ข้าพเจ้า นางสาวสุนันท์ ธิจันทร์ดา ประเภทประชาชน ตำบลบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
หลักสูตร : ID18-2 โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อาจารย์ประจำตำบล คณะวิทยากรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และทีมปฏิบัติงาน U2T ประจำตำบลบึงเจริญ ได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้สอนวิธีการและเทคนิคการปั้นขึ้นกระถางแคคตัสดินเผาไฟต่ำและโคมไฟดินเผาไฟต่ำ การเผาเครื่องปั้นดินเผาให้แก่ชาวบ้านผู้สนใจเพื่อเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนใจชุมชน เช่น กระถางแคคตัส  โคมไฟ จากการปั้นดินเผา  เพื่อเป็นการฝึกอาชีพให้แก่ชาวบ้านชุมชน และชาวบ้านสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปสร้างชิ้นงานเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวและชุมชน

การเผาดิบ (biscuit firing)
     เซรามิกส์ ที่ผลิตตามโรงงานต่างๆ ส่วนมากจะเผาผลิตภัณฑ์ สองครั้ง การเผาครั้งแรก เรียกว่าเผาดิบ เพื่อทำให้ชิ้นงาน หรือเนื้อดินที่ผ่านการขึ้นรูปแบบต่างๆ มีความแข็งแรง และคงรูป นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ในด้านสีหลังเผา การแตกร้าว และการหดตัวก่อนนำไปเขียนลาย และเผาเคลือบอีกครั้ง

การเผาดิบนิยมเผา โดยใช้อุณหภูมิประมาณ 750 – 850  ํC เป็นเวลา 8 – 10 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นกับสูตรของเนื้อดิน ชนิด และขนาดของเตาเผา รวมถึงขนาดของผลิตภัณฑ์ (โรงงานแต่ละโรง จะใช้อุณหภูมิ และช่วงเวลาแตกต่างกันเล็กน้อย)

ขั้นตอนตั้งแต่การนำชิ้นงานที่ตั้งเรียงทิ้งไว้ในร่ม (ไม่ต่ำกว่า 1 วัน) การเรียงชิ้นงานเข้าสู่เตาเผา และการเพิ่มอุณหภูมิของเตา เป็นขั้นตอนที่มีรายละเอียดมาก และโรงงานเซรามิกส์ส่วนมากถือว่าเป็นความลับทางธุรกิจ ซึ่งมักไม่ยอมเผยแพร่ความรู้ดังกล่าว อย่างไรก็ตามในขั้นตอนการเผาดิบ มีเป้าหมายหลักคือต้องการให้ชิ้นงาน เมื่อเผาแล้วเกิดความเสียหายน้อยสุด และเป็นการเตรียมเนื้อผลิตภัณฑ์ในการเคลือบสีซึ่งเป็นงานขั้นต่อไป  ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงเนื้อดิน ในการเผาดิบ ตามทฤษฏี มีดังนี้

– การเผาด้วยอุณหภูมิต่ำในช่วงแรก
เมื่อเรียงชิ้นงานเข้าสู่เตาเผาแล้ว จะเริ่มการเผา ที่อุณหภูมิ 110 – 120  ํC เพื่อทำให้น้ำ และ
ความชื้นที่อยู่ในชิ้นงานระเหยออกจากชิ้นงาน ซึ่งเมื่อชิ้นงานเผาผ่านอุณหภูมิดังกล่าวชิ้นงาน
จะแห้งสนิท
– การเพิ่มอุณหภูมิในช่วงที่สอง
ในการเผาดิบจะมีการเพิ่มอุณหภูมิเตา อย่างช้าๆ ที่อุณหภูมิ 120 – 350  ํC น้ำที่อยู่ใน
โครงสร้างของกลุ่มแร่เคลย์ จะสลายตัว ทำให้กลุ่มแร่เคลย์เปลี่ยนเป็นสารประกอบอ๊อกไซด์
ในช่วงอุณหภูมิดังกล่าวชิ้นงานจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1 หากชิ้นงานมีความหนาไม่สม่ำ
เสมอชิ้นงานอาจจะมีการปริแตก หรือเรียกว่าชิ้นงานระเบิดในเตา
– การเพิ่มอุณหภูมิในช่วงที่สาม
ที่อุณหภูมิเตาเผา ในช่วง 350 – 450  ํC น้ำที่อยู่ในสูตรแร่เคลย์ จะสลายตัวออกจากแร่เคลย์
จนหมด ช่วงอุณหภูมินี้มีความสำคัญ มีหลักที่ว่าต้องควบคุมให้อุณหภูมิภายในเตาเพิ่มขึ้น
อย่างช้าๆ (การเลี้ยงไฟ) จะทำให้ชิ้นงานหดตัวพร้อมกัน ไม่แตกร้าว
– การเพิ่มอุณหภูมิในช่วงที่สี่
เมื่ออุณหภูมิภายในเตาเผา มีค่า ประมาณ 570  ํC ช่วงนี้ซิลิกาที่อยูในเนื้อดินจะมีการขยาย
ตัว ถ้าควบคุมอุณหภูมิภายในเตาไม่ดี ชิ้นงานจะร้าว
– การเผาอุณหภูมิสูงในช่วงที่ห้า เผาครั้งสุดท้าย
เมื่ออุณหภูมิภายในเตาเผา มากกว่าประมาณ 700  ํC สารอินทรีย์ และซัลเฟอร์แบบต่างๆ ที่
อยู่ในเนื้อดิน จะเกิดการเผาไหม้ในช่วงนี้ ในกรณีใช้เตาเผาแบบปกติคือ เผาแบบอ๊อกซิเดชั่น
จะได้แก๊สคารบอไดออกไซด์ และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ในแต่ละขั้นตอนของการเผาจะใช้เวลา ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะทิ้งชิ้นงานให้ค้างอยู่ในเตาเพื่อให้ชิ้นงานเย็นตัวอย่างช้าๆ ประมาณ 1 วัน