วันศุกร์ ที่ 1 กรกฎาคม 2565

ข้าพเจ้านางสาวบุหลัน  จันทร์สุข ได้เข้าร่วมเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจละสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ( โครงการ U2T for BCG) ออนไลน์โดยการจัดการถ่ายถอดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ ZOOM Meeting

วันอังคาร ที่ 5 กรกฎาคม 2565

ข้าพเจ้าได้เข้าเรียน BCG – Learning บทเรียนออนไลน์ เพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้สมาชิก U2T เข้าสู่บทเรียนรู้ คัดสรรค์ คือ เข้าใจและเรียนรู้ BCG ผ่านการคิดและกระบวนการเรียนรู้ Hackatathon เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัญหา ใช้เหตุผล แก้ปัญหา เชื่อมโยงให้บรรลุจุดมุ่งหมาย

วันศุกร์ ที่ 8 กรกฎาคม 2565

ข้าพเจ้าร่วมประชุมออนไลน์กับอาจารย์ประจำตำบลหนองโบสถ์ เพื่อนัดหมาย รวมถึงปรึกษาหารือถึงประเด็นต่างๆ ที่ต้องการศึกษาประชุมวางแผนกันภายในกลุ่มว่าจะดำเนินการอย่างไรหลังจากได้รับมอบหมายงาน

วันอาทิตย์ ที่ 10 กรกฎาคม 2565

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทราบถึงข้อมูลของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจหลากหลายประเภท แต่ที่โดดเด่นและมีความน่าสนใจมากที่สุดคือผลิตภัณฑ์ที่หมู่บ้านโคกพลวง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ซึ่งข้าพเจ้าและทีมงานได้ไปสำรวจสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน และเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้พัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านโคกพลวง โดยมีนางสามัญ โล่ห์ทอง ผู้ใหญ่บ้านโคกพลวง เป็นผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูลถึงความต้องการที่จะให้ทางทีมงานช่วยพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชน รวมถึงให้คำแนะนำ ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับพัฒนาชุมชนบ้านโคกพลวง

ทางทีมงานจึงคัดเลือกสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจขึ้นมา 2 ชิ้นได้แก่

– หมวกจักสานจากต้นไหล

–  ปุ๋ยหมักใบไม้ชุมชนบ้านโคกพลวง

ซึ่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ทั้งสองชิ้นมีความสอดคล้องกับโครงการ U2T for BCG ทางทีมงานจึงคัดเลือกสินค้าและผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชิ้นนี้เพื่อมาต่อยอดและส่งเสริมสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักใบไม้ชุมชนบ้านโคกพลวง  สอดคล้องกับโครงการ U2T for BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ Bio  Economy  ซึ่งเศรษฐกิจชีวภาพ คือ การที่เราพยายามสร้างประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น พืช สัตว์ หรือสิ่งเล็กๆ เช่น จุลินทรีย์  ให้ได้มากที่สุด โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น เราก็สามารถสร้างเศรษฐกิจที่ดีได้ ยกตัวอย่างเช่น ใบไม้ที่เกิดจากการทับถมเป็นเวลานานถ้าทิ้งไปก็ไม่เกิดประโยชน์ แต่ถ้าเราใช้เทคโนโลยีช่วยให้ใบไม้กลายเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ เราก็จะได้ปุ๋ยหมักใบไม้ที่มีคุณภาพและสามารถช่วยให้พืชผักของเกษตรกรเจริญเติบโต

งอกงามตามความต้องการของเกษตรกร เราก็จะสามารถขายปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้ได้ในราคาที่สูงขึ้น  นี้ก็เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนตำบลหนองโบสถ์มีความเจริญก้าวหน้าเป็นชุมชน 4.0

 ผลิตภัณฑ์หมวกจักสานจากต้นไหล สอดคล้องกับโครงการ U2T for BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ Bio  Economy  คือการนำเอาความรู้  เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอดจากฐานความเข้มแข็งเดิมนั่นก็คือ ทรัพยากรชีวภาพ หรือ ผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น การนำเอาความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการทำต้นไหลให้เป็นหมวกสานเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับต้นไหล ซึ่งปกติถ้าเราขายต้นไหลอาจจะได้ราคาไม่สูงมากแต่ถ้าเรานำต้นไหลมาพัฒนาทำเป็นหมวก เราจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับต้นไหลได้ นี้ก็เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพซึ่งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชนตำบลหนองโบสถ์ได้

หมวกสานจากต้นไหลภูมิปัญญาทางความคิด

โดย ชาวบ้านผู้วิจิตรคิดสร้างสรรค์

หมวกสานจากต้นไหลเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน บ้านโคกพลวง หมู่ที่ 9 ตำบลหนองโบสถ์  ปัจจุบันบ้านโคกพลวงเป็นหมู่บ้านที่มีต้นไหลจำนวนมาก ชาวบ้านจึงมีการนำต้นไหลมาสานเป็นหมวกเพื่อสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุใช้เวลาว่างในการผลิต ทำไปเรื่อยๆจากการสอบถามจากผู้ใหญ่บ้าน สินค้าใช้ระยะเวลานานในการผลิตเพราะเป็นงานฝีมือต้องใช้ความประณีต เพื่อที่จะให้หมวกสานจากต้นไหลที่ได้ออกมามีความสวยงามน่าสวมใส่

สำหรับปัญหาที่พบจากการสอบถาม พบว่า หมวกสานจากต้นไหล เมื่อเจอความชื้นหมวกจะขึ้นรา ข้าพเจ้าและทีมงานจึงเสนอว่าให้มีการเคลือบสีลงบนหมวกสานจากต้นไหลเพื่อป้องกันไม่ให้หมวกขึ้นรา และได้เสนอให้มีการออกแบบลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ และพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหมวกสานจากต้นไหล

ปุ๋ยหมักใบไม้ชุมชนบ้านโคกพลวง

ชุมชนบ้านโคกพลวงเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีการปลูกและอนุรักษ์ป่า โดยมีป้าทองม้วน รังพงษ์ เป็นต้นแบบ ต้นไม้ที่นิยมปลูกได้แก่ ต้นสะเดา ต้นไผ่ ไม้แดง เป็นต้น ซึ่งทางทีมงานคิดว่าใบไม้ที่ทับถมกันสามารถนำมาสร้างมูลค่าโดยการทำเป็นปุ๋ยหมักใบไม้ เพื่อสร้างรายให้กับชุมชน

สรุปกิจกรรมและประโยชน์ที่ได้จากการทำกิจกรรม

      จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับความรู้ต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน อาชีพของคนในชุมชน สภาพสิ่งแวดล้อมบริบทความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อการสร้างผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีอยู่ในชุมชนไม่ว่าจะเป็นงานฝีมือ เช่น การสานหมวกจากต้นไหล การทอเสื่อ หรือการแปรรูปทำอาหารต่างๆภายในชุมชน  และได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมซึ่งทำให้ข้าพเจ้าได้รับประสบการณ์ต่างๆและสนุกกับการทำงานในครั้งนี้  ข้าพเจ้าจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชนแห่งนี้ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและเป็นที่แพร่หลายในท้องตลาดต่อไป

รูปภาพประกอบการลงพื้นที่

 

                                                                                                                                                                     นางสาวบุหลัน จันทร์สุข

                                                                                                                                                                         บัณฑิตจบใหม่