ชื่อบทความ : จะเออร์ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
เขียนโดย : 
นายชโนดม ชนะประโคน (ประเภท บัณฑิตจบใหม่)
พื้นที่ :
ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : 
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)


กิจกรรมที่ 1 การประชุมชี้แจงโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ  BCG หรือโครงการ“มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG กับประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกย่างและหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแปรรูปและผลิตภัณฑ์

เรื่องที่ 1 การแปรรูปเห็ดเป็นเห็ดอบกรอบ
เรื่องที่ 2 การแปรรูปต้นกกเป็นผลิตภัณฑ์ชุดของใช้บนโต๊ะอาหาร
เรื่องที่ 3 โลโก้ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลโคกย่าง
เรื่องที่ 4 สีประจำตำบลโคกย่าง


กิจกรรมที่ 2 การทดลองแปรรูปเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์เห็ดอบกรอบ ที่ใช้เห็ดที่มีการปลูกจำนวนมากในชุมชนในการแปรรูปเป็นลิตภัณฑ์ที่เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน จากเดิมมีการพัฒนาเป็นข้าวเกรียบเห็ดได้มีแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์นำมาแปลรูปเป็นเห็ดอบกรอบหลากรสชาติ โดยนำเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารจากเห็ดสดนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นเห็ดอบกรอบปรุงรสให้มีหลากหลายรสชาติ เช่น รสดั้งเดิม รสต้มยำ รสกระเพรา ที่มีความสอดคล้องกับการบริการ BCG ดังนี้
B = (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ ใช้พืชในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ซึ่งเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีรสชาติต่างๆ
C = (Circular Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นการใช้พืชจำนวนมากในท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้และเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนท้องถิ่นและลดภาวะการว่างงาน
G = (Green Economy) เศรษฐกิจสีเขียว เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ
1.เห็ดนางฟ้า 300 กรัม
2.แป้งทอดกรอบ 100 กรัม
3.ผงปรุงรสบาร์บีคิว/ต้มยำ
4.งาขาว
5.ถุงชิปล็อก
6.เกลือ
7.น้ำมันพืช

อุปกรณ์
1.กระทะ
2.ทัพพี
3.กระช้อน
4.อ่างผสม
5.ตะแกรง
6.กระดาษซับน้ำมัน

วิธีการทำ
1.นำเห็ดนางฟ้ามาฉีกเป็นเส้นเท่าๆกัน
2.จากนั้นนำไปผึ่งแดด 1 ชั่วโมง เพื่อให้เห็ดคายน้ำ
3.นำเห็ดมาคลุกเคล้ากับแป้งทอดกรอบ ให้เข้ากัน
4.จากนั้นตั้งน้ำมันให้เดือดนำเห็ดลงไปทอดจนสีเหลืองทองสะเด็ดน้ำมันนำขึ้นมาพักไว้บนตะแกรง ให้หายร้อน
5.จากนั้นนำเห็ดมาคลุกผงปรุงรส บาร์บีคิวและต้มยำ เห็ดทอดกรอบ 50 กรัม ต่อ ผงปรุงรส 5 กรัม
5.ตักใส่ถุงๆละ 50 กรัม


กิจกรรมที่ 3 การแปรรูปต้นกกเป็นผลิตภัณฑ์ชุดของใช้บนโต๊ะอาหาร ที่ใช้ต้นกกที่มีการปลูกและมีการทอเป็นเสื่อแล้วมาแปรรูปเป็นชุดของใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำให้มีความหลากหลายในการเลือกซื้อและมีลวดลายที่ทันสมัยและได้รับความนิยมมากขึ้นจากเดิมที่มีการทอเป็นลวดลายเสื่อกกที่เป็นแบบพื้นฐานของชุมชนได้มีการคิดสวดลายใหม่และใช้ลวดลายเดิมที่มีในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้บนโต๊ะอาหารที่มีความสอดคล้องกับการบริการ BCG ดังนี้
B = (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ ใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ซึ่งเป็นพืชที่มีอยู่จำนวนมากในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆ
C = (Circular Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้พืชจำนวนมากในท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้และเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนท้องถิ่นและลดภาวะการว่างงาน
G = (Green Economy) เศรษฐกิจสีเขียว เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

อุปกรณ์
1.เสื่อกก ขนาดกว้าง 60 ยาว 2เมตร
2.ไม้บรรทัด
3.คัดเตอร์
4.กรรไกร
5.ไดร์เป่าผม
6.กาวลาเท็กซ์
7.หนังพียู
8.จักรเย็บผ้า

ขั้นตอนการแปรูปผลิตภัณฑ์ชุดของใช้บนโต๊ะอาหาร
1.ออกแบบลวดลายและใช้สีประจำตำบลในการทอเสื่อเพื่อแปรรูป
2.ทอเสื่อตามลวดลายที่ออกแบบเป็นผืนยาว
3.วัดขนาดและทากาวที่บริเวณที่จะตัดทั้งด้านหน้าและด้านหลังเสื่อกก
4.ตัดขนาดตามที่วัด
5.ใช้จักรเย็บผ้า เย็บหนังเทียมในการเก็บขอบผลิตภัณฑ์


นายชโนดม ชนะประโคน
ID10-1 ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์