การปฏิบัติงานดำเนินมาถึงเดือนกันยายน เป็นการเตรียมงานเดือนสุดท้ายของโครงการ ฯ ซึ่งทางผู้ปฏิติงานตำบลกลันทา และอาจารย์ผู้ดูแลโครงการได้เตรียมการจัดโครงการในหัวข้อ” โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การออกแบบตราสินค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและการตลาดออนไลน์ด้วยนวัตกรรมยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG ในการผลิตสินค้าและบริการของตำบลฏกลันทา” มีการประชุมปรึกษากันในทีมเพื่อแบ่งหน้าที่ โดยดิฉันมีหน้าเตรียมกำหนดการการเข้าร่วมอบรม และจัดทำป้ายโครงการ ในการอบรมครั้งนี้มีเป้าประสงค์ เพื่อให้กลุ่มชุมชนสามารถพัฒนาทักษะด้านตราสินค้าเองได้ และพัฒนาสินค้าอื่นๆได้อีกในอนาคต รวมถึงการสอนการจำหน่ายสินค้าบริการด้านออนไลน์ตามแฟลตฟอร์มเพจเฟสบุ๊ค “เพจกลันทาเฮิร์บ” “เพจกลันเตียร์ หมอนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ” มีการสอนการนำเสนอ โพสต์สินค้าในการจำหน่ายในเพจให้โพสต์มีความน่าเชื่อถือ มีความน่าสนใจต่อการซื้อสินค้าของผู้บริโภค รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ตำบลกลันทามีความสามัคคี มีใจที่จะผลิตสินค้าต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน อีกทั้งเพื่อสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชนได้เป็นอย่างดี นอกจากการจัดอบรมโครงการแล้วที่มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ยังมีการส่งเสริมจัดกิจกรรม”U2T FOR BCG BRU FAIR” ชม ชิม ช็อป แชร์ ในวันที่ 14-16 กันยายน โดยมีบูธจำหน่ายสินค้าทั้งหมด 152 ตำบล โดยแต่ละตำบลได้รับการสนับสนุนจากโครงการ U2T FOR BCG ได้นำหลักนวัตกรรม BCG มาพัฒนาปรับใช้ในสินค้าแต่ละตำบล โดยมีสินค้าที่หลากหลายประเภท ประเภทอาหาร ขนมทานเล่น เครื่องนุ่มห่ม ของใช้ ของตกแต่ง โดยสินค้าที่กล่าวมาข้างต้นล้วนผสมผสานผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นกับนวัตกรรม BCG ได้อย่างลงตัวจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ของดีประจำตำบล ทั้งนี้ตำบลของดิฉันเองนอกจากจะมีผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพหลัก 2 ตัวแล้ว คือหมอนสมุนไพรเพื่อสุขภาพ น้ำยาลางจานอเนกประสงค์ และมีสินค้าเพิ่มมา ด้านความงามคือ สครับขัดผิวทั้งแบบสำหรับผิวกาย และผิวหน้า ทั้งนี้ยังมีผลิตภัณฑ์การตกแต่ง คือพวงกุญแจดอกไม้จากผ้าฝ้าย(ทำจากเศษผ้าที่เหลือใช้จาการผลิตหมอน)
จากที่กล่าวมาข้างต้นโครงการนี้ถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายสู่ตลาดได้ และได้รับการตอบรับจากผู้ที่ใช้สินค้าจริง ทำให้ชุมชนเชื่อมั้น และมีความตั้งใจพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพต่อไป ความสำเร็จนี้ต้องขอขอบคุณทางโครงการ U2T ที่ได้เข้ามาช่วยส่งเสริมชุมชนให้เกิดรายได้หมุนเวียนจากวัสดุธรรมชาติที่จากเดิมไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์แต่กลับได้นำมาทำเป็นเงินให้ชุมชนมีรายได้เสริม ทั้งนี้ขอขอบคุณอาจารย์หัวหน้าโครงการฯผู้ปฏิบัติงานที่ได้ร่วมปรึกษา แนะนำเป็นอย่างดีในการพัฒนา แก้ไขปัญหาจนมีผลิตภัณฑ์สู่ชุมชน สามารถนำชุมชน ส่งเสริม ผลักดัน ติดตามการดำเนินงานจนประสบความสำเร็จ และขอขอบคุณกลุ่มผลิตภัณฑตำบลกลันทาที่ร่วมโครงการนี้เป็นอย่างดี ขอบคุณค่ะ