ID10-1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

เขียนโดย : นางสาวฐิติมา อินทะเล
ประเภท    :  บัณฑิตจบใหม่


ID10-1 ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” ก้าวเข้าสู่เดือนที่สองของการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม ดังนี้

1.การประชุมชี้แจงโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ  BCG หรือโครงการ“มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG กับประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกย่างและหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแปรรูปและผลิตภัณฑ์

เรื่องที่ 1 การแปรรูปเห็ดเป็นเห็ดอบกรอบ
มีการพูดคุยกับกลุ่มครัวเรือนปลูกเห็ด มีการสอบถามเรื่องวัตถุดิบและแนะนำการแปรรูปที่มีเพิ่มรสชาติต่างๆ ที่มีความหลากหลายและได้รับความนิยม เช่น รสบาร์บีคิว รสต้มยำ เป็นต้น มีการพูดคุยสอบถามราคาการขายเห็ด ดังนี้
เห็ดขอนดำ 1 กิโล ราคาส่ง 70 บาท ราคาปลีกกิโลละ 140+ บาท
เห็ดนางรม 1 กิโล ราคาส่ง 60 บาท ราคาปลีกกิโลละ 100+ บาท
เห็ดนางฟ้า 1 กิโล ราคาส่ง 60 บาท ราคาปลีกกิโลละ 100+ บาท

เรื่องที่ 2 การแปรรูปต้นกกเป็นผลิตภัณฑ์ชุดของใช้บนโต๊ะอาหาร มีการพูดคุยกับกลุ่มทอเสื่อกกในการออกแบบลวดลายการทอเสื่อเพื่อจะใช้ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร การทอเสื่อ 1 ผืน ใช้ต้นกกปริมาณ 3 กิโล ใช้เวลาการทอ 1 วัน

เรื่องที่ 3 โลโก้ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลโคกย่าง ที่มีการรวมพลังของคนในชุมชนและทีมงาน U2T ช่วยกันนำเสนอคิดชื่อออกมาเป็น “จะเออร์”  ที่แปลว่า “ย่าง” มาจากภาษาท้องถิ่นที่คนในตำบลโคกย่างคุ้นเคยเป็นอย่างดี และรูปภาพประกอบโลโก้ “จะเออร์” ได้ดึง เห็ด ต้นกก ต้นข้าว ที่เป็นวัตถุดิบที่มีมากในชุมชนและมีเสาตลุงช้าง ที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน

เรื่องที่ 4 สีประจำตำบลโคกย่าง ได้มีการเลือก สีส้ม ที่ดึงสีมาจากการย่างอาหารที่ทำให้สุกจนเป็นสีส้มและดึงสีจากศิลาแลงที่มีในชุมชน สีที่โหวตเลือกรองลงมาคือสีเทา ที่มาจากเห็ด สีเขียว ที่มาจากต้นกก สีทอง ที่มาจากต้นข้าว

2.การทดลองแปรรูปเห็ดเป็นผลิตภัณฑ์เห็ดอบกรอบ ที่ใช้เห็ดที่มีการปลูกจำนวนมากในชุมชนในการแปรรูปเป็นลิตภัณฑ์ที่เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน จากเดิมมีการพัฒนาเป็นข้าวเกรียบเห็ดได้มีแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์นำมาแปลรูปเป็นเห็ดอบกรอบหลากรสชาติ โดยนำเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารจากเห็ดสดนำมาผ่านกระบวนการผลิตเป็นเห็ดอบกรอบปรุงรสให้มีหลากหลายรสชาติ เช่น รสดั้งเดิม รสต้มยำ รสกระเพรา ที่มีความสอดคล้องกับการบริการ BCG ดังนี้
B = (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ ใช้พืชในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ซึ่งเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกเป็นจำนวนมากในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีรสชาติต่างๆ
C = (Circular Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นการใช้พืชจำนวนมากในท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้และเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนท้องถิ่นและลดภาวะการว่างงานG = (Green Economy) เศรษฐกิจสีเขียว เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วัตถุดิบ

  1. เห็ดนางฟ้า 300 กรัม
  2. แป้งทอดกรอบ 100 กรัม
  3. ผงปรุงรสบาร์บีคิว,ต้มยำ
  4. งาขาว
  5. ถุงซิปล็อก
  6. เกลือ
  7. น้ำมันพืช

อุปกรณ์

  1. กระทะ
  2. ทัพพี
  3. กระช้อน
  4. อ่างผสม
  5. ตะแกรง
  6. กระดาษซับน้ำมัน

วิธีการทำ

  1. นำเห็ดนางฟ้ามาฉีกเป็นเส้นเท่าๆกัน
  2. จากนั้นนำไปพึ่งแดด 1 ชั่วโมง เพื่อให้เห็ดคายน้ำ
  3. นำเห็ดมาคลุกเคล้ากับแป้งทอดกรอบ ให้เข้ากัน
  4. จากนั้นตั้งน้ำมันให้เดือดนำเห็ดลงไปทอดจนสีเหลืองทองสะเด็ดน้ำมันนำขึ้นมาพักไว้บนตะแกรง ให้หายร้อน
  5. จากนั้นนำเห็ดมาคลุกผงปรุงรส บาร์บีคิวและต้มยำ เห็ดทอดกรอบ 50 กรัม ต่อ ผงปรุงรส 5 กรัม
  6. ตักใส่ถุงๆละ 50 กรัม

3.การแปรรูปต้นกกเป็นผลิตภัณฑ์ชุดของใช้บนโต๊ะอาหาร ที่ใช้ต้นกกที่มีการปลูกและมีการทอเป็นเสื่อแล้วมาแปรรูปเป็นชุดของใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำให้มีความหลากหลายในการเลือกซื้อและมีลวดลายที่ทันสมัยและได้รับความนิยมมากขึ้นจากเดิมที่มีการทอเป็นลวดลายเสื่อกกที่เป็นแบบพื้นฐานของชุมชนได้มีการคิดสวดลายใหม่และใช้ลวดลายเดิมที่มีในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้บนโต๊ะอาหารที่มีความสอดคล้องกับการบริการ BCG ดังนี้
B = (Bioeconomy) เศรษฐกิจชีวภาพ ใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ซึ่งเป็นพืชที่มีอยู่จำนวนมากในชุมชนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆ
C = (Circular Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้พืชจำนวนมากในท้องถิ่นเพื่อก่อให้เกิดรายได้และเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชนท้องถิ่นและลดภาวะการว่างงาน
G = (Green Economy) เศรษฐกิจสีเขียว เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 อุปกรณ์

  1. เสื่อกก ขนาดกว้าง 60 ยาว 2เมตร
  2. ไม้บรรทัด
  3. คัดเตอร์
  4. กรรไก
  5. ไดร์เป่าผม
  6. กาวลาเท็กซ์
  7. หนังพียู
  8. จักรเย็บผ้า

ขั้นตอนการแปรูปผลิตภัณฑ์ชุดของใช้บนโต๊ะอาหาร

  1. ออกแบบลวดลายและใช้สีประจำตำบลในการทอเสื่อเพื่อแปรรูป
  2. ทอเสื่อตามลวดลายที่ออกแบบเป็นผืนยาว
  3. วัดขนาดและทากาวที่บริเวณที่จะตัดทั้งด้านหน้าและด้านหลังเสื่อกก
  4. ตัดขนาดตามที่วัด
  5. ใช้จักรเย็บผ้า เย็บหนังเทียมในการเก็บขอบผลิตภัณฑ์

วีดีโอการพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื่อกกแปรรูป ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์