ผลิตภัณฑ์เด่น “จิ้งหรีดหนองใหญ่”

รฐา ศักดิ์ศิริ

            “ สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาเล่าประวัติที่มาของตำบลหนองใหญ่แบบสับ ๆ ให้ได้ฟังกันนะคะ ”

ตำบลหนองใหญ่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ หรือชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกว่าบ้านแนงทม มีราษฎรจากบ้านพรมเทพ ตำบลพรมเทพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ และราษฎรจากบ้านดงยายเภา มาตั้งรกราก และราษฎรตำบลหนองใหญ่ มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้แยกหมู่บ้านตามลำดับทั้งหมด 16 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านสวายตางวน หมู่ที่ 2 บ้านหนองใหญ่ หมู่ที่ 3 บ้านดอนยอง หมู่ที่ 4 บ้านหนองกับ หมู่ที่ 5 บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 6 บ้านหนองตราด หมู่ที่ 7
บ้านกระทุ่ม หมู่ที่ 8 บ้านอาเกียน หมู่ที่ 9 บ้านคูขาด หมู่ที่ 10 บ้านตะแบก หมู่ที่ 11 บ้านสวายเดิม หมู่ที่ 12 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 13 บ้านโนนพลวง หมู่ที่ 14 บ้านสมเจริญ หมู่ที่ 15 บ้านน้อยชลประทาน หมู่ที่ 16 บ้านพิชัยพัฒนา มีประชากรทั้งหมด 10,081 คน 1,913 ครัวเรือน ภาษาที่ใช้ ภาษาเขมร ภาษาลาว ภาษาไทย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร ทำนา และรับข้าราชการ เป็นส่วนใหญ่ ตำบลหนองใหญ่ยังมีผลิตภัณฑ์เด่นมากมาก แต่ที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ จิ้งหรีด ที่ยังไม่ได้แปรรูป ส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงไว้ขายในชุมชน และนอกชุมชน

เราชาว SC18-2 ตำบลหนองใหญ่ ได้เล็งเห็นถึงผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ตำบล นั้นคือ “จิ้งหรีด” ส่วนใหญ่เราจะพบเห็นว่าตามท้องตลาดจะมีการขายผลิตภัณฑ์จิ้งหรีดที่แปรรูปเป็นอาหาร เช่น จิ้งหรีดทรงเครื่อง หรือจิ้งหรีดทอด มากมาย ทั้งนี้ “จิ้งหรีด” ยังสามารถเปลี่ยนเป็นปุ๋ย (ดินพร้อมปลูก) ที่ทำมาจากมูลจิ้งหรีดได้ด้วยค่ะ “โอ้โห~ มีประโยชน์ ทั้งจิ้งหรีด และมูลจิ้งหรีดเลยนะคะ”

สูตรการทำง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้เลย !

วัตถุดิบ

  • มูลจิ้งหรีด
  • จุลินทรีย์ EM
  • น้ำเปล่า

วิธีทำ

  • นำมูลจิ้งหรีดเทลงพื้นปรับเกลี่ยให้ราบ
  • ใช้จุลินทรีย์ EM 2-4 ข้อนแกง ผสมน้ำ 10 ลิตร ราดรดให้ทั่ว

**หลายท่านอาจสงสัยใช้น้ำมากแค่ไหน? ใช้มูลจิ้งหรีด 2 กระสอบปุ๋ยต่อน้ำ 30 ลิตร**

  • ใช้จอบหรือพลั่วคนให้เข้ากัน

**หรือสังเกตง่าย ๆ ถ้าเราใช้มือกำมูลของจิ้งหรีดแล้วจับตัวเป็นก้อนอันนี้ถือว่าใช้ได้**

  • ตักมูลของจิ้งหรีดขึ้นเป็นกอง > ใช้ผ้าหรือกระสอบคลุม > เกลี่ยกองปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน

  • ใช้มือล้วง หรือใช้หลังมือแตะ ๆ กองปุ๋ยหมัก ตรวจเช็คอุณหภูมิ หากยังมีความร้อนเหลืออยู่ถือว่า
    ยังใช้ไม่ได้
  • หลังจากผ่านการหมักบ่มจนอุณหภูมิลดลงปกติ อาจใช้เวลาราว 20-30 วัน ให้ปรับเกลี่ยกองปุ๋ย
    จนแบนราบ ผึ่งลมให้แห้ง
  • จากนั้นบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้ใช้งานต่อไป

ไม่ต้องเก็บมูลจิ้งหรีดไปทิ้งให้เสียเปล่า ดั่งคำว่า ‘พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส พลิกมูลจิ้งหรีดให้มีรายได้’ คุ้มค่าจริงๆเลยนะคะ