ข้าพเจ้า นางสาวรุ่งตะวัน เสมารัมย์  ประเภทบัณฑิต ตำบลพระครู

หลักสูตร HS06-1 : โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

บทความประจำเดือน สิงหาคม 2565

                ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ได้มีการประชุมของคณะผู้ปฏิบัติงานผ่านทางไลน์กลุ่มเพื่อแบ่งหน้าที่ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล TCD (CBD) ในพื้นที่ตำบลพระครู รวมทั้งสิ้น 13 หมู่บ้าน โดยข้าพเจ้าได้รับผิดชอบพื้นที่ตำบล บ้านสระเกษ บ้านม่วงเหนือ บ้านหนองกก บ้านหนองขวางน้อยและบ้านแก่นเจริญ

วันที่ 29 กรกฎาคม 2565 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลTCD (CBD) ในพื้นที่บ้านสะเกษ บ้านแก่นเจริญ บ้านหนองกก บ้านหนองขวางน้อย และบ้านม่วงเหนือ โดยข้าพเจ้าเก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้จำนวน 43 รายการ แบ่งเป็น แหล่งท่องเที่ยว 1 รายการ อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น 1 รายการ เกษตรกรในท้องถิ่น 1รายการ พืชในท้องถิ่น 35 รายการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 รายการและแหล่งน้ำในท้องถิ่น 4 รายการ  จากการลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูล TCDของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้เห็นถึงการใช้ชีวิต การเกษตรและการประกอบอาชีพต่างๆของคนในชุมชน โดยคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร ปลูกข้าว ทำนา และปลูกพืชไร่ พืชสวน ลองลงมาคือการเลี้ยงสัตว์ในท้องถิ่น เช่น วัว สุกร ไก่ และปลา รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไปการและเมื่อว่างจากการประกอบอาชีพแล้วกลุ่มสตรีของตำบลพระครูยังมีการทอผ้าไหมเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย

วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ข้าพเจ้าและคณะผู้ปฎิบัติงานได้ร่วมกันจัดทำแบบฟอร์ม C-03 แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับ

* รายได้ต่อปีในปัจจุบัน

* กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

* ช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบัน

* วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ

* เป้าหมายการพัฒนาสินค้า และบริการ

* เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมที่ใช้

* หลักการและขั้นตอนการพัฒนาของสินค้าและบริการ

* ระยะเวลาในการพัฒนาสินค้าและบริการให้แล้วเสร็จ

* งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาสินค้าและบริการ

* ความพร้อมของผลิตภัณฑ์และบริการในด้านต่าง ๆ

 

วันที่ 18 สิงหาคม 2565 ได้มีการลงพื้นที่เพื่อจัดทำข้อมูล C04 ผลการพัฒนาสินค้า ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ คือ พวงกุณแจจากเศษผ้าไหมและเครื่องประดับ เช่น ต่างหู กิ๊บติดผม กำไลข้อมือ โดยทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ใช้เศษผ้าไหมมัดหมี่ที่มีในชุมชนเป็นวัตถุดิบหลักนำมาแปรรูปและนำมาสร้างประโยชน์สูงสุดและยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยมีเป้าหมายและการบริการ BCG ของผลิตภัณฑ์ คือ เป็นการนำผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นเศษผ้าที่คนในชุมชนการทอขึ้นมาเป็นผืนและมีการย้อมสีจากธรรมชาติโดยการใช้ทรัพยากรชีวภาพที่มีในชุมชนอย่างคุ้มค่าและรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม เช่น มีการย้อมสีที่มาจากใบมะม่วง สีจากดินโคลน หรือสีจากเปลือกประดู่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการเน้นใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตเพื่อให้เกิดของเสียน้อยที่สุดโดยจะทำให้การเกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างในเกิดประโยชน์ อีกทั้งช่วยฝึกทักษะการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้นอีกด้วย

จากการทำข้อมูล C03 แผนการพัฒนาสินค้าและการบริการ  C04 ผลการพัฒนาสินค้า ทำให้ทราบถึงการวางแผนของการจัดทำผลิตภัณฑ์และขั้นตอนวิธีการดำเนินงานของคณะผู้ปฏิบัติงานที่ต้องดำเนินกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชนเพื่อเป็นไปตามนโยบายของโครงการ U2T fot BCG โดยเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ฐานราก หลังโควิดนอกจากนี้ยังต้องเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนและยังสามารถสร้างรายได้ทำให้คนในชุมชนมีอาชีพเสริมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

วีดิโอประจำเดือนสิงหาคม 2565