“โปรตีนจิ้งหรีด” อาหารแห่งอนาคต

รฐา ศักดิ์ศิริ

เชื่อว่าหลายคนคงยังรู้สึกตะขิดตะขวงใจ ถ้าพูดเรื่องการกินแมลง พูดให้จำเพาะเจาะจงลงไปอีก เรากำลังพูดถึง “จิ้งหรีด” 

แต่บางทีอาจจะถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหรือเปล่า เพราะแมลงนี่แหละคืออาหารแห่งอนาคตของโลก และขณะนี้โลกตะวันตกก็มีการเปิดรับมากขึ้นแล้ว

ซึ่งหมายความว่า นั่นคือโอกาสทางการค้าของประเทศที่มีการบริโภคแมลงมานานอย่างประเทศไทย จนทำให้ปีนี้เป็นหนึ่งในธุรกิจส่งออกดาวรุ่ง และได้รับการผลักดันพร้อมยกระดับมาตรฐานขึ้นมา

ไทยจึงต้องยกระดับมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีด

ไทยเราเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวัฒนธรรมการบริโภคแมลง และภาครัฐมีการส่งเสริมให้เลี้ยงแมลงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมากว่า 20 ปีแล้ว และไทยยังเป็นประเทศแรกที่ได้พัฒนารูปแบบการเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นระบบฟาร์ม

จากเดิมเป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมหลังการทำนา สร้างรายได้ในระดับชุมชน แต่ปัจจุบันสามารถส่งจิ้งหรีดไปขายยังต่างประเทศได้ จิ้งหรีดจึงเป็นแมลงเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ

เมื่อตลาดในโลกเปิดกว้างมากขึ้น การยกระดับเพื่อเป็นเครื่องการันตีมาตรฐานและความปลอดภัยให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศมากขึ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ ภาครัฐโดยกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิ และเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด กำหนดมาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มจิ้งหรีด หรือ GAP (Good Agricultural Practices) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560

และในปีนี้เอง กระทรวงเกษตรฯ ยังได้เร่งส่งเสริมและพัฒนาการผลิตจิ้งหรีด โดยมีเป้าหมายขยายพื้นที่ผลิตจิ้งหรีดภายใต้ระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้มีรูปแบบการบริหารจัดการแบบรวมกลุ่มกัน ในการเลี้ยงและหาตลาด ซึ่งเริ่มทำในพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต แปรรูป และขยายตลาดส่งออกไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงสหภาพยุโรป ตอบสนองต่อความต้องการบริโภคแมลงที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

…และในวันที่ 15 – 18 กันยายน เรา SC18-2 ได้นำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีดไปวางขาย (เก็บตกภาพบรรยากาศค่ะ ><)

————- VDO ประจำเดือนกันยายน