NS04-1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวของตำบลวังเหนือ
ข้าพเจ้านางสาวอัจฉรา เกิดผล ผู้ปฎิบัติงานประเภท บัณฑิตจบใหม่ ต.วังเหนือ อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์ สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG  (U2T for BCG and Regional Development)
           ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยเป็นเวลานาน และเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ อย่างไรก็ตามการผลิตและการส่งออกข้าวในปัจจุบัน ต้องประสบปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา และการแข่งขันจากประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ดังนั้นการแปรรูปข้าว จึงน่าจะเป็นทางออกสำหรับภาวะปัญหาข้าวไทย โดยช่วยเพิ่มความต้องการข้าวเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตข้าวต่อไป
      การสีข้าวต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ขั้นตอนการรับซื้อวัตถุดิบ คือข้าวเปลือก ผ่านขั้นตอนการผลิตต่างๆ จนกระทั่งการบรรจุหีบห่อ โดยประกอบด้วยขั้นตอนหลักดังนี้                                                                                             1. ทำความสะอาดข้าวเปลือก เพื่อแยกแยกสิ่งแปลกปลอม เช่น ฟาง เศษพืช ฝุ่น ผง กรวด ทราย ออกจากข้าวเปลือก การทำความสะอาดข้าวเปลือกเป็นการความสะอาดแบบแห้งเช่น ตะแกรงร่อน เช่น
 •แยกสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดต่างจากข้าวเปลือก เช่น ฝุ่น ฟาง กรวด ทราย และสิ่งเจือปนอื่นๆ อาจใช้ตะแกรงร่อน หรือใช้ลมเป่าลม

 •แยกสิ่งแปลกปลอมที่มีขนาดใกล้เคียงกับข้าวเปลือก โดยใช้การแยกด้วยความหนาแน่น หรือความถ่วงจำเพาะ

2. การกะเทาะเปลือก เพื่อที่จะแยกเอาเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งเรียกว่า แกลบ ออกจากเมล็ดข้าว ในขั้นตอนนี้จะใช้เครื่องกะเทาะ ซึ่งเป็นลูกยางสองลูกหมุนเข้าหากันด้วยต่างกัน หรือใช้เครื่องกะเทาะที่ทำด้วยแผ่นโลหะสองแผ่นบุด้วยหินหยาบ

3. การขัดขาวและขัดมัน เป็นการขัดชั้นรำ ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเมล็ดออกจากข้าวกล้อง ให้เหลือเฉพาะส่วนของเอนโดเสปอร์มและขัดมัน เพื่อให้ผิวเรียบเป็นเงาสะอาดรำข้าวที่เป็นผลพลอยได้จากขั้นตอนนี้ประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ดคัพภะ มีไขมันสูง

4. การคัดขนาดข้าวสาร ใช้ตะแกรงขนาดที่มีรูเปิดที่มีความยาวแตกต่างกัน เพื่อแยกข้าวสารเต็มเมล็ดต้นข้าวออกจากข้าวหักและปลายข้าว

สำหรับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวจากตำบลวังเหนือ มีการบริหารจัดการในชุมชนโดยมีโรงสีขนาดกลางประมาณ 3-4 โรง และมีขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงสีที่ก่อตั้งขึ้นโดยประชาชนในชุมชนลงทุนก่อตั้งด้วยตนเอง เพื่อใช้สีข้าวในครัวเรือนของตนเองและชาวบ้านทั่วไป การคิดค่าบริการมีการตกลงกันว่าผู้มาสีข้าวต้องจ่ายเป็นข้าวสาร โดยจะเก็บจากข้าวที่ชาวบ้านนำมาสีในแต่ละครั้ง ข้อดีคือสามารถสีข้าวใกล้บ้านได้เลย สะดวกในการใช้บริการ ไม่ต้องเดินทางไปสีข้าวไกล ๆ หรือไม่ต้องสีผ่านโรงสีพ่อค้าคนกลาง สามารถสีข้าวได้หลากหลายของชนิดสายพันธุ์ข้าว ขัดสีตามความต้องการจนกระทั่งได้รับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในที่สุด