โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
(U2T for BCG and Regional Development) หรือ “มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG”
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล U2T for BCG)
ชื่อบทความ : การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า ชุมชนตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2565
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาววิชุดา ลักษณะวิเชียร ผู้ปฏิบัติงานประเภทประชาชนทั่วไป
อาจารย์ประจำโครงการ : อาจารย์จงกล ศิริประภา หัวหน้าโครงการ, ดร.อรุณรัศมี แสงศิลา คณะทำงาน และ อาจารย์เพียรพรรณ สุภะโคตร คณะทำงาน
หลักสูตร : MS09-1 การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้า และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้าเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ พื้นที่ตำบลสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
รายละเอียดการดำเนินงานในเดือนแรก ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการในรูปแบบออนไลน์ การประชุมชี้แจงและปฐมนิเทศเพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชนและผลิตภัณฑ์ชุมชน การลงพื้นที่ประชุมร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อหารือแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยในทีมได้มีการแบ่งหน้าที่การดำเนินงานเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ในส่วนของข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ การลงพื้นที่เก็บข้อมูลกล้วยน้ำว้าในพื้นที่ชุมชนตำบลสวายจีก เป็นการลงพื้นแบบกลุ่มสำรวจตามหมู่บ้านรวมทั้งหมด 19 หมู่บ้าน การสอบถามข้อมูลเบื้องต้นของเจ้าของสวนกล้วยหรือกล้วยที่ชาวบ้านปลูกไว้ในพื้นที่ของตนเอง ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะปลูกกล้วยน้ำว้าและกล้วยสายพันธุ์อื่น ๆ ร่วมด้วย การปลูกกล้วยน้ำว้าส่วนมากปลูกไว้เพื่อประทานเองหรือแจกจ่ายไว้ให้พี่น้องของตนเอง และร่วมนำไปร่วมทำบุญในงานต่าง ๆ เหลือจากนั้นเอาไปจำหน่ายตามตลาดใกล้หมู่บ้าน
จากการลงพื้นดำเนินงานในเดือนแรกของทีมพบว่า การเดินทางเข้าหมู่บ้านบางหมู่บ้านถนนหนทางในการสัญจรเข้าออกหมู่บ้านไม่ค่อยสะดวกมากนัก บางบ้านสุนัขเยอะและท่าทางดูอันตราย และบ้านแต่ละหลังที่ปลูกกล้วยส่วนมากมีเฉพาะคนแก่เฝ้าบ้านบางคนไม่มีโทรศัพท์หรือจำหมายเลขโทรศัพท์ไม่ได้ (โทรศัพท์เป็นของลูก ลูกออกไปทำงานกลับอีกทีตอนเย็น) คณะสำรวจลงพื้นที่ไปตอนกลางวัน
จากการประชุมแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือจากการไปเรียนรู้การแปรรูปกล้วยน้ำว้าจากแม่ ๆ ได้ทำการใส่แพ็คเกจสินค้า และการแปรรูปกล้วยน้ำว้าเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลากหลายเมนู เช่น กล้วยม้วน กล้วยอบ กล้วยตาก คุกกี้กล้วยตาก และได้รู้วิธีการสังเกตุการดูความชื่นหรือความแห้งของกล้วยว่าเหมาะสมหรือยังที่จะได้ทำการเก็บมาเป็นผลิตภัณฑ์
โดยภาพรวม ในเดือนแรกของการทำงานในการสำรวจการปลูกกล้วยน้ำหว้าของชาวบ้านทั้ง 19 หมู่บ้านในตำบลสวายจีก ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ ประชาชนให้ความร่วมมือกับคณะผู้ลงสำรวจเก็บข้อมูลเป็นอย่างดีและเป็นกันเองมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุน่ารักทุกคน และได้เรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าแปรรูปต่าง ๆ เช่น กล้วยม้วน กล้วยอบ กล้วยตาก คุกกี้กล้วยตาก
วิดีโอการปฏิบัติงาน