บทความประจำเดือน สิงหาคม 2565

กลุ่ม ID27-2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพืชในท้องถิ่น ณ

บ้านหนองแสง หมู่ที่ 5  บ้านพิณทอง หมู่ที่ 13

ตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย

ข้าพเจ้า นายญาโณทัย  ใจกล้า ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยฐานเศรษฐกิจ BCG  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการการ ซึ่งได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเก็บข้อมูลจำนวน 2 หมู่บ้าน ได้แก่  บ้านหนองแสง หมู่ที่ 5  บ้านพิณทอง หมู่ที่ 13 ของตำบลไพศาล อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแผนการดำเนินมีเป้าหมายการลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2 แบบ คือ แบบฟอร์ม C-03 แผนพัฒนาสินค้าและบริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ BCG เป้าหมายในพื้นที่ พื้นที่รับผิดชอบ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายได้ต่อปีในปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจัดจำหน่าย วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายการพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีที่นำมาพัฒนา ระยะเวลาที่ใช้ งบประมาณที่ใช้ แบบฟอร์ม C-04  ผลการพัฒนาสินค้าและบริการ ชื่อสินค้า/บริการความก้าวหน้า กิจกรรม สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อ ปัญหา/อุปสรรค

ผลจากการเก็บข้อมูล

ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลครั้งนี้พบว่า คนในชุมชนบ้านหนองแสง ได้มีการทอเสื่อกกเป็นอาชีพเสริมอาชีพหลัก คือ การทำไร่ทำนาเกษตรกร พอว่างจากการทำนา ชาวบ้านจึงหารายได้เสริม คือการทอเสื่อกก โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากการว่างงานจึงชักชวนกันเป็นกลุ่มทอเสื่อกกด้วยกัน เพียงหวังเพื่อที่จะใช้สอยเองในครัวเรือน ด้วยการทอเสื่อกกมีความคิดสร้างสรรแพร่หลายกับคนหมู่มาก จึงได้นำขายกันให้ชาวบ้านด้วยกันเอง การทอเสื่อกกเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว โดยจะขาย ผืนละ300 บาท ต่อผืน ผู้สูงอายุทางภาคอีสานจะไม่นิยมอยู่นิ่งเฉยๆ จึงต้องหาอะไรทำฆ่าเวลาไปในแต่ละวันนั้นเอง การทอเสื่อ ใช้ทั้งกกและไหลในการทอ ส่วนมากจะใช้กกมากกว่าไหล เพราะกกจะหาง่ายกว่า แต่ละพื้นที่ก็จะมีราคาต่างกัน ในพื้นที่บ้านหนองแสงจะจำหน่ายในราคา 300 บาทต่อผืน และเป็นลวดลายง่ายๆ ที่พบได้ทั่วไปเน้นสีสันสวยงาม
ในชุมชนบ้านพิณทอง มีการทำข้าวหลามขายกันทั้งหมู่บ้านเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นอาชีพที่ทำมาตั้งแต่ช้านาน ชาวบ้านจึงนิยมทำอาชีพนี้เป็นอาชีพเสริม นอกจากการทำนา การทำข้าวหลามสร้างรายได้มากพอที่จะทำใช้ชาวบ้านพอลืมตาอ้าปากได้ การทำข้าวหลามนั้นใช้เวลาค่อนข้างนานมาก ตั้งแต่การต้มกระทิจนได้ที่ แช่ข้าว นึ่งข้าว กรอกใส่ไม้ไผ่ การเผา การผ่า การเหลา และการวางจัดจำหน่าย จึงนิยมทำในตอนหลังเที่ยงคืน เพื่อให้ทันจำหน่ายในตอนเช้านั่นเอง

ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน และการแก้ไขปัญหา

การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในเดือนสิงหาคมนี้ พบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน มีพายุฝนฟ้าคะนองในพื้นที่ทำให้การดำเนินงานติดขัด ไม่สะดวกในการเดินทาง การลงพื้นที่สำรวจครั้งนี้จะไม่ค่อยพบผู้คนในชุมชนหาตัวยาก ซึ่งอยู่ในช่วงทำไร่ทำนา ส่งผลให้ทีมเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบตามต้องการ แนวทางการแก้ปัญหาฝนตก คือ การตรวจเช็คสภาพอากาศ หรือการใช้พาหนะ เช่น ร่ม เสื้อกันฝน ก่อนลงพื้นที่จะต้องเตรียมพาหนะก่อนออกพื้นที่ทุกครั้ง และการติดต่อประสานงานกับผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์นัดกลุ่มก่อนลงเก็บข้อมูลและติดตามผลการทำงานของทั้งสองกลุ่ม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการลงพื้นที่

1.ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มเป็นทีม และมีภาวะการเป็นผู้นำได้ฝึกเรียนรู้ต่อยอดการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์

2.ได้เรียนรู้แนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันทวงที

3.ได้รู้ถึงวิธีการติดต่อประสานงานทั้งในทีมและผู้นำชุมชนชาวบ้านในชุมชนได้รู้ถึงสินค้า OTOP ในชุมชน

แผนการในการดำเนินงานต่อไป

ทีม ID27-2 มีแผนการดำเนินงานในเดือน สิงหาคม 2565 โดยทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ ข้อมูล และสรุปผล ของข้อมูล เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนดำเนินงานต่อไป

หมายเหตุ : แผนการดำเนินงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19