ข้าพเจ้า นางสาวอภิษฏาพัศศ์ กล้วยสุข ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) U2T of BCG ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงาน
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ บ้านหลัก ตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ข้าพเจ้าและทีมงาน ได้ติดต่อกับนายภวย อวงประโคน เพื่อให้ท่านได้เล่าวิธีการเผาถ่านของท่านให้ฟัง เนื่องจากทางทีมของเราจะสร้างผลิตภัณฑ์แชมพูออร์แกนิคเพื่อสัตว์เลี้ยง สูตรชาโคล จึงอยากทราบวิธีการเผาถ่านเพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ของเรา ก่อนที่ท่านจะมาทำการเผาถ่าน ท่านมีเวลาว่างจากการทำสวนทำไร่ จึงเกิดความคิดที่จะทำการเผาถ่าน ท่านได้ลงมือทำ ซึ่งทำให้เกิดรายได้ภายในครัวเรือน
ความรู้พื้นฐานในเรื่องการเผาถ่าน
เมื่อไม่ได้รับความร้อนจนกระทั่งมีอุณหภูมิสูงถึง 300?C จะลุกไหม้จนเกิดก๊าซ เกิดถ่าน ซึ่งถ้าเป็นการเผาไหม้ในอากาศเปิด การเผาไหม้จะดำเนินไปจนถึงที่สุด กล่าวคือ จนกระทั่งเหลือแต่ขี้เถ้า แต่ถ้าถูกเผาในสภาพอากาศปิดหรือจำกัดอากาศ ไม้จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นถ่าน ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นที่จะอธิบายได้ง่าย ๆ ว่าไม้เป็นถ่านได้อย่างไร
ส่วนในข้อที่เกี่ยวข้องและผลกับการจะเผาถ่านให้ได้ถ่านที่ดี คือ การให้ความร้อนสูง ร้อนนาน ถ่านไม้กรอบแตกง่ายนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับไม้ที่เป็นวัตถุดิบในการเผาถ่านแล้วยังขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเตาเผาถ่าน วิธีดำเนินการเผาถ่าน และทักษะความสามารถในการเผาถ่าน ดังต่อไปนี้
การสร้างเตาเผาถ่าน
1.ควรจะเป็นรูปไข่ ซึ่งจะมีผลช่วยให้การกระจายความร้อนเป็นไปได้ดีทั่วกัน
2.ที่ตั้งของเตาเผาถ่าน ไม่ควรอยู่กลางแจ้ง ตากแดดตากฝนตำแหน่งที่ใช้เป็นที่จุดไฟหน้าเตา ควรจะอยู่ต่ำกว่าพื้นเตา
3.ปล่องควันไฟในตอนล่าง ควรมีขนาดใหญ่กว่าตอนบนเพื่อป้องกันลมเข้าทางปล่องควันเตาสามารถได้รับการออกแบบให้สามารถควบคุม จำกัดปริมาณของอากาศภายในเตาได้ดี
เตาเผาถ่านแบบถังแดง
1.ถังน้ำมัน 200 ลิตร
2.ท่อใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว / ยาว 1 เมตร
3.สามทางปูน หรือใยหิน
4.อิฐมอญ 12 ก้อน
5.ดินหรือดินเหนียว ? คิว
6.ทราย ? คิว
7.ขี้เถ้าหรือปูนซีเมนต์ 1 กก.
8.ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม้น้อยกว่า 3 นิ้ว ยาว 5 เมตร เจาะรู
9.กรวยรองน้ำฝน
10.ไม้หรือเศษวัสดุที่ใช้ป้องกันดินพัง
11.ดินหรือดินเหนียวผสมกับขี้แกลบ เพื่อใช้เป็นวัสดุเชื่อมข้อต่อ อุดรอยรั่วและปิดหน้าเตาเมื่อถ่านสุก
การเผาถ่าน
การเผาถ่านโดยใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร เป็นวิธีการเผาที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่ง และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ การเผาถ่านในแบบถังแดงในแต่ละครั้งจะได้ถ่านประมาณ 15 กก. และเก็บน้ำควันไม้ได้ถึง 5 ลิตร การติดตั้งสามารถทำได้ดังนี้
1.ตัดฝาถังด้านบน เพื่อใช้เป็นส่วนของฝาเตาที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อนำไม้เข้าในเตาและนำถ่านออกมาจากเตา
2.เจาะรูในส่วนที่เป็นฝาถัง ขนาดประมาณ 20×25 cm. เพื่อทำหน้าที่เป็นปากเตา ใช้สำหรับปล่อยให้อากาศเข้า และเจาะรูด้านก้นถังใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. เพื่อที่จะสามารถติดตั้งสามทางปูนขนาด 4 นิ้ว ซึ่งจะใช้ต่อกับท่อใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร
3.ขุดหลุมลึกขนาด 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง เพื่อติดตั้งถังลงในหลุมตามแนวนอนและติดตั้งปล่องควัน และกลบตัวถังด้วยดินหรือทรายเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน
4.ตัดไม้ที่จะใช้เผาถ่าน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. บรรจุใส่ถังในแนวนอนตามยาวของถังไม้ที่มีขนาดใหญ่ก็ควรจะผ่าเสียก่อน
5.ปิดฝาถังให้แน่นหนาอุดรอยต่าง ๆ ด้วยดินเหนียวไม่ให้เป็นช่องทางให้อากาศเข้าได้ นอกจากทางปากเตา
6.จุดไฟที่ปากเตาเพื่อเริ่มต้นเผาถ่าน ระมัดระวังตำแหน่งของกองไฟหน้าเตาไม่ให้เข้าใกล้เตาจนเกินไป ตำแหน่งที่เหมาะสมคือประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้ไอร้อนเท่านั้นที่ไหลเข้าไปในเตา
7.ดักเก็บน้ำส้มควันไม้ทางปล่องที่ควันออก โดยสังเกตจากสีของควัน
8.ควันที่เกิดจากการเผาถ่าน จะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่
– ควันสีขาว จะเป็นช่วงการระเหยของไอน้ำจากภายในเนื้อไม้
– อุณหภูมิที่ปากปล่องช่วงนี้อยู่ระหว่าง 82 – 120 องศาเซลเซียส แต่การดักเก็บน้ำส้มควันไม้
– กำหนดให้เก็บในช่วงอุณหภูมิ 82 –120 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยจากสารทาร์ (Tar)
9.เมื่อเวลาถ่านสุกให้สังเกตว่าไม่มีควัน ออกมาจากปากปล่องอีก ให้ทำการอุดปากเตาและปากปล่องด้วยดินเหนียวรวมทั้งรอยรั่วอื่น ๆ จนควันไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้โดยเด็ดขาด
10.ทิ้งเตาไว้ 1 คืน เตาจะเย็นลงจนสามารถเปิดเตานำถ่านออกมาได้ในเช้าของวันถัดไป
11.ปกติการเผาถ่านด้วยเตาถังแดงนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง
การจุดไฟหน้าเตา
– ก่อไฟหน้าเตาเพื่อให้ไอร้อนไหลเวียนเข้าไปในเตาซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการอบไในเตาให้แห้ง
– เพื่อให้ไม้ในเตาถูกอบให้แห้งอย่างทั่วถึง พร้อมเพรียงกันการให้ความร้อนจากหน้าเตาจึงควรค่อยเป็นค่อนไป ไม่เร่งรัดโหมไฟจนเกินไป
– ช่วงจุดไฟหน้าเตานี้ควรจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง สังเกตควันที่ปากปล่องจะมีสีขาว เนื่องจากเป็นการระเหยของความชื้นจากเนื้อไม้มาเป็นไอน้ำ
การควบคุมเตา
– เมื่อไม้ภายในเตาเริ่มลุกไหม้ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ไม้กลายเป็นถ่าน ควรหยุดเติมไฟจากภายนอก ลดช่องอากาศที่เข้าทางหน้าเตาให้เล็กลง ปล่อยให้เตาเผาไหม้ต่อไปด้วยความร้อนจากภายในเตาเท่านั้น
– ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 วัน สังเกตดูจะเห็นว่าควันที่ปากปล่องเป็นสีเหลืองเป็นช่วงที่น้ำส้มควันไม้จะระเหยออกมาเหมาะสมที่จะดักเก็บน้ำส้มควันไม้ ถ้าอุณหภูมิที่ปากปล่องอยู่ราว ๆ 82 องศาเซลเซียส
การปิดเตา
– เมื่อถ่านเริ่มสุก ควันที่ปากปล่องจะเปลี่ยนสีอีกครั้งที่ไม้กำลังกลายเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์ อุณหภูมิที่ปากปล่องจะสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส
– เมื่อควันที่ปากปล่องหมดไป เหลือแต่เพียงไอร้อน แสดงว่าถ่านสุกหมดแล้วจะต้องปิดปากเตาปล่องควันและรอยรั่วอื่น ๆ ให้แน่นหนา ไม่ให้อากาศเข้าไปในเตาได้โดยเด็ดขาด
ขอขอบคุณคุณตาภวย อวงประโคนที่ให้ความรู้เรื่องการเผาถ่าน พวกเราได้รับประโยชน์จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ จะนำความรู้ ทักษะ ไปใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อ้างอิง
https://www.charcoal.snmcenter.com/charcoalthai/charcoal_fun1.php