ข้าพเจ้า นางสาวจริยา  หมายบุญ  ประเภทประชาชน  ตำบลกระสัง

หลักสูตร ID15-1 : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

โครงการ U2T for BCG คือ

“โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)” หรือโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG” โดยจะเปิดรับบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ 7,435 ตำบล 77 จังหวัด กว่า 68,350 คน ที่ต้องการร่วมงานเป็นทีมเดียวกับ อว. ซึ่งจะทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยรัฐ 70 กว่าแห่ง มหาวิทยาลัยเอกชน 20 แห่ง ตลอดจนภาคประชาสังคม หน่วยงานในพื้นที่ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก

วัตถุประสงค์โครงการ U2T BCG

โครงการ U2T BCG มีวัตถุประสงค์ในการจัดสรรบุคลากรที่มีศักยภาพทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการหางาน หรือกำลังทำงานอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยเหลือชุมชนต่างๆ ให้มีการเติบโตและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมในโครงการนี้จะต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน “เป็นระยะเวลา 3 เดือน” ผ่านการใช้หลักการ BCG เพื่อเพิ่มรายได้ของแต่ละตำบลทั้งสิ้นร้อยละ 10 นับจากวันเริ่มโครงการจนวันสิ้นสุดโครงการ

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  เป็นมหาวิทยาลัยหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการ  รับผิดชอบตำบลกระสัง  อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์  โดยมีโครงการเดิม  “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ๑ มหาวิทยาลัย ๑ ตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ” มีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์  5  กลุ่ม  ดังนี้

กลุ่ม A : ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร  (หมู่ 1 บ้านกระสัง, หมู่ 12 บ้านกระสัง, หมู่ 14 บ้านกระสัง  และ  หมู่ 17 บ้านกระสังสุขสันต์)

กลุ่ม B : ผลิตภัณฑ์งานเกษตรปลอดภัย (หมู่ 6  บ้านโพธิ์,  หมู่ 7  บ้านดอนหวาย, หมู่ 13 บ้านน้อยสุขเจริญ และ  หมู่ 18  บ้านใหม่พัฒนา)

กลุ่ม C : ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ  (หมู่ 5 บ้านหนองม้า,  หมู่ 8 บ้านโพธิ์ไทร,  หมู่ 9 บ้านหนองหว้า  และ   หมู่ 15 บ้านโนนรัง)

กลุ่ม D : ผลิตภัณฑ์งานจักสาน  (หมู่ 2 บ้านม่วงเหนือ,  หมู่ 4 บ้านเครือชุด,   หมู่ 11 บ้านลำดวน  และ  หมู่ 16 บ้านม่วงเหนือพัฒนา)

กลุ่ม E : พัฒนาท่องเที่ยวไทรโยง   (หมู่ 3 บ้านไทรโยง,  หมู่ 19 บ้านไทรโยงเหนือ  และ  หมู่ 10 บ้านกลันทา)

จากการประชุมในวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ในการหาผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาต่อยอด 2 ผลิตภัณฑ์  และ  SWOT ความต้องการส่งเสริมผลิตภัณฑ์  คือ

  • ผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพร
  • ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ (ผ้าไหมสไบขิดโบราณ)

จึงได้เข้าสำรวจและขอข้อมูลหมู่ 15 บ้านโนนรัง เป็นศูนย์กลางในการผลิตผ้าไหม สไบขิดโบราณ ซึ่งจัดตั้งเป็นกลุ่มมีผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้นำในการจัดตั้งกลุ่มและให้คำแนะนำ ดูแลการขาย การผลิต จนทำให้เป็นกลุ่ม “บ้านแปรรูปผ้าไทย  สไบขิดโบราณ”  ของตำบลกระสัง  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์

ด้านการผลิตสินค้า    สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุใช้เวลาว่างในการผลิต ทำไปเรื่อยๆ จากการสอบถามผู้ใหญ่บ้านสินค้าผลิตไม่ทันเพราะมีแต่ผู้สูงอายุ จึงมีสินค้าน้อยกว่าความต้องการของตลาด แต่ก็ถือว่าเป็นการหารายได้ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีความชำนาญในการทอผ้า

               

บรรจุภัณฑ์ของกลุ่ม “บ้านแปรรูปผ้าไทย  สไบขิดโบราณ”

   

และจะพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเกิด “การประทับใจครั้งแรก ( First Impression )”   เพื่อส่งเสริมในด้านการตลาดด้วย

       

       

อ้างอิง : https://555paperplus.com/blogs/review-giftset-th/content-review-pic24