โครงการ U2T เฟส 2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

บทความความประจำเดือน กรกฎาคม 2565

          ดิฉัน นางสาวมุกมณี จันลา ผู้ปฏิบัติงานประเภทบัณฑิตจบใหม่ ทำงานภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ระยะเวลาโครงการทั้งหมด 3 เดือน เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของตำบล โดยมีแผนงานแต่ละเดือนให้ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในส่วนของแผนงานเดือนกรกฎาคมคือ ส่วนของข้อมูลแบบฟอร์มC-01และC-02  แบบฟอร์มC-01คือ ข้อมูลเสนอโครงการ ข้อมูลโครงการ รายละเอียดสินค้าและบริการ รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน การขายและรายได้ วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้า เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนาสินค้า ทรัพยากรบุคคล แบบฟอร์ม C-02คือ ข้อมูลรายละเอียดแผนธุรกิจ อธิบายแผนธุรกิจของทีมและแนบลิงค์แผนธุรกิจลงในระบบที่ส่วนกลางกำหนด กรอกข้อมูลทั่วไปของลูกค้า กลุ่มลูกค้า การสร้างรายได้ของธุรกิจ ช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สินค้าและราคา

การดำเนินงานในเดือนกรกฎาคม ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

     วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ปฐมนิเทศเข้ารับฟังการอบรมโครงการ U2T เฟส 2 โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

     วันที่ 1-5 กรกฎาคม 2565 ส่งเอกสารสัญญาการจ้างงานและข้อตกลงในการจ้างงาน

     วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลเบื้องต้นในตำบลบ้านบัว

     วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เข้ารับฟังการปฐมนิเทศและข้อมูลที่สำคัญ สำหรับการปฏิบัติงานในโครงการ ผ่าน youtube live (มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)

     วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ประชุมประจำตำบลบ้านบัวครั้งที่1 แจ้งรายละเอียดในการปฏิบัติและเลือกแอดมินในการลงข้อมูล co1 – co6 และลงพื้นที่เพื่อปรึกษากับกลุ่มทำผลิตภัณฑ์น้ำพริกเพิ่มอีกหนึ่งชนิด

     วันที่19 กรกฎาคม 2565 นัดประชุมทีมเพื่อสรุปข้อมูลในส่วนของข้อมูลC-02  อาจารย์นัดประชุมออนไลน์ผ่านช่องทาง Google Meet เพื่อชี้แจ้งรายละเอียดการเขียนบทความและการส่งใบรายงานผลประจำเดือนกรกฎาคม

ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจของตำบลบ้านบัว

น้ำพริกและผ้าไหม

ซึ่งทางตำบลเราได้มีการปรึกษาหารือกับกลุ่มชาวบ้านตำบลบ้านบัว ในการทำน้ำพริกและเพิ่มผลิตภัณฑ์ของน้ำพริกและผ้าไหม ในส่วนของผ้าจะเศษผ้าไหมที่ได้จากการตัดชุดมาทำเป็นกิ๊ฟติดผมหรือที่คาดผม เพื่อใช้วัสดุให้คุมค่ามากที่สุด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการการผลิตสินค้า เพราะต้องนำเศษของผ้าใหม่มาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ เป็นการนำเศษไหมจากการตัดชุดมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด 

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการทำงาน

          – ได้เรียนรู้การทำงานที่เป็นทีมมากขึ้น

– ได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ ภายในชุมชนมากขึ้น

– ได้มิตรภาพคนภายในกลุ่มและมิตรจากชาวบ้านที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน