วชุบส่วนปลายและขอบใบลงในสีที่สองตามความต้องการ                                                            3.จากนั้นให้นำไปผึ่งให้แห้งในที่ร่ม ลักษณะการผึ่งให้สีหยดไปทางด้านปลายใบ (คล้ายการตากผ้า) การผึ่งลักษณะนี้ จะทำให้สีดูกลมกลื่นและสวยงามเป็นธรรมชาติ

 

สรุป

ใบยางพาราที่หล่นกองอยู่ทั่วไปตามสวนยางพารา ก็สามารถนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ช่วยให้ลดมลภาวะในการเผาทิ้งโดยสูญเปล่า และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับธรรมชาติใบยางพารานำมาประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสวยงาม มีคุณค่ามากมาย นำมาเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เป็นการสร้างอาชีพใหม่เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนที่ประกอบอาชีพสุจริตช่วยเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัว ตลอดถึงชุมชนตนเองและชุมชนรอบข้าง