ข้าพเจ้า นางสาวบัวหลวง ประเสริฐศรี
ผู้รับจ้างประเภทประชาชน ตำบลหนองใหญ่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ตามโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
จากที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจในตำบลหนองใหญ่ อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่ามีอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีดในชุมชน หลายครัวเรือน ซึ่งส่วนมากจะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม
โดยทางกลุ่มของโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG
ดังนั้นทางทีมงาน U2T ตำบลหนองใหญ่ จึงเข้ามามีส่วนร่วม ในการเพิ่มมูลค่าให้กับมูลจิ้งหรีด โดยจะนำมูลจิ้งหรีดมาแปรรูปเป็นดินปลูกจากมูลจิ้งหรีด ซึ่งจะมีวัตถุดิบในการผสมดินปลูก ดังนี้
1. มูลจิ้งหรีด
2. ผักตบชวาตากแห้ง
3. เปลือกหอยเชอรี่บดละเอียด
4. แกลบดิบ
5. แกลบดำ
6. ดินร่วน
ซึ่งวัตถุดิบที่นำมาผสมในการทำดินปลูกนั้น ล้วนแต่เป็นวัตถุดิบที่หาได้ในชุมชน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิตดินปลูกจากมูลจิ้งหรีด
วิธีทำดินปลูกมูลจิ้งหรีดปลอดสาร
นำวัสดุที่เตรียมไว้ตามสัดส่วนที่ต้องการผสมเข้าด้วยกันโดยการผสมดินปลูกนั้นจะต้องใช้น้ำที่ผสมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อวัสดุต่างๆย่อยสลายได้เร็วขึ้นเมื่อได้ดินตามที่ต้องการแล้วขั้นตอนต่อไปคือนำไปหมักทิ้งไว้ในภาชนะที่มิดชิดหมักทิ้งไว้ประมาณ 7-14 วันสามารถนำไปใช้ในการปลูกดอกไม้ไม้ประดับทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี
โดยการทำดินปลูกจะมีอยู่ 2 สูตรดังนี้
สูตรที่ 1
1.ดินร่วน2ส่วน
2.ปุ๋ยมูลจิ้งหรีด 1 ส่วน
3.ผักตบชวาแห้ง 1 ส่วน 4 ส่วน
4.เปลือกหอยเชอรี่บดละเอียด 1 ส่วน 4 ส่วน
5.เชืัอราไตรโคเดอร์มา
สูตรที่ 2
1.ดินร่วน 2 ส่วน
2.ปุ๋ยมูลจิ้งหรีด 1 ส่วน
3.แกลบดิบ 1 ส่วน 4 ส่วน
4.แกลบดำ 1 ส่วน 4 ส่วน
5.ผักตบชวาแห้ง 1 ส่วน 4 ส่วน
6.เปลือกหอยเชอรี่บดละเอียด 1 ส่วน 4ส่วน
7.เชื่อราไตรโคเดอร์มา
โดยจะมีต้นทุนในการผลิตต่อถุง20บาท
และราคาขายต่อถุง35บาท บรรจุถุงละ 5 กิโลกรัม คิดเป็นกำไรต่อถุง15บาท
การทำดินปลูกจากมูลจิ้งหรีด ให้กับคนในชุมชนโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มสตรีในชุมชนตำบลหนองใหญ่ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ซึ่งจะมีการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในการทำดินปลูกจากมูลจิ้งหรีดขึ้นมา และนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นดินปลูกจากมูลจิ้งหรีด เข้าจดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และต่อยอดเป็นสินค้า OTOP ในตำบลหนองใหญ่ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนตำบลหนองใหญ่ ต่อไป