ข้าพเจ้า นางสาวสุพัตรา ขำวงศ์ ประเภทบัณฑิต ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผู้ปฏิบัติงานหลักสูตร :HS03-1: โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development)

ในวันศุกร์ที่ 1 กรกฏาคม 2565 เวลา 13.30 – 15.30 น.สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ได้มีพิธีเปิดตัวโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (โครงการ U2T for BCG) โดยเชิญผู้บริหาร อาจารย์ประจำตำบล และผู้เข้าร่วมโครงการประจำตำบลเข้าร่วมพิธีเปิด โดยการจัดถ่ายทอดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบ Zoom Meeting และมีการถ่ายทอดผ่าน Facebook live : MHESIThailand ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน พร้อมกับ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ ผช.รมว.อว. พร้อมด้วยอธิการบดีและผู้บริหารของ อว. ร่วมเปิดตัวโครงการผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ได้รับความอนุเคราะห์จาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศิราณี จุโฑปะมา รองอธิการบดีฯ ฝ่ายงานบริหารงานบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโครงการฯ จัดอบรมโครงการ U2T for BCG และการปฐมนิเทศอาจารย์ประจำตำบลโครงการ U2T for BCG มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เพื่อมอบแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และพัฒนาทักษะให้กับประชาชนเพื่อรองรับการฟื้นตัวของประเทศหลังสถานการณ์โควิด โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในการขับเคลื่อน ควบคู่ไปกับการจัดทำ Thailand Community Data (TCD) หรือข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกพื้นที่อีกด้วย

วันที่ 8 กรกฎาคม 2565 อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้เข้าร่วมประชุมออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet เพื่อนัดหมายการลงพื้นที่ปฏิบัติงานประจำเดือนกรกฎาคม และจัดแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานพร้อมทั้งมอบหมายให้คณะผู้ปฏิบัติงานได้จัดทำแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการต่อยอดผลิตภัณฑ์อีกด้วย

วันที่ 10 กรกฎาคม 2565  อาจารย์ประจำหลักสูตรและคณะผู้ปฏิบัติงานได้นัดหมาย ณ บ้านโคกพลวง หมู่9 ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมทั้งเรียนเชิญผู้นำหมู่บ้านโคกพลวง มาร่วมพูดคุย เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่มาจากชุมชน และสามารถต่อยอดสร้างรายได้และสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน ทางผู้ปฏิบัติงานจึงได้เลือกนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในชุมชน 2 อย่างที่น่าสนใจมาพัฒนาให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่น สร้างความสวยงามในผลิตภัณฑ์ เป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และเกิดช่องทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์อีกด้วย

1.หมวกจักสานจากต้นไหล

หมวกจักสานจากต้นไหล เป็นผลิตภัณฑ์จักสานจากต้นไหล วัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติในท้องถิ่น โดยนำมาตากแห้ง แล้วถักทอด้วยมือด้วยความปราณีต สีสันสวยงาม สามารถใส่กันแดดได้ และได้นำวิธีการทอมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน ได้เพิ่มลวดลายใหม่ๆ ให้ดูสวยงามมากขึ้น สามารถต่อยอดพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจและเพิ่มอัตลักษณ์ของตัวสินค้าได้อีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนวัตกรรมเศรษฐกิจแบบ BCG เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ การนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจสีเขียวที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน

2.ปุ๋ยหมักใบไม้

ในทุกวันของเกษตรกรส่วนมากจะมีการปลูกพืชจำนวนมาก และชอบนำมาทำปุ๋ยคอกไว้ใช้เอง เนื่องจากมีวัสดุเองอยู่แล้ว และเป็นวิธีทำของเสียไม่ให้เสียของ โดยเฉพาะใบไม้แห้ง วัสดุที่หาง่าย ทำง่าย เป็นปุ๋ยสูตรเร่งรัดที่ไม่ต้องใช้เวลานาน ไม่ต้องพลิกกอง แต่การทำปุ๋ยใบไม้แห้งให้ได้ประโยชน์ปุ๋ยหมักจากใบไม้สูงสุด ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดทุกวัน ซึ่งการทำปุ๋ยหมักใบไม้นี้ ยังเป็นนวัตกรรมเศรษฐกิจแบบ BCG ที่สอดคล้องกับ 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ การนำความรู้และนวัตกรรม โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มาช่วยพัฒนาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางเกษตรให้เป็นสินค้า เศรษฐกิจหมุนเวียน การอนุรักษ์และเพิ่มการใช้ประโยชน์ต้นทุนทางธรรมชาติที่เน้นการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบต่างๆ การนำวัสดุเหลือทิ้งเดิมมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจสีเขียวที่เน้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน

ส่วนผสมสูตรปุ๋ยหมักแบบแรก จะประกอบไปด้วย

– เศษวัตถุดิบจากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้

– แกลบ

– รำข้าวละเอียด

– มูลสัตว์เลี้ยง

– หัวเชื้อจุลินทรีย์ และกากน้ำตาล

– มูลค้างคาว ถ้ามี

วิธีการหมักปุ๋ย

1.นำส่วนผสมต่าง ๆ มาสผสมเค้าให้เข้ากัน

2.เทกากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และหัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ช้อนแกง ลงในน้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน

3.นำน้ำที่ผสมที่เข้ากันแล้ว มารดลงในกองปุ๋ยให้ทั่ว ๆ คนไปมาให้เข้ากัน ซึ่งต้องกะเกณฑ์ให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่าย ๆ คือ ถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน แบบนี้ถือว่าใช้ได้

4.หากมีที่ก็ให้กองปุ๋ยทิ้งไว้โดยให้มีความสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือหากไม่มีที่ก็ให้ตักปุ๋ยที่ผสมแล้วลงในกระสอบ ทิ้งไว้ 15 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้

สรุป

กิจกรรมการอบรมและการลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้เรียนรู้ถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดสินค้า การนำวัสดุที่ได้จากท้องถิ่นนำมาสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน การสร้างสรรค์ตัวผลิตภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นขึ้น รวมไปถึงการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของผู้นำชุมชนและคนในชุมชน

สุพัตรา  ขำวงศ์

บัณฑิต