ข้าพเจ้า นางสาวนภารัตน์  เฉลียวรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานประเภท  ประชาชน ต.วังเหนือ อ.บ้านด่าน    จ.บุรีรัมย์  สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์  ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐานหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG  (U2T  for  BCG and Regional Development)

วันที่ 9 กันยายน  2565 ทีมผู้ปฎิบัติการและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ ประจำตำบลวังเหนือ  ได้มีการจัดโครงการกระบวนการแปรรูปข้าวกล้องเป็นข้าวหลามหลากสี มีประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี เป็นกระบวนการที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจ  เกิดทักษะความชำนาญในด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์  และนอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับช่องทางทำการตลาด เพื่อเป็นช่องทางการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน เพราะในปัจจุบันมีช่องทางการสร้างรายได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งร้านขายทั่วไป และที่กำลังเป็นที่นิยมคือช่องทางการขายออนไลน์ ที่ทำให้ผู้คนเข้าถึงตัวสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งถ้าหากชาวบ้านได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ และนำไปต่อยอดพัฒนา ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดและได้รับผลสัมฤทธิ์ด้านการสร้างรายได้เสริมให้แก่ชุมชน

ข้าวหลามเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในท้องถิ่นซึ่งได้จากการนำข้าวเหนียว กะทิ น้ำตาล และอาจเติมส่วนประกอบอย่างอื่นๆ เช่น ถั่วดำ ถั่วเหลือง มาผสมกันแล้วนำไปบรรจุในกระบอกไม้ไผ่ จากนั้นนำมาเผาจนสุก วัตถุประสงค์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของข้าวหลาม แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหลามให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ โดยการใช้วัตถุดิบจากพืชเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น และการพัฒนาสูตร เนื้อสัมผัส รสชาติ และลักษณะปรากฏของข้าวหลามให้มีลักษณะจำเฉพาะที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ข้าวหลามหลากหลาย และอุดมไปด้วยคุณค่าโภชนาการ เพิ่มศักยภาพข้าวกล้องที่มีในท้องถิ่น  ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะสารกาบา (gamma aminobutyric, GABA ) ซึ่งเป็นกรดอะมิโน มีความสำคัญในการทำหน้าที่เป็นสารประเภทยับยั้งในระบบประสาทส่วนกลาง ทำหน้าที่รักษาสมดุลสมอง ช่วยทำให้สมองผ่อนคลายนอนหลับสบายและบำรุงสมองอีกด้วย