ชื่อบทความ : ผ้าทอจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล

พื้นที่ : ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

เจ้าของบทความ : นางสาวธันยธรณ์ จิตรวรากุล


จากการลงพื้นที่สำรวจภายในหมู่ที่ 1  ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

  • พบว่าในชุมชนหมู่ที่ 1  มีการทอผ้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษ และได้มีการพัฒนาจนได้ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ชื่อกลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้า โดยเริ่มจากการทอผ้าหลังจากหน้ากสิกรรมและพัฒนามาจนเป็นอาชีพเสริมและอาชีพหลักของสมาชิกในกลุ่ม ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มได้เพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนๆ มากขึ้น
  • การทำสีผ้าที่มีเอกลักษณ์ของกลุ่มชุมชนบ้านแสลงโทน    โดยสมาชิกในกลุ่มได้นำภูมิปัญญาของบรรพบุรุษนำเอาเส้นฝ้ายและวัตถุดิบธรรมชาติที่มีอยู่คู่กับบ้านแสลงโทนมาอย่างยาวนาน
  • เช่นต้นแสลง เป็นไม้ยืนต้นมีลักษณะสูง 6-7 เมตรปัจจุบันต้นแสลง ได้เริ่มมีการสูญพันธุ์ แต่ก็ยังมีที่คงรักษาไว้ ทางกลุ่มจึงได้เกิดแนวคิดและร่วมใจนำส่วนของใบต้นแสลง มาย้อมกับเส้นฝ้ายแล้วต่อเป็นผืนผ้าให้เกิดเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของบ้านแสลงโทน   ทั้งนี้ยังจัดทำชื่อแบรนด์ ชื่อว่า ผ้าสะแลง ผ้าทอใบแสลงแห่งหมู่บ้านแสลงโทน   ลักษณะของสีผ้าจะออกเป็นโทนเขียวอ่อนๆ   ทางกลุ่มได้นำค่ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากและของที่ระลึกอีกหลายรายการ

การลงพื้นที่สำรวจและสอบถามผู้ทำผลิตภัณฑ์

จากการลงพื้นที่ได้สัมภาษณ์คุณยายเคย แผ้วพลสง อายุ 73 ปี คุณยายเคยเล่าว่าการทอผ้านี้คุณยายทอได้ตั้งแต่สมัยที่ปู่ย่าตายายเป็นคนสอนปัจจุบันคุณยายเริ่มมองไม่เห็นแล้ว แต่ยังคงใช้แสงสว่างในยามกลางวันที่มีแสงสว่างจ้าทออยู่บ้างนานๆที  เพราะตาของคุณยายเริ่มมีต้อจึงเป็นอุปสรรคในการทอผ้าอยู่บ้านบางครั้ง คุณยายมีความสุขจากการทอผ้ามากและรักในการทอผ้าของตนที่ได้ทอออกมาแต่ละผืน ในการทอผ้านี้คุณยายยังใช้เป็นกิจกรรมยามว่างอีกด้วย และยังได้รายได้อีกด้วย 

 

  • ปัจจุบันกลุ่มอาชีพได้มีการพัฒนาฝีมือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องจนได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)  จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์  และรางวัลคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทยระดับ 5 ดาว จากกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และยังได้ลงหนังสือนิตยสารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย    สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนรวมทั้งได้สืบสานอนุรักษ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติให้อยู่คู่กับชุมชนแสลงโทนสืบต่อไป

 

ปัญหาและอุปสรรคในการเก็บข้อมูล

  •  ช่วงเวลาที่ได้ลงพื้นที่เป็นช่วงหน้ากสิกรรมจึงทำให้ได้ข้อมูลได้ไม่ครบถ้วนเต็มที่แต่ก็ยังได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านอยู่
  • ผ้าที่นำมาโชว์เหลืออยู่น้อยเพราะคุณยายเคย แผ้วพลสง ได้นำไปฝากจำหน่ายหมดแล้วจากฤดูกาลที่ผ่านมา ยังเหลือคู่ที่คุณยายเหลือไว้ใช้เอง 

การแก้ปัญหาในการเก็บข้อมูล

  • อาศัยการโทร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมซึ่งทำให้อุปสรรคในการเก็บข้อมูลผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

 


ภาพกิจกรรมการลงพื้นที่