โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG and Regional Development) หรือ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG)
ชื่อบทความ : บทความประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565 การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า ชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นายทรงพล หวานใจ ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนทั่วไป
อาจารย์ประจำโครงการ : อาจารย์จงกล ศิริประภา หัวหน้าโครงการ, ดร.อรุณรัศมี แสงศิลา คณะทำงาน และ อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร คณะทำงาน
หลักสูตร : MS09-1 การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้าเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
ประวัติความเป็นมา
ตำบลสวายจีกเป็นตำบลเก่าแก่ที่มีประวัติวัฒนธรรมและความเป็นมาอย่างยาวนานและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวตามที่คนอาวุโสรุ่นเก่าเล่าสืบต่อกันมา ต.สวายจีก มีทั้งหมด 19 หมู่บ้าน มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน ตำบลสวายจีก 5 กลุ่ม คือ
- หมู่ 1 กลุ่มแม่บ้านสมุนไพรสวายจีก
- หมู่ 4 กลุ่มหัตถกรรมผ้าฝ้ายบ้านใหม่และกลุ่มตีมีด
- หมู่ 6 กลุ่มเลี้ยงวัวขุนบ้านหนองพวง
- หมู่ 8 กลุ่มศูนย์ข้าวบ้านถาวร
- หมู่ 14 กลุ่มพัฒนาอาชีพชุมชนสวายจีก (ผลิตภัณฑ์จากอ้อยเช่นน้ำอ้อยคั้นสด)
และกลุ่มที่ 6 ที่กำลังจะก่อร่างสร้างตัวตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคือกลุ่มเรือนกล้วยบ้านสวายจีกหมู่ 2 ซึ่งจากการลงพื้นที่ใน ตำบลสวายจีกทั้ง 19 หมู่บ้านนั้นพบว่าชาวบ้านในตำบลสวายจีกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรโดยส่วนใหญ่แล้วจะทำการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ซึ่งที่ปลูกได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ฝรั่งหรือพืชผักสวนครัวปลูกไว้สำหรับกินเองเหลือจากนั้นจึงนำไปขายที่ตลาดใกล้บ้าน นอกจากนั้นยังประกอบอาชีพค้าขาย ส่วนสัตว์ที่เลี้ยงไว้ได้แก่ โค กระบือ สุกร เป็ดและไก่ ส่วนกล้วยน้ำหว้าตามที่ลงสำรวจในพื้นที่ ตำบลสวายจีก ก็พอมีการปลูกบ้างตามพื้นที่รอบบ้านส่วนมากจะเป็นการปลูกไว้ทานเองเหลือจากนั้นก็แจกจ่ายให้กับญาติพี่น้อง,เอาไปร่วมในงานบุญอาทิเช่น งานกฐิน งานผ้าป่า หรืองานบวช แต่ก็มีบางครัวเรือนที่ทำการปลูกกล้วยน้ำหว้าเพื่อที่จะตัดขายให้กับพ่อค้าหรือส่งขายตามตลาดใกล้บ้านซึ่งในช่วงที่ข้าพเจ้าและคณะได้ลงสำรวจพื้นที่ตามหมู่บ้านต่างๆในตำบลสวายจีกทั้ง 19 หมู่บ้านเกี่ยวกับการปลูกกล้วยน้ำหว้าผลการตอบรับเป็นที่น่าประทับใจยิ่งนักชาวบ้านให้ความร่วมมือดีมากในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกกล้วยน้ำหว้าซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านยังไม่รู้ข้อมูลว่าบ้านสวายจีก ม.2 มีการทำกล้วยตาก กล้วยม้วน กล้วยหนึบหรือกล้วยสติ๊ก ยังไม่มีเจ้าหน้าที่มาขอข้อมูล,มาสำรวจหรือมาประชาสัมพันธ์ให้แก่ชาวบ้านได้รับรู้หรือรับทราบ
ปัญหาหรืออุปสรรค
ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการออกสำรวจหรือขอข้อมูลในการปลูกกล้วยน้ำหว้าของชาวบ้านในช่วงแรกคือ
- การเดินทางเข้าหมู่บ้านบางหมู่บ้านถนนหนทางในการสัญจรเข้าออกหมู่บ้านไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่
- บ้านแต่ละหลังที่ปลูกกล้วยส่วนมากมีเฉพาะคนแก่เฝ้าบ้านบางคนไม่มีโทรศัพท์หรือจำหมายเลขโทรศัพท์ไม่ได้ (โทรศัพท์เป็นของลูก ลูกออกไปทำงานกลับอีกทีตอนเย็น) คณะสำรวจลงพื้นที่ไปตอนกลางวัน
- บางบ้านสุนัขเยอะและท่าทางดูอันตราย
สรุป
โดยภาพรวม ในเดือนแรกของการทำงานในการสำรวจการปลูกกล้วยน้ำหว้าของชาวบ้านทั้ง 19 หมู่บ้านใน ต.สวายจีก ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ ประชาชนให้ความร่วมมือกับคณะผู้ลงสำรวจเก็บข้อมูลเป็นอย่างดีและเป็นกันเองมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุน่ารักทุกคน ข้าพเจ้าต้องกราบขอบพระคุณพี่น้องประชาชนชาว ต.สวายจีกทุก ๆ คนที่ให้ข้อมูลหรือป้อนข้อมูลให้กับคณะทีมงานที่ลงสำรวจพื้นที่ที่ผ่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
วิดีโอการปฏิบัติงาน