โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเเละสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG Regional Development) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ข้าพเจ้า นายรัฐภูมิ บุญมาชาติ ประเภทบัณฑิต ตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สรุปผลการปฎิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565
โครงการ U2T for BCG ตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จะทำการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากมูลสัตว์ชีวภาพ เเละฮอร์โมนจากไข่ไก่ เพื่อเป็นสินค้าประจำของตำบลหนองโดนอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามที่ได้หาข้อมูลเเละได้สำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ตามที่ได้ปฎิบัติงานมาเเล้วในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ตำบลหนองโดน จังหวัดบุรีรัมย์ มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ในชุมชนเป็นจำนวนมาก และมีการจัดตั้งกลุ่มเป็นโครงการหลายโครงการมากมายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นจากกรมที่ดิน หรือของทางมูลนิธิชัยพัฒนา ทั้งนี้ทางโครงการ U2T FOR BCG ได้เข้ามาร่วมมาพัฒนาการผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากมูลสัตว์ชีวภาพ เเละฮอร์โมนจากไข่ไก่ ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติ เช่น มูลสัตว์ น้ำหมัก กากมัน ปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินทำให้หน้าดินโปร่งร่วนซุย ให้ธาตุอาหารพืชค่อนข้างครบถ้วนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นสารที่มาจากธรรมชาติล้วนๆ อีกทั้งช่วยปรับโครงสร้างของดิน แก้ไขปัญหาการอัดแน่นตัวของดิน ทำให้ดินดูดซึมน้ำได้ดี เป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งปุ๋ยอินทรีย์มีข้อดี ดังนี้
- เป็นสารที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ 100% ไม่มีการผสมสารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- เป็นการใช้วัสดุจากธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดี
- สร้างอาชีพให้คนในชุมชน
- สร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน
จากการปฎิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม 2565 สรุปรายการปฏิบัติงานดังนี้
วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ได้ลงพื้นที่ประสานงานกับทางตำบลหนองโดน ทีมงานนำโดยอาจารย์ อุภาวัณณ์ นามหิรัญ (หัวหน้าโครงการ) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณภัทร เชาว์นวม (ที่ปรึกษาประจำโครงการ) และสมาชิกโครงการเดินทางสำรวจข้อมูลเเละยื่นหนังสือที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน โรงเรียนบ้านหนองโดนประสานวิทย์ เเละได้มีการสำรวจพื้นที่ในการจัดโครงการที่ห้วยจระเข้เผือกอีกด้วย พบว่าทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน โรงเรียนบ้านหนองโดนประสาทวิทย์ และผู้นำชุมชนตำบลหนองโดน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี อีกทั้งสถานที่ยังมีความเหมาะสมและสามารถใช้ดำเนินโครงการในครั้งนี้ได้ดีอีกด้วย
วันที่ 1-5 สิงหาคม ทางผู้จัดทำโครงการได้ลงพื้นที่ตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทำการสำรวจเเละจัดหาทรัพยากรจากธรรมชาติจากแหล่งที่มาในชุมชน เพื่อเตรียมขั้นตอนในการผลิตเเละบรรจุภัณฑ์ โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลได้รายละเอียดดังนี้ 1. การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากมูลสัตว์ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ คือเครื่องอัดเม็ดปุ๋ย มูลสัตว์ แกลบดำ แกลบเผา รำละเอียด น้ำหมักชีวภาพ และกากน้ำตาล 2. การพัฒนาฮอร์โมนไข่ วัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องใช้คือ ไข่ไก่ น้ำสะอาด และผงชูรส เเละซึ่งวัสดุเหล่านี้สามารถหาได้จากชุมชนในหมู่บ้าน ทางผู้ปฏิบัติงานได้ทำการสำรวจเรียบร้อยแล้วมีวัสดุและอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในการดำเนินการอย่างเพียงพอ
วันที่ 8-14 สิงหาคม 2565 ทางผู้ปฏิบัติงานตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลและสำรวจเพื่อนำข้อมูลของตำบลหนองโดนลงในระบบ TCD ซึ่งจากการลงเก็บข้อมูลนั้น พบว่าชุมชนตำบลหนองโดนส่วนมากประกอบด้วยอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ และมีการปลูกพืชสวนและพืชไร่ด้วยแต่มีจำนวนไม่มากเท่ากับการปลูกข้าวนาปีซึ่งข้าวนาปีแบ่งออกเป็นข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นส่วนมาก ลำดับต่อมาเป็นประเภทมันสำปะหลัง ลำดับต่อมาเป็นพืชผักที่ปลูกไว้ขายและรับประทานกันในครัวเรือน อีกทั้งตำบลหนองโดนยังมีแหล่งร้านค้าชุมชนไม่ว่าจะเป็นร้านค้าประจำหมู่บ้านและเป็นร้านทวีกิจของตำบล วัดและพระพุทธศาสนา อีกทั้งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในส่วนของการเลี้ยงสัตว์ส่วนมากชาวตำบลหนองโดนจะเลี้ยงไก่ วัว และควาย เป็นส่วนมาก ซึ่งตอบโจทย์การผลิตปุ๋ยชีวภาพจากมูลสัตว์เป็นอย่างมากเนื่องจากต้องนำมูลสัตว์มาผลิตเป็นปุ๋ยอัดเม็ด เพื่อยกระดับและสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า อีกทั้งราคายังสามารถทำให้ชาวบ้านในชุมชนจับต้องได้ เเละสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนให้ชาวบ้านอีกด้วย
วันที่ 16 สิงหาคม 2565 ทางผู้ปฎิบัติงานได้มีการประชุมผ่าน Google Meet เเละวางแผนธุรกิจเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กับทีมผู้ปฏิบัติงานในการเตรียมความพร้อมจัดโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดจากมูลสัตว์ และฮอร์โมนไข่ ซึ่งการประชุมผ่าน Google Meet ที่ผ่านมามีการตกลงในที่ประชุมรายละเอียดดังต่อไปนี้ ทางผู้ปฏิบัติงานได้ติดต่อวิทยากรจำนวน 2 ท่านเพื่อให้ความรู้เรื่องการผลิตฮอร์โมนไข่ และการผลิตมูลสัตว์อัดเม็ด และยังประชุมตกลงในเรื่องของการจัดเตรียมสถานที่ การจัดซื้ออุปกรณ์ในการทำฮอร์โมนไข่และการผลิตมูลสัตว์อัดเม็ด การออกแบบผลิตภัณฑ์ พื้นที่สำหรับขายสินค้า การตลาด การกระจายสินค้า การให้คนในชุมชนทดลองใช้สินค้า และการสำรวจจำนวนผู้เข้าร่วมในกิจกรรม ทั้งนี้โครงการดังกล่าวยังได้รับความร่วมมือและช่วยกันทำโครงการจากชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย อันจะทำให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อผลผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ความต้องการของคนในชุมชน
ทั้งนี้ จากการปฎิบัติงานในเดือนสิงหาคม 2565 ต้องขอขอบคุณอาจารย์ อุภาวัณณ์ นามหิรัญ (หัวหน้าโครงการ) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ณภัทร เชาว์นวม (ที่ปรึกษาประจำโครงการ) ผู้บริหารองค์การส่วนตำบลหนองโดน โรงเรียนบ้านหนองโดนประสาทวิทย์ผู้นำชุมชนตำบลหนองโดนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้ทุกท่าน อีกทั้งทีมผู้ปฏิบัติงานและประชาชนตำบลหนองโดนทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือ เเละช่วยเหลือให้คำปรึกษาตลอดระยะเวลาในการปฏิบัติเดือนสิงหาคมนี้
คลิปวิดิโอการปฏิบัติงานประจำเดือนสิงหาคม 2565