ข้าพเจ้านายชัชพล แรงประโคน ( บัณฑิตจบใหม่ ) ผู้ปฏิบัติงานตำบลตะโกตาพิ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

การเผาถ่านไม้

การเผาถ่าน ในครัวเรือนเพื่อให้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงและประโยชน์ภายในครัวเรือน เป็นองค์ ความรู้ที่สามารถทำให้เกิดการพึ่งตนเอง ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน ถ่านที่ได้มีคุณภาพสูงเป็นผลดีต่อ สุขภาพ เมื่อเหลือใช้ภายในครัวเรือนแล้วสามารถนำออกไปขายสู่ตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก การเผาถ่าน ที่เรียกว่าน้ำส้มควันไม้ หรือน้ำวู้ดเวเนกาที่มีคุณสมบัติ การใช้ประโยชน์ประมาณ 150 อย่าง ที่สำคัญนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรกรรมธรรมชาติเพื่อใช้ป้องกัน และ กำจัดศัตรูพืชได้ทางหนึ่งด้วย โดยวิธีการเผาถ่านจะเน้นหลักการพึ่งพาตนเอง นำวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ สามารถหาได้จากพื้นที่ภายในบ้านหรือชุมชน มาดำเนินการเผา

วัสดุอุปกรณ์

1. ถัง 200 ลิตร (ถังน้ำมันหรือถังเหล็ก) ราคาไม่เกิน 500 บาท

2. ท่อซีเมนต์ใยหิน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร ความยาวของ เส้นผ่าศูนย์กลางอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

3. ข้องอ ขนาด 95 องศา มีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับขนาดกลางท่อซีเมนต์ใยหิน

4. อิฐบล็อก จำนวน 4-5 ก้อน สำหรับเรียงทำเป็นห้องเชื้อเพลิงหน้าเตา

5. เสาไม้ค้ำยัน 8 ท่อน เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 120 เซนติเมตร

6. เศษกระเบื้อง สังกะสี หรือไม้เก่ เพื่อกักดินด้านข้าง ด้านหน้า และด้านหลัง

7. ดินเหนียวหรือดินทราย เพื่อเป็นฉนวนกันความร้อน

8. กระบอกไม้หรือกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บน้ำส้มควันไม้ ยาวประมาณ3-5 เมตร ตามความเหมาะสม

9. ไม้ทุกประเภทที่ใช้ในการนำมาเผาถ่านได้ ในส่วนของภาคกลาง ศูนย์ ปราชญ์ส่วนใหญ่จะใช้กิ่งไม้ที่ได้จากการตัดแต่งต้นไม้ใหญ่ภายในครัวเรือน ซึ่งเรียกว่า ไม้หมาด เป็นไม้ที่ ตัดแล้วนำมาทิ้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ หรือมากกว่า เพื่อให้แห้งหมาด เนื่องจากการใช้ไม้ที่ตัดสดใหม่มา เผาจะใช้เวลานานกว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดยส่วนใหญ่ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้านจะใช้ไม้ได้จากการตัดแต่งกิ่งของต้นไม้ หรือการตัดกิ่งไม้เพื่อเร่งการแตกใบ เพื่อให้ได้ถ่านที่มีคุณภาพสูงควรเป็นไม้ที่มีอายุ ไม่ต่ำกว่า 2 ปี ขนาดโตไม่ควรเกิน 2 นิ้ว และตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 80 เซนติเมตร สำหรับภาคเหนือ จะได้เปรียบที่มีต้นไม้ใหญ่หลากหลายชนิดพันธุ์ โดยส่วนใหญ่จะใช้ไม้ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งต้นไม้

ขั้นตอน วิธีทำ

1. การเลือกสถานที่ก่อสร้างเตา ในทุกภาคเน้นการสร้างบนพื้นที่ดอน เมื่อฝน ตกแล้วน้ำไม่ท่วม และควรเป็นพื้นที่อยู่ห่างไกลจากบ้านอย่างน้อยประมาณ 50 เมตร และควรสร้างให้ อยู่ใกล้กับแหล่งไม้ที่สามารถจัดหาได้ง่าย

2. การติดตั้งเตาเผาถ่าน ในทุกภูมิภาคจะตอกเสาค้ำยันไม้ที่พื้นเป็นสี่มุม ขนาด 80×80 เซนติเมตร ตอกเป็นหลักห่างด้านข้างเตา ประมาณ 250 เซนติเมตร

3. นำถัง 200 ลิตร มาเจาะขอบถังให้ฝาถังเปิดได้แล้วทำการเจาะรูข้างหน้า 20×20 เซนติเมตร ส่วนก้นถังเจาะรูวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 4 นิ้ว สำหรับใส่ข้องอ

4. ตั้งเตาให้ด้านหน้าถึงแหงนขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้ระบายน้ำออก ด้านหลังยัง ไม่ต้องปิด แล้วเทดินเหนียวประคองด้านข้างเตาพอประมาณเพื่อไม่ให้เตาขยับเขยื้อน

5. ประกอบของอใยหิน 90 องศา โดยให้ด้านที่ใหญ่ที่สุดสวมเข้าไปในช่องที่ เจาะไว้ในด้านท้ายของตัวเตา และสวมท่อตรงใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเดียวกันกับข้องอที่ประกอบ ไว้ท้ายเตา

6. ประสานรอยต่อระหว่างตัวเตา ข้องอฉาก 90 องศา และท่อตรง ซึ่งเป็น ปล่องควันให้สนิทเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยรั่วขณะเผาถ่าน

7. ปิดผนังเตาด้านหลัง โดยให้ผนังเตาด้านหลังห่างจากข้องอประมาณ 1015 เซนติเมตร

8. นำดินเหนียวประสานรอยรั่วให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปข้างใน และป้องกันไม่ให้เกิดการลุกติดไฟ

9. นำดินเหนียวหรือดินทรายที่เตรียมไว้เทลงให้เต็มด้านข้างและด้านหลัง ใน ช่องว่างระหว่างเตากับผนังเตาด้านหลังพอประมาณทั้ง 3 ด้าน เพื่อเป็นฉนวนกันไฟให้กับตัวเตา และ ไม่ให้ความร้อนระเหยออกไป โดยเว้นช่องฝาหน้าเตาเอาไว้เพื่อปิด/เปิด

10. นำกระเบื้องหรือสังกะสีหรือแผ่นไม้เก่ามากั้นดินด้านหน้าและด้านหลัง พร้อมทั้งปิดเสาค้ำยันด้านละ 2 ท่อน

11. ตัดไม้เพื่อนำเป็นหมอนหนุนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว ยาว 20-25 เซนติเมตร จำนวน 3 ท่อน วางขวางด้านล่างของตัวเตา โดยมีระยะห่างเท่ากัน เพื่อให้มีการไหลเวียน ของลมร้อนภายในเตา

12. การคัดเลือกไม้เข้าเตาถ่าน จะมีการจัดแยกกลุ่มของขนาดไม้เป็น 3 กลุ่ม คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยเรียงไม้ขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา ทับไม้หมอนไว้ ไม้ ท่อนใหญ่ไว้ด้านบน เนื่องจากอุณหภูมิในเตาขณะ เผาถ่านไม้ เท่ากัน โดยอุณหภูมิด้านล่างสุดของเตาจะ ต่ำ และอุณหภูมิด้านบนจะสูงกว่าอุณหภูมิท้ายเตา

13. เมื่อเรียงไม้เสร็จแล้วให้ปิดฝาเตาถึงด้านหน้า โดยให้ช่องที่เจาะไว้อยู่ ด้านล่างของตัวเตาถัง แล้วนำดินมาประสานขอบถังและฝาถัง เพื่อไม่ให้อากาศเข้าไปในถัง เพราะถ้า อากาศเข้าไปในเตาถึงจะทำให้ถ่านไหม้จนหมด

14. นำอิฐบล็อกวางตั้งตามแนวยาวบนพื้นหน้าเตาขนาบสองข้างๆละ 1 ก้อน เว้นระยะให้พอดีกับช่องที่เจาะเอาไว้บนฝาหน้าเตา

15. นำอิฐบล็อกอีก 2 ก้อน วางทับด้านบนของอิฐที่ตั้งไว้ โดยวางต่อกันใน แนวราบ และนำดินเหนียวที่เตรียมไว้มาประสานรอยต่อระหว่างฝาหน้าเตากับอิฐบล็อกและรอยต่อ ระหว่างอิฐบล็อกทั้ง 4 ก้อน เพื่อไม่ให้เกิดรอยรั่ว

16. การเข้าสู่ขั้นตอนการเผาถ่าน จะเริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อนแก่เตา โดยจุดบริเวณช่องจุดไฟที่อิฐก้อนแรก โดยเชื้อเพลิงที่นำมาจุดไฟควรเป็นเชื้อเพลิงแห้ง เช่น เศษไม้ เศษ หญ้า หรือวัสดุอื่นที่จุดไฟติดได้ หรือใช้วัสดุที่มีส่วนประกอบของสารสังเคราะห์ เช่น พลาสติกหรือโฟม เป็นต้น

17. ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อย เพื่อความร้อนจะกระจายเข้าไปในเตาเพื่อไล่อากาศ เย็นและความชื้นที่อยู่ในเตา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง

18. เมื่อไล่ความชื้นในเตาแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นจนทำให้เนื้อไม้ในเตารักษา อุณหภูมิภายในได้เอง โดยไม่ต้องใส่เชื้อเพลิงเข้าไปอีก โดยสังเกตจากควันที่ออกมาจากปล่องด้านหลัง จะพุ่งแรงกว่าปกติ เรียกว่า “ควันบ้า” มีสีขาวขุ่น ช่วงนี้สามารถหรี่ไฟหน้าเตาลงได้ครึ่งหนึ่ง

19. หลังจากนั้น ประมาณ 1 ชั่วโมง หรือสังเกตสีควันที่ปากปล่อง ถ้าเป็น สีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้หรี่ไฟลงอีก ช่วงนี้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้โดยใช้ท่อไม้ไผ่ที่เจาะรู ไว้ตลอดทั้งลํา โดยนำขวดน้ำผูกลวดแขวนรองน้ำส้มควันไม้ตรงจุดที่เจาะรูไว้ จะสามารถเก็บน้ำส้มควัน ไม้ได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง เมื่อน้ำที่หยดมามีลักษณะเป็นยางเหนียวและมีสีดำให้หยุดเก็บ

20. การทำถ่านให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นการทำอุณหภูมิในเตาให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สังเกตต่อจนกระทั่งควันที่ปากปล่องกลายเป็นสีฟ้าให้เริ่มเปิดหน้าเตาเพื่อให้อากาศร้อนเข้าไปไล่สาร ตกค้างหรือแก๊สที่ค้างในเตา โดยเปิดหน้าเตาออกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ หน้าเตาทั้งหมด สังเกตสีของควัน ถ้ามีสีฟ้าใสได้แสดงว่าไม้ทั้งหมดกลายเป็นถ่านไม้ทั้งหมด ให้ปิดหน้า เตาให้สนิท เอาดินเหนียวประสานรอยต่อให้สนิท เกลี่ยดินบนเตาออกให้เห็นหลังเตาเป็นการระบาย ความร้อน โดยทิ้งไว้ 1 คืน หรือ 8 ชั่วโมง ก็จะสามารถนำถ่านออกมาใช้ได้

21. ผลผลิตถ่านที่ได้จากเตาถัง 200 ลิตร ประมาณ 20-22 กก. มีคุณภาพสูง และเตาเผาสามารถเผาได้ประมาณ 100-150 ครั้ง หรือประมาณ 2-3 ปี (ขึ้นอยู่กับความถี่ของการใช้ งาน) โดยนำถ่านที่ได้ใส่ถุงหรือกระสอบ แล้วนำไปเก็บที่ไม่มีความชื้น ไม่มีความร้อนสูงเกินไป รวมทั้ง ไม่มีแสงแดดส่อง หรืออากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ ได้น้ำส้มควันไม้เป็นผลพลอยได้ เพื่อทดแทนการ ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

การใช้ประโยชน์

1. เตาถ่าน 200 ลิตร จะมีประสิทธิภาพดีกว่าเตาหลุมทั่วไป เนื่องจากสามารถ ควบคุมอุณหภูมิได้

2. การลงทุนเรื่องวัสดุอุปกรณ์เพียงจำนวนน้อย ใช้เงินลงทุนไม่ถึง 500 บาท โดยสามารถหาอุปกรณ์ได้ในท้องถิ่น

3. เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร ใช้เวลาขั้นตอนกระบวนการผลิตทั้งสิ้นเพียง 16 ชั่วโมง ก็สามารถเก็บถ่านได้

4. ไม้ที่เผาในเตาถ่านขนาด 200 ลิตร จะไม่โดนไฟ ทำให้ไม่เสี่ยงต่อการที่ถ่าน จะกลายเป็นขี้เถ้ามาก

5. สามารถนำถ่านที่ได้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มภายในครัวเรือนมีคุณภาพสูง ขี้เถ้าน้อย และถ้ามีหรือใช้สามารถผลิตถ่านเพื่อสร้างรายได้ เป็นธุรกิจการค้าได้

6. ใช้กำจัดกลิ่นภายในครัวเรือน เช่น ตู้เย็น ตู้กับข้าว และกำจัดรังสีที่เป็น อันตรายจากคอมพิวเตอร์ได้ดี รวมทั้ง ทำสบู่ถ่าน

7. ใช้ดูดสารพิษในข้าว ล้างผักโดยบดถ่านให้ละเอียดเป็นผงผสมกับน้ำ และ ใช้ดูดสารพิษในร่างกายโดยบดเป็นผงละเอียดผสมกับน้ำคนให้เข้ากันแล้วดื่มเพื่อดูดซับพิษในร่างกาย

ดั้งรูปภาพต่อไปนี้

   

ลิงค์วีดีโอประกอบ

https://www.youtube.com/watch?v=WOb5PCLuGQw